Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60181
Title: | อิทธิพลของสี วัสดุพื้นผิว และอุณหภูมิสีของแสงที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดีและภาพจดจำของห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับสูง |
Other Titles: | Effect of Color, Finishing and Lighting on the Perception of Well-being and Image of Up-scale Hospital Ward |
Authors: | ปาริชาติ ยามไสย |
Advisors: | วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vorapat.I@Chula.ac.th,Vorapat.I@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลมีการขยายตัวมากขึ้น ผู้ประกอบการโรงพยาบาลต่างตระหนักถึงอัตราการแข่งขันทางการตลาด จึงให้ความสนใจในกลยุทธ์ในการให้บริการรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมต่อการรักษามีผลต่อการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่นำมาใช้ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายในห้องพักผู้ป่วยซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้รับบริการต้องใช้เวลาในการรักษาตัวนานที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์วิเคราะห์องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ถึงความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจพักฟื้นในโรงพยาบาลระดับสูง งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 120 คน อายุระหว่าง 20-60 ปี โดยให้ดูภาพจำลองการตกแต่งภายใน การใช้ผนังทาสี ผนังวัสดุไม้ และอุณหภูมิสีของแสง รวมเป็นจำนวน 10 ภาพ และสอบถามการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยแบบสอบถามการรับรู้ 6 ด้าน ความสะดวกสบาย สะอาด ผ่อนคลาย มีชีวิตชีวา มีราคา และน่าเชื่อถือ จากวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่เกิดผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคืออุณหภูมิสีของแสง โดยอุณหภูมิสีของแสง warm white จะมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ทุกด้านมากกว่า daylight อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ห้องที่ตกแต่งด้วยผนังวัสดุไม้สีอ่อนได้รับค่าเฉลี่ยการรับรู้เชิงบวกสูงกว่าไม้สีเข้ม ผนังทาสีเขียวและทาสีฟ้ามีค่าเฉลี่ยการรับรู้กว่าผนังสีขาว งานวิจัยเสนอแนะว่าแนวทางการออกแบบภายในห้องพักผู้ป่วยระดับสูงควรมีการเลือกใช้ อุณหภูมิสีของแสง warm white เพื่อสร้างการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการเลือกใช้ทั้งไม้สีอ่อนและผนังทาสีอ่อน |
Other Abstract: | Nowadays, the hospital business is continuing to expand. The hospital management boards acknowledge the high competitiveness of the market and therefore pays attention to developing strategy that corresponds to consumer demands. The healing environment, especially in the patients’ rooms, which has a positive impact on patients’ well-being is one of the strategies used by the hospitals. This research focuses on describing the architectural elements that relate to the perception of well-being which could lead to the decision-making of patient to stay in the hospital. In this study 120 participants, aged between 20 and 60 years old rated their perception toward 10 computer-generated patient room images with different elements of interior wall color, wooden finishing and lighting color temperature including six perception: comfortable, cleanliness, calm, energized and reliable were included. Statistical analysis showed that the most important element having impact is the lighting color temperature. The research found that, room with “Warm White” light received higher positive perception score than room with “daylight” light. Room with lighter wooden finishing received a higher average perception than the darker wooden finishing. In addition, room with green and blue painted wall received higher positive perception than the white color wall. This study recommends “Warm White” be chosen as the lighting color temperature in the patient’s room in combination with other architectural elements. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60181 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1513 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1513 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5973564925.pdf | 5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.