Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59664
Title: | Role of Progesterone Receptor A and B Isoforms in Lung Neuroendocrine Tumors |
Other Titles: | บทบาทของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มเอและบี ในมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์ |
Authors: | Teeranut Asavasupreechar |
Advisors: | Viroj Boonyaratanakornkit |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Allied Health Sciences |
Advisor's Email: | Viroj.B@chula.ac.th,Viroj.B@chula.ac.th |
Subjects: | ปอด -- มะเร็ง ตัวรับโปรเจสเตอโรน Lungs -- Cancer Progesterone -- Receptors |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Lung neuroendocrine tumors (NETs) incidences are increasing in recent years. Women with lung NETs have significantly better survival rates as compared to men suggesting the involvement of sex steroids and their receptors in the progression of lung NETs. Recent data suggested that progesterone receptor (PR) may play a role in the survival of lung NET patients. PR exists as two major isoforms, PRA and PRB. How expression of PR isoforms affects proliferation of lung NETs and patient’s survival is not known. To determine the role of PR isoforms in lung NETs, we constructed H727 lung NET cell models expressing PRB or PRA. PR expressions, transcriptional activities and localization in these cell models were similar to endogenous PR in breast cancer cells. PR expression inhibited H727 cell proliferation in the absence of progestin. A monoclonal antibody specific to the N-terminus unique to PRB (250H11 mAb) was developed to specifically detect PRB, but not PRA, by immunoblots and immunostaining. Immunohistochemistry staining with 250H11 and 1294 mAb, detecting PRB and PRB&PRA, respectively, were performed on 198 cases of lung NETs tissue sections. Comparing with PR negative cases, PR-positive lung NETs showed significantly lower mitotic index and were found mostly in lower grade lung NETs. Interestingly, PRB expressions in lung NETs were associated with longer disease-free survival. Using these PR specific antibodies, we showed PR expression in pulmonary neuroendocrine cells of normal fetal and adult lung suggesting a role of PR in the development of neuroendocrine cells. Together, these data demonstrate that PRB expression is associated more differentiated less proliferative tumors and longer disease-free survival of patients with lung NETs. Better understanding of molecular mechanism of how PR or PR isoform signals in lung NET cells may help us to develop novel therapeutic strategies that will be beneficial for lung NET patients in the future. |
Other Abstract: | ปรากฏการณ์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์มีการเพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยเพศหญิงโรคมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์นี้มีอัตราการอยู่รอดที่ดีกว่าผู้ป่วยชาย คณะผู้วิจัยจึงสันนิษฐานว่าฮอร์โมนเพศ และ ตัวรับของฮอร์โมนเพศอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของมะเร็งชนิดนี้ ข้อมูลปัจจุบันมีการรายงานว่าตัวรับโปรเจสเตอโรนมีความเกี่ยวข้องกับอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์ ซึ่งตัวรับโปรเจสเตอโรนนี้แบ่งออกเป็นสองไอโซฟอร์ม ซึ่งก็คือตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มเอและบี แต่อย่างไรก็ตามผลของการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มต่างๆต่อการเจริญเติบโตของมะเร็งและอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงเป็นที่มาในการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงสร้าง เซลล์โมเดลมะเร็งปอดนิวโรเอนโดครายน์ชนิด H727 ให้เกิดการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มเอและบี ซึ่งจากการทดสอบ เซลล์โมเดลมีการแสดงออกของโปรตีน กระบวนการถอดรหัสของยีน และ ที่ตั้งของโปรตีนตัวรับโปรเจสเตอโรน เฉกเช่นเดียวกับตัวรับโปรเจสเตอโรนภายในเซลล์มะเร็งเต้านม จากนั้นจึงทำการทดสอบดูผลของการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนต่อคุณสมบัติทางชีวภาพของเซลล์ ซึ่งผลคือการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนโดยปราศจากโปรเจสเตอโรนยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้สร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อ เอนเทอมินัสของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มบี (250H11) ซึ่งทดสอบความจำเพาะต่อการจับตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มบี แต่ไม่จับตัวรับโปรเจสโตโรนไอโซฟอร์มเอโดยการทำอิมมูโนแบบบลอทติ้งและแบบย้อมสารเรืองแสง จากนั้นจึงนำแอนติบอดีดังกล่าวมาย้อมชิ้นเนื้อโดยอิมมูโนพยาธิวิทยา ผู้ป่วย 198 รายถูกนำมาย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยาโดยใช้แอนติบอดี 2ชนิด คือ 1294 เพื่อย้อมตัวรับโปรเจสเตอโรนทั้งไอโซฟอร์มเอแลtบี และ 250H11 ย้อมตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มบีเท่านั้น จากผลการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มเอและบี พบว่า ผู้ป่วยที่มีการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มเอและบีพบว่ามีดัชนีชี้การเจริญเติบโตของเซลล์ต่ำกว่าคนที่ไม่มีการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มเอและบี และ การมีตัวรับโปรเจสเตอโรนมักพบในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์ประเภทที่ความรุนแรงของโรคน้อยอย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่น่าสนใจคือผู้ป่วยที่มีการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มบีมีความสัมพันธ์กับการอยู่รอดปลอดโรคที่ยาวนานขึ้น ซึ่งนอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้มีการใช้แอนติบอดีที่มความจำเพาะต่อตัวรับโปรเจสเตอโรนนี้กับการย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยากับชิ้นเนื้อปอดปกติของตัวอ่อนและผู้ใหญ่ ซึ่งพบว่ามีการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนในเซลล์ปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์ในปอดของตัวอ่อนในครรภ์และผู้ใหญ่ที่ปกติ ซึ่งสันนิษฐานว่าตัวรับโปรเจสเตอโรนอาจมีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาของเซลล์นิวโรเอนโดครายน์ จากข้อมูลที่ได้มาบ่งชี้ว่าการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มบีมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์ที่มีความรุนแรงของโรคและการเจริญเติบโตของเซลล์น้อยกว่า และมีความสัมพันธ์กับการมีการอยู่รอดปลอดโรคที่ยาวนานขึ้น ซึ่งการเข้าใจกลไกทางโมเลกุลของสัญญาณของตัวรับโปรเจสเตอโรน หรือตัวรับโปรเจสเตอโรนไอโซฟอร์มต่างๆในมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์ อาจช่วยในการพัฒนาการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดนิวโรเอนโดครายน์ได้ในอนาคต |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2017 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Clinical Biochemistry and Molecular Medicine |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59664 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.159 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.159 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | All - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5876654137.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.