Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59319
Title: การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Urban transformation in Tambon Bang Pakong Municipality Bang Pakong District, Chachoengsao Province
Authors: วิทวัส กิ่งสุวรรณ
Advisors: ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.Si@chula.ac.th
Subjects: ผังเมือง -- ไทย -- บางปะกง (ฉะเชิงเทรา)
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- บางปะกง (ฉะเชิงเทรา)
ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- บางปะกง (ฉะเชิงเทรา)
City planning -- Thailand -- Bang Pakong (Chachoengsao)
Land use -- Thailand -- Bang Pakong (Chachoengsao)
Waterfronts -- Thailand -- Bang Pakong (Chachoengsao)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนบางปะกง ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นชุมชนประมงริมน้ำดั้งเดิม ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง (ประมาณ ปี พ.ศ. 1991-2231) จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปะการก่อสร้าง พระอุโบสถวัดบน (คงคาราม) ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามแผนพัฒนาระดับชาติ นับตัง้แต่ภาครัฐได้มีแผนที่จะเพิ่มบทบาททางด้านอุตสาหกรรมขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จนเกิดนิคมอุตสาหกรรมในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ อาทิเช่น นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (พ.ศ. 2532) นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ (พ.ศ. 2532) หลังจากนั้น ก็ได้มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเพื่อรองรับการขนส่งทางด้านอุตสาหกรรม เช่น การขยายเส้นทางบางปะกง-ฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2536) การขยายเส้นทางมีนบุรี-ฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2537) ซึ่งผลจากการพัฒนาเหล่านี้ก็ล้วนส่งผลให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น งานวิจัยครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนบางปะกง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ที่สำคัญจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไปจนถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบางปะกง ในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาคารและเส้นทางคมนาคม และศึกษาปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบางปะกงที่ มีผลต่อการใช้พื้นที่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากรและสภาพแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันชุมชนบางปะกงได้กลายเป็นที่พักอาศัยที่รองรับแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง เส้นทางคมนาคมทางบกที่พัฒนาขึ้นในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมืองที่เห็นได้จากรูปร่าง ขนาด และขอบเขตของเมือง รวมไปถึงการใช้ประโยชน์อาคารและการใช้ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้พื้นที่ที่พักอาศัยที่เป็นชุมชนชาวประมงริมฝั่งทะเลได้กลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม และเป็นพื้นที่ที่ลดความสำคัญทางเศรษฐกิจก็ลดความสำคัญลงไปมาก โดยผลการศึกษาที่ได้ก็จะทำให้ทราบถึงปัจจัยหลักและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของเทศบาลตำบลบางปะกง คือ การควบคุมการใช้ ประโยชน์ที่ดินและอาคารโดยมีการพิจารณาสภาพภูมิประเทศและพื้นที่ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
Other Abstract: Bang Pakong Community in Bang Pakong District, Chachoengsao Province; a traditional fishery village along the river settled from the central Ayutthaya Period (1448-1688) as evidenced by the templeKhong Kharam constructed in that period. This is a small community that has been changed resulted from national development plan and the government plans aimed to increase its roles in manufacturing. They are the Eastern Seaboard Development Plan, industrial estates such as Amata Nakorn (1989), Wellgrow (1989). Consequently, the road networks accommodate the industrial development. They are the improvement of the Bang Pakong - Chachoengsao (1993), the highway Min Buri - Chachoengsao (1994). These projects influenced the urban transformation of the study area. The research aims to study the change of the Bang Pakong community in terms of space, land use, building use and transportation, the causes and problems affected the community in terms of land use, socio-economic aspects, population and environment. The result of the study shows that at present Bang Pakong community has become a residential area who works in the nearby factories. The road networks developed in the community and in the vicinity influence the community structure, form and size of the community, the building use and land use. As a result, the fisherman area located along the seashore become degraded and resulted in the decreasing of its economic importance. The study reveals the main factors and trend of the community transformation in the future. The study recommend to solve problems occurred from the transformation of Tambon Bang Pakong Municipality by controlling land use, building use influenced by the limitation of topography and space.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59319
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1565
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1565
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vittawat Kingsuwan.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.