Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60166
Title: | ผลกระทบของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างและดัดแปลงอาคารภายในระยะ 15 เมตร จากทั้งบริเวณสองฟากของเขตถนนสายหลัก |
Other Titles: | IMPACTS OF THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION (BMA) ORDINANCE WITH SPECIFIED AREAS RESTRICTED FROM CONSTRUCTION AND MODIFICATION OF BUILDING WITHIN 15-METER SETBACK ALONG MAJOR STREETS |
Authors: | ณัฐภาส์ วรปทุม |
Advisors: | พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornsan.V@Chula.ac.th,pornsan.v@gmail.com |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กรุงเทพมหานครได้ตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครในการควบคุมบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารภายในระยะ 15 เมตร จากทั้งบริเวณสองฟากของเขตถนนสายหลัก จำนวน 37 สาย โดยระบุวัตถุประสงค์ไว้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาจราจรและเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยริมถนนสายหลัก การตราข้อบัญญัติฯ ดังกล่าวมีความหลากหลาย ทั้งข้อบัญญัติฯ ที่เป็นการควบคุมบริเวณริมถนนสายหลักที่มีการตัดไว้นานแล้ว และที่เป็นการควบคุมบริเวณริมถนนสายหลักที่ตัดใหม่ ซึ่งมีผลแตกต่างกันในการก่อสร้างอาคารและลักษณะการใช้ที่ดิน เนื่องจากข้อบัญญัติฯ จะมีผลบังคับใช้กับอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างและดัดแปลงภายหลังการบังคับใช้เท่านั้น อาคารที่มีอยู่ก่อนหรืออาคารประเภทที่ไม่ได้มีการห้ามก่อสร้างจะได้รับการยกเว้น การศึกษานี้ จะดำเนินการวิเคราะห์ถึงนโยบายการให้มีพื้นที่ถอยร่น 15 เมตร โดยการรวบรวมข้อมูลปีที่มีการก่อสร้างถนน เปรียบเทียบกับปีที่มีการตราข้อบัญญัติฯ เพื่อหาข้อสังเกตเกี่ยวกับถนนที่มีการบังคับใช้ข้อบัญญัติฯ ดังกล่าว และดำเนินการสำรวจถนนที่กำหนดจากการเลือกอย่างมีเงื่อนไขให้เป็นพื้นที่ศึกษาจำนวน 5 สาย เพื่อติดตามสภาพการถอยร่นตามข้อบัญญัติฯ ดังกล่าว รวมถึงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะถอยร่น 15 เมตร เพื่อวิเคราะห์ว่ามีความสอดคล้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตราข้อบัญญัติฯ หรือไม่ อย่างไร ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างของปีที่มีการสร้างถนนและปีที่มีการตราข้อบัญญัติฯ ขนาดแปลงที่ดิน รูปแบบถนน และตำแหน่งที่ตั้งของถนน ส่งผลให้เกิดสภาพการถอยร่นที่ต่างกัน โดยลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะถอยร่น 15 เมตร สามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ พื้นที่จอดรถ ทางสัญจร พื้นที่สีเขียว และลานเอนกประสงค์ พบว่าจำนวนแปลงที่ดินที่มีการถอยร่นในถนนที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้งห้า มีการใช้เป็นที่จอดรถและทางสัญจรเฉลี่ยประมาณร้อยละ 76 ซึ่งถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่ในระยะถอยร่นในด้านการส่งเสริมให้เจ้าของอาคารที่ตั้งอยู่ริมถนนสายหลักร่วมรับผิดชอบในการเตรียมที่จอดรถ แต่ยังไม่บรรลุประโยชน์ในด้านการแก้ไขปัญหาจราจร เพราะยังคงพบปริมาณการจราจรมากและปัญหารถติดในช่วงเวลาเร่งด่วนแม้ในถนนที่มีการถอยร่นเป็นสัดส่วนสูง ขณะเดียวกันบริเวณที่ไม่มีการถอยร่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีตึกแถวจำนวนมากกลับได้รับผลกระทบจากข้อบัญญัติฯ ด้วยข้อจำกัดของแปลงที่ดินทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้อีกเลย ซึ่งเป็นผลกระทบต่อแปลงที่ดินในเขตกรุงเทพชั้นในและชั้นกลางที่มีมูลค่าสูงและมีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ แต่กลับไม่สามารถสร้างพัฒนาอาคารใหม่ได้ |
Other Abstract: | Bangkok Metropolitan Administration (BMA) has enacted several local ordinances to control building construction within 15-meter area from several major streets. The number of streets with ordinance enforcement is 37. The purposes of these ordinances are declared as to prevent traffic problem and to keep streetscape in good order. Streets with these ordinances are various from old major ones to newly constructed ones. This cause differences in the result of enforcement both in building construction and land use, because the ordinances affect only specific types of buildings built or modified after ordinance enforcement, and they are not retroactive to existing buildings. This research starts by collecting data of construction years and ordinance enforcement years of those major streets, in order to find patterns of 15-meter setback regulation. And then Physical surveys in conditionally selected 5 study areas are conducted, in order to observe the implementation of setback according to the ordinances, and to find out types of land use in 15-meter setback area whether they conform to purposes of those ordinances or not. One of findings is that time-lag between year of street construction and year of ordinance enforcement, land plot size, pattern of street of location cause differences in setback condition. There are 4 types of land use in 15-meter setback area which can be identified as parking lot, road, green area and plaza. And it shows that average ratio of 15-meter setback area in 5 cases which is used as parking lot and road are 76 percent, therefore it conforms the purposes in the way to promote owners of buildings along main streets to be responsible for providing parking lots. But it does not attain the purposes to reduce traffic problems, because there is still lots of traffic and traffic congestion on streets in rush hours, even in streets with high ratio of setback. On the other hand, in 15-meter setback area with incompliant existing buildings there still exist big amount of shophouses affected by the ordinances, because land plot size limitation obstructs redevelopment. This causes high effect in inner and middle area of Bangkok, where land value and development potential are so high that new buildings are hardly developed in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60166 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.741 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.741 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5973330325.pdf | 29.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.