Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59767
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธี อนันต์สุขสมศรี-
dc.contributor.authorพนรัตน์ มะโน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:16:46Z-
dc.date.available2018-09-14T05:16:46Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59767-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกของประเทศไทยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอศรีราชา ที่ถูกส่งเสริมให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ของอำเภอศรีราชาได้ถูกเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่การเกษตรมาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากอดีตถึงปัจจุบัน ในช่วง ปี พ.ศ. 2539-2559 ของพื้นที่อำเภอศรีราชา โดยประยุกต์แนวคิดของแบบจำลองเซลลูลาร์ออโตมาตามาร์คอฟ (Cellular Automata Markov: CA-Markov) ในการวิเคราะห์ผลของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และเสนอแนะแนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดินในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดในอำเภอศรีราชา คือ บริเวณที่ใกล้กับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและจุดขึ้น – ลง ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ในเมืองไปเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมมากที่สุดอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.11 ที่ความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเท่ากับ 0.0828 ผลลัพธ์ของแบบจำลอง CA-Markov อาจจะเหมาะสมในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตระยะสั้น เช่น การสร้างข้อเสนอแนะสำหรับพื้นที่เฝ้าระวังในการรับมือการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม แต่อาจจะไม่เหมาะสมในการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะยาว เนื่องจากในปัจจุบัน เมืองมีการเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตรสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาในอดีต-
dc.description.abstractalternativeInfrastructure development and economic growth in the Eastern Region of Thailand have had high impacts on land use changes in the Province of Chonburi, one on the major economic and production hubs of Thailand, especially in the District of Siracha which was promoted as a new economic zone in 1992. Most of land uses in Siracha have been changed from agricultural to industrial, residential, and commercial. This study aims to illustrate land use changes of the Siracha District from past to present during 1996-2017 by using the conceptual framework of Cellular Automata Markov (CA-Markov) to analyze the impacts of infrastructure development on land use changes from past to present and to suggest a guideline for future land use planning. The result of study shows that the areas with the highest change are the areas near the development Laem Chabang Seaport and the entrance and exit of Special Highway Number 7 where infrastructure development affects the land use change of urban miscellaneous land to industrial land at the average of 1.11 with the average transitional probability of 0.0828. The result of CA-Markov may be suitable for predicting land use change in the short-term future such as a guideline on supervising unappropriated land use changes. However, it may not be a proper tool for long-term land use change prediction because the dynamic of urban land use change is now higher than ever before. Thus, the pattern of land use change in the future may not be related to the change pattern in the past.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.743-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- ชลบุรี-
dc.subjectเซลลูลาร์ออโตมาตา-
dc.subjectCellular automata-
dc.subjectLand use -- Thailand -- Chonburi-
dc.titleการประยุกต์ใช้เซลลูลาร์ออโตมาตาศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี-
dc.title.alternativeAN APPLICATION OF CELLULAR AUTOMATA FOR EXAMINING LAND USE CHANGES IN SI RACHA DISTRICT, CHONBURI PROVINCE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมือง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSutee.A@chula.ac.th,sutee.a@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.743-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973322325.pdf11.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.