Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60183
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุษรา โพวาทอง | - |
dc.contributor.author | รินนารา วิโย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T06:10:05Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T06:10:05Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60183 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | ลูกหนี้ที่กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและมีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อาจจะสูญเสียที่อยู่อาศัยได้หากไม่ได้รับการแก้ไขหนี้ให้สู่ภาวะปกติ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาทัศนคติในการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL ด้านอสังหาริมทรัพย์ ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (บสก.) สำนักงานใหญ่ โดยเก็บข้อมูลจากการสอบถามพนักงานฝ่ายพัฒนาสินทรัพย์ จำนวน 127 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จากผลการศึกษา พบว่า 1.) มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL ที่พนักงานเลือกใช้มาก 3 ลำดับ คือ (1.) การขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป, (2.) การลดเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยค้างรับ และ (3.) การลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้ง 3 มาตรการ ล้วนเน้นช่วยเหลือลูกหนี้ในการลดภาระการผ่อนชำระค่างวดต่อเดือน 2.) ปัจจัยด้านลูกหนี้ที่มีผลต่อการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL คือ รายได้ปัจจุบัน รองลงมา คือภาระหนี้คงค้าง และหลักประกัน 3.) คุณลักษณะของพนักงานที่แตกต่างกันในด้านเพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งงาน และจำนวนชั่วโมงเข้าอบรมไม่มีผลต่อทัศนคติในการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL โดยพนักงานจะพิจารณาจากคุณลักษณะของลูกหนี้ หลักประกันและพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก 4.) ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงานในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL คือ ปัญหาด้านลูกหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเงิน มีรายได้ลดลง แต่ภาระค่าใช้จ่ายสูงทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และปัญหาด้านการปฏิบัติงาน เช่น ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้สั้นเกินไปไม่สอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ และระบบขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ในทัศนคติของพนักงานเห็นว่าตนมีความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติงานเป็นอย่างดีและยังสามารถบอกประโยชน์ให้ลูกหนี้ได้รับอย่างเข้าใจ แต่ความรู้ความสามารถในการยกตัวอย่างประกอบคำชี้แจงยังอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ามาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ที่มักนำมาใช้มุ่งเน้นให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตามความสามารถของลูกหนี้ งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเงินอื่นๆ เพื่อจะพัฒนาปรับปรุงแนวทางการเลือกใช้มาตรการให้เหมาะกับลูกหนี้และได้รับความพึงพอใจสูงสุดทั้งสองฝ่าย เพื่อลดการกลับมาเป็นหนี้ NPLรวมถึงช่วยให้ลูกหนี้กลับไปทำธุรกรรมทางการเงินได้อีกครั้ง | - |
dc.description.abstractalternative | Debtors of real estate non-performing loans (NPL) could lose their properties unless the debts are restructured into normal debts. The current research endeavor aimed to study attitudes of employees for selecting debt restructuring methods of real estate non-performing loans. The data were collected by interviewing 127 Asset Development officers and the data were analyzed by means of descriptive statistics and correlations between the variables. The results showed that first, the most preferred NPL debt restructuring methods were the extension of repayment, the reduction of the principle of loan and accrued interest receivable, and the reduction of interest rates, respectively. All of the 3 mentioned methods emphasized helping debtors in terms of the reduction of payments per month. Secondly, the debtor factors that most affected the selection of NPL debt restructuring methods were the current salary, the outstanding debt, and the collateral. Thirdly, the differences in employees’ genders, ages, working experiences, job positions, and the number of training hours tended to not have any effect on the attitude for selecting NPL debt restricting methods. The employees principally considered debtors’ characteristics, collaterals, and the ability to repay the debts. Fourth, a problem discovered in NPL debt restricting methods was debtors. Most of them had financial problems, decreased salaries, and high expenses, all of which made it impossible for them to repay the debts. Another problem was concerned with the working procedures such as the repayment duration was too short and was not compatible with the debtors’ revenues. Also, the process was too complicated. However, in the employees’ opinions, they were well aware of the working process and could proficiently explain the process to the debtors for correct understanding. Yet, the awareness and understanding of the process and the ability to raise examples were ranged in medium. The results indicated that NPL debt restructuring methods focused on the debtors’ ability to repay the debts based on their true capabilities. The current study would benefit other financial organizations in order that they improve their decisions to select the measures suitable with their debtors, which would further bring about satisfaction from both parties, and reduce the chance of having NPL debts. They could then do further transactions. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.710 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ทัศนคติของพนักงานในการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ | - |
dc.title.alternative | ATTITUDE OF EMPLOYEE FOR SELECTING DEBT RESTRUCTURING METHODS OF REAL ESTATE NON-PERFORMING LOAN : A CASE STUDY OF BANGKOK COMMERCIAL ASSET MANAGEMENT (BAM) PLC | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Bussara.S@Chula.ac.th,sara_sripanich@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.710 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5973568425.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.