Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59761
Title: | การออมเพื่อที่อยู่อาศัยของพนักงานที่ทำงานในองค์กรด้านการเงิน กรณีศึกษา : พนักงานที่ทำงานในอาคารธนาคารกสิกรไทย (สำนักงานใหญ่) อาคารพหลโยธิน |
Other Titles: | HOUSING SAVINGS OF WORKERS IN FINANCIAL ORGANIZATIONS : A CASE STUDY OF WHITE-COLLAR WORKERS IN KASIKORN BANK HQ, PHAHOLYOTHIN BUILDING |
Authors: | คุณากร ทัตตินาพานิช |
Advisors: | บุษรา โพวาทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Bussara.S@Chula.ac.th,sara_sripanich@yahoo.com |
Subjects: | การเงินส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัย Finance, Personal Dwellings |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการเจาะตลาดกลุ่มคนวัยทำงานที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร เพราะเล็งเห็นว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและมีรายได้สูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยรวมถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงานที่ทำงานในอาคารธนาคารกสิกรไทย (สำนักงานใหญ่) อาคารพหลโยธิน จำนวน 336 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 22-39 ปี (Generation Y) มากถึงร้อยละ 75 รองลงมาคืออายุ 40-55 ปี (Generation X) ร้อยละ 21 และอายุ 55 ปีขึ้นไป (Baby Boomer) ร้อยละ 4 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่ซื้อที่อยู่อาศัยแล้ว ร้อยละ 46 รองลงมาคือกลุ่มที่ยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย โดยมีแผนจะซื้อในอีกภายใน 5 ปี ร้อยละ 34 และกลุ่มที่ยังไม่มีแนวคิดในการซื้อที่อยู่อาศัย ร้อยละ 20 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อพิจารณาตามการซื้อที่อยู่อาศัยพบว่าในกลุ่มที่ซื้อที่อยู่อาศัยแล้วมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 70,000 บาทต่อเดือน ขณะที่กลุ่มที่ยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัยและกลุ่มที่ยังไม่มีแนวคิดในการซื้อมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน (2) กลุ่มตัวอย่างมีแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยมากถึง ร้อยละ 84 รองลงมาเพื่อการลงทุน ร้อยละ 10 และเพื่อเก็งกำไร ร้อยละ 6 ทั้งนี้กลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจะมีเหตุผลในการซื้อที่เกี่ยวกับการสร้างครอบครัวและการเดินทางไปทำงาน ขณะที่กลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุนมีเหตุผลเพื่อการสร้างผลตอบแทนระยะยาว และที่กลุ่มที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรเลือกซื้อโดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของโครงการและทำเลที่ตั้งที่น่าลงทุน (3) ด้านการออมเพื่อที่อยู่อาศัยพบว่า จำนวนเงินออมมีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการซื้อ กล่าวคือ กลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยมีเงินออมน้อยที่สุด ประมาณ 30% ของรายได้ต่อเดือน (20,001-30,000 บาท) มีระยะเวลาออมตั้งแต่น้อยกว่า 3 ปี-มากกว่า 10 ปี ขณะที่กลุ่มที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรมีเงินออม 40% ของรายได้ต่อเดือน (30,001-40,000 บาท) มีระยะเวลาออม 3-5 ปี และกลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุน มีเงินออมมากที่สุดคือ มากกว่า 50% ของรายได้ต่อเดือน (มากกว่า 40,000 บาท) มีระยะเวลาในการออมมากกว่า 10 ปี ซึ่งในทุกวัตถุประสงค์ในการซื้อมีวิธีการออมโดยการฝากธนาคารและมีแหล่งที่มาของเงินจากเงินออมส่วนตัวเหมือนกัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พนักงานที่ทำงานในองค์กรด้านการเงินถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งสะท้อนจากการที่พนักงานดังกล่าวมีการเริ่มลงมือออมเพื่อที่อยู่อาศัย มากถึงร้อยละ 30 ของรายได้ งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเงินและผู้ประกอบการที่จะออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อความต้องการและกำลังซื้อของพนักงานดังกล่าว รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ข้อมูลวางแผนเพื่อส่งเสริมการออมเพื่อที่อยู่อาศัยต่อไป |
Other Abstract: | In the current environment, real estate entrepreneurs have been aiming to attract the working-age population in Bangkok because of their potential and high income. The objectives of this study were to investigate: 1) their financial planning for purchasing a residence and 2) their purpose for purchasing it. Three hundred and thirty-six employees of Kasikorn Bank (Headquarters) on Phaholyotin Road were asked to fill out a questionnaire. Statistical programs were used to analyze the data. The findings revealed that: 1) the majority (75%) of the participants were aged between 22 and 39 years old (Generation Y), followed by those 40 – 55 years old (Generation X, 21%) and those over 55 years old (Baby Boomer, 4%). Of the participants, 46% had bought a residence, 34% did not but planned to buy one within 5 years, and 20% had no plans to buy one. Their hometown was Bangkok. Concerning their purchasing power, those who owned a house earned more than 70,000 baht a month while those who planned to buy one or had no plan earned about 30,000 baht or less a month. 2) 84% of those who bought a house or planned to buy one aimed to live in it, 10% for investment and 6% for speculation. The first group reasoned that they would like to have a family and were concerned about commuting. The second reasoned that they would like to have a long-term return on investment while the third reasoned that they bought one by taking the reliability of the project and the attractive location into consideration. 3) Regarding savings for residence, the amount of savings depended on the purpose for purchasing, in that, the first group saved the least – about 30% of their monthly earnings (20,001 – 30,000 baht). They had been saving from less than 3 years to more than 10 years. The second saved 40% of their monthly earnings (30,001 – 40,000 baht). They had been saving from between 3 and 5 years. The third saved the most – more than 50% of their monthly earnings (more than 40,000 baht). They had been saving for more than 10 years. All of the three groups deposited their savings in a bank and they withdrew their savings to buy a house. The findings indicate that employees in a financial institution are considered a new generation who are interested in buying a house due to the fact that they have savings for housing, accounting for 30% of their income. This study is useful for financial institutions and real estate entrepreneurs who would like to attract these employees by offering products that appeal to the needs and purchasing power of these employees. Related agencies can use these findings to launch plans promoting savings for housing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59761 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.703 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.703 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5973303425.pdf | 6.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.