Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60544
Title: | การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืชในการตรวจระบุเอกลักษณ์ของสมุนไพรสกุล Strychnos ที่ปนในตำรับยา : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Use of genetics for identification of strychnos plants in herbal formulations |
Authors: | สุชาดา สุขหร่อง |
Email: | Suchada.Su@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | สกุลแสลงใจ -- การพิสูจน์เอกลักษณ์ สกุลแสลงใจ -- พันธุศาสตร์ Strychnos -- Identification Strychnos -- Genetics |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พืชสมุนไพรในสกุล Strychnos มีประวัติการใช้มานานทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออกซึ่งรวมถึงประเทศไทย โดย Strychnos แต่ละชนิดมีสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายในรูปแบบและความแรงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้มีรายงานถึงการใช้สับสนเนื่องจากพืชในสกุล Strychnos มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายกันและมีชื่อพ้องเดียวกัน การพิสูจน์เอกลักษณ์จึงมีความจำเป็นเพื่อแยกพืชสมุนไพรในสกุล Strychnos ให้ถูกต้องกับการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้การพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลโดยการใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอจึงเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งเนื่องจากดีเอ็นเอเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสิ่งมีชีวิตซึ่งถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ฤดูกาล ความชื้น แหล่งเพาะปลูก จากการทบทวนวรรณกรรมยังไม่พบการพิสูจน์เอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรในสกุล Strychnos โดยอาศัยดีเอ็นเอมาก่อน ในการศึกษานี้ทำการเก็บตัวอย่างพืชในสกุล Strychnos ที่พบได้ในประเทศไทยจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ขวากไก่ (Strychnos axillaris Colebr.), พญามือเหล็ก (S.ignatii Berg), ตูมกาแดง (S. minor Dennst.), พญามูลเหล็ก (S. lucida R.Br.), แสลงใจ (S.nux-vomica Linn.) และตูมกาขาว (S. nux-blanda A.W.Hill) เมื่อทำการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนแมทเค (matK) พบว่าลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนแมทเคของพืชสกุล Strychnos มีความยาวทั้งสิ้น 1,536 คู่เบสเท่ากันในทุกตัวอย่างที่ศึกษา เมื่อทำการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์พบตำแหน่งพอลิมอฟิซึมที่สามารถพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดพีซีอาร์-อาร์เอฟแอลพีเพื่อการพิสูจน์เอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรในสกุลนี้ นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดพีซีอาร์-อาร์เอฟแอลพีที่พัฒนาขึ้นในการตรวจระบุชนิดของสมุนไพร Strychnos ที่อยู่ในรูปสมุนไพรสูตรผสมจำลอง |
Other Abstract: | The legend of medicinal herbs derived from Strychnos species are well known to both western and eastern parts of the world including Thailand. Each Strychnos species consists of bioactive chemicals in the variety of compounds and potency. There were cases of unintentional substitution of medicinal herbs from Strychnos species since they possess similar morphology and sharing the same vernacular homonym. Therefore, accurate identification of medicinal plants in the genus Strychnos is needed to ensure for uses. Molecular biology technique by DNA fingerprinting has been proved to be the powerful method to discriminate species with high accuracy. DNA characteristic is the heredity of each organism and is not affected. by any environments such as season, climate and habitat. From literature reviews, identification of Strychnos plants by DNA fingerprinting has not been done. Six Strychnos species, Strychnos oxilloris Colebr., 5. ignotii Berg, 5. minor Dennst., 5. lucido R.Br., S. nux-vomica Linn. and S. nux-blondo A.W.Hill, existing in Thailand were collected in this study. The sequencing of the full length maturase K (motK) genes has been determined. It was found that motK 'gene possess 1,536 bp in all studied species. Polymorphisms among the six species have been found. Appropriate molecular marker, PCR-RFLP, can be developed for authentication of the Strychnos species. Moreover, authentication of Strychnos plants in artificially herbal mixtures by PCR-RFLP was done. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60544 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pharm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchada S_Res_2556.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.