Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59901
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร | - |
dc.contributor.author | ชลัมพล ธาวนพงษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:25:58Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:25:58Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59901 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | ชุมชนและอุตสาหกรรมประมงริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตเป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและแม่น้ำที่เหนียวแน่นทั้งการอยู่อาศัยและการทำประมง แต่ปัจจุบันความสัมพันธ์เหล่านี้ถดถอยลงเนื่องจากถูกแทรกแซงจากปัจจัยต่างๆ ทำให้พื้นที่ริมน้ำถูกทิ้งร้าง จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ 2) ศึกษาพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาครโดยทำการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่และการสำรวจการประกอบอาชีพ เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชน คัดเลือกพื้นที่เพื่อทำรูปตัดแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ริมน้ำโดยเก็บข้อมูลจากการรังวัดและสัมภาษณ์เจ้าของพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลการพัฒนาการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีนและสัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลาได้แก่ 1) ยุคสังคมพื้นบ้าน ก่อนปีพ.ศ. 2504 2) ยุคพัฒนาอุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2525 3) ยุคอุตสาหกรรมประมงซบเซา ปีพ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2558 4) ยุคจัดระเบียบการทำประมง ปีพ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน โดยการพัฒนาการทำประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ส่งผลถึงการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตริมน้ำ และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำดังนี้ 1) การทำประมง เปลี่ยนจากการทำประมงพื้นบ้านมาสู่การทำอุตสาหกรรมประมงและเกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง ต่อมาการทำประมงประสบภาวะซบเซาเนื่องจากการประกาศข้อตกลงทางทะเลจนถูกจำกัดการทำประมงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากการจัดระเบียบการทำประมง 2) การตั้งถิ่นฐาน มีการตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นบริเวณพื้นที่ริมน้ำตำบลท่าฉลอมและขยายตัวมายังฝั่งตำบลมหาชัยและตำบลโกรกกราก จนภายหลังมีการกระจายตัวออกไปจากพื้นที่ตามแนวเครือข่ายถนน และในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมน้ำต้องเลิกกิจการเพราะการหยุดชะงักของการทำประมง 3) วิถีชีวิตริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่เคยมีความสัมพันธ์ของผู้คนและแม่น้ำในการทำประมง การเดินทาง และการขนส่ง ต่อมาพื้นที่ริมน้ำมีความสำคัญต่อการขนส่งสินค้ามากขึ้นในช่วงที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้บทบาทของแม่น้ำทั้งในแง่การเดินทางและขนส่งสินค้ามีความสำคัญลดลง จนกระทั่งหมดไปในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนาถนนและเกิดปัญหาในการทำประมง 4) ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตซึ่งใช้สะพานไม้ขนาดเล็กในการขนส่งสินค้าและซ่อมแซมเครื่องมือประมง มีการทำประมงตามพื้นที่ริมตลิ่ง และพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือที่มีประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้ามากขึ้น จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้พื้นที่ริมน้ำมีการใช้งานลดลง มีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ทำให้การใช้งานพื้นที่ริมน้ำทำได้ยากลำบาก จนการทำประมงถูกจำกัดส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างในที่สุด ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรื้อฟื้นความสำคัญของพื้นที่ริมน้ำ โดยใช้พื้นที่ริมน้ำสาธารณะในการจัดงานเทศกาลและประเพณีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว | - |
dc.description.abstractalternative | The study of morphological transformation of community and fishery industries in Tha chin riverfront area, Tha chalom sub-district, Mahachai sub-district, and Krokkrak sub-district, Samutsakhon province. Have objective to 1) Study morphological transformation of Tha chin riverfront community. 2) Study development of fishery industries in Tha chin riverfront area. 3) Understand a relationship between morphological transformation of waterfront space and development of fishery industries in Tha chin riverfront area. Methodology of this study was gather information of study area and historical document to understand background of Tha chin riverfront community. Survey occupation of inhabitant to create “Occupation map” in Tha chin riverfront community. Select sample area to survey and observe physical element of waterfront space and interview landholder about development of usage of waterfront space. Combine following data with development of fishery industries in Tha chin riverfront community to analyze the relationship between morphological transformation of waterfront space and development of fishery industries in Tha chin riverfront community The finding divided to 4 periods 1) Artisanal fishery phase (Before 1961). 2) Industrial development phase (1961-1982). 3) Decrease of fishery industries phase (1982-2015). 4) Fishery reform phase (2015-2018). Development of fisheries industry effect to settlement, lifestyle, and physical appearance of waterfront space of Tha chin riverfront community. 1) A change of artisanal fishing to commercial fishing caused many several types of related industries. After that the situation was regress because strict fishery law and legislation. 2) Settlement in study area was start from Tha chalom sub-district and to Mahachai sub-district and Krokkrak sub-district. And then expanded outside the study area follow the road. 3) Lifestyle from the past that used waterfront area for coastal fishing has change to use these areas for transportation and become less of usage after developed road network. 4) Physical appearance of waterfront space of study area changes from small wooden dock to be a greater quay after industrial development and become abandoned because development of road network and strict fishery law and legislation that restrain fishery. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1501 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ชุมชนริมน้ำ | - |
dc.subject | การพัฒนาชุมชน | - |
dc.subject | Waterfronts | - |
dc.subject | Community development | - |
dc.title | สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร | - |
dc.title.alternative | MORPHOLOGICAL TRANSFORMATION OF COMMUNITIES AND FISHERY INDUSTRIES IN THA CHIN RIVERFRONT AREA, THA CHALOM SUB-DISTRICT MAHACHAI SUB-DISTRICT AND KROKKRAK SUB-DISTRICT, SAMUTSAKHON PROVINCE. | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Terdsak.T@Chula.ac.th,terdsak@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1501 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6073310225.pdf | 10.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.