Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61141
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุกรี สินธุภิญโญ | - |
dc.contributor.advisor | อัจฉรา จันทร์ฉาย | - |
dc.contributor.author | กฤษพงษ อัศดามงคล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-01-10T07:53:54Z | - |
dc.date.available | 2019-01-10T07:53:54Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61141 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้กล่าวถึงการใช้พลวัตคีย์สโตรกในการตรวจสอบความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการใช้คุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) ในการแยกแยะบุคคลคนหนึ่งจากบุคคลอื่น ๆ โดยใช้ลักษณะของการพิมพ์บนแป้นพิมพ์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อนำเสนอต้นแบบโปรแกรมที่มีการใช้พลวัตคีย์สโตรกเพื่อระบุตัวบุคคลบนเว็บไซต์เมื่อมีการใช้หมายเลขที่อยู่ไอพีร่วมตรวจสอบ รวมทั้งศึกษาการยอมรับการใช้พลวัตคีย์สโตรกเพื่อระบุตัวบุคคลบนเว็บไซต์ โดยในส่วนของโปรแกรมพลวัตคีย์สโตรกจะวิเคราะห์การพิมพ์จากผลรวมคะแนนความเหมือนของไดกราฟ (Digraph) ที่ได้จากการพิมพ์เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลไดกราฟจากโพรไฟล์ร่วมกับโครงข่ายแบบเบย์ (Bayesian Network) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพลวัตคีย์สโตรกและหมายเลขที่อยู่ไอพีเพื่อระบุตัวบุคคล สำหรับการศึกษาการยอมรับการใช้พลวัตคีย์สโตรกนั้นจะศึกษาด้วยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่าในส่วนของการทดลองระบุตัวบุคคลด้วยพลวัตคีย์สโตรกจากคะแนนของไดกราฟมีความถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 66.67 ซึ่งถ้านำหมายเลขที่อยู่ไอพีร่วมตรวจสอบสามารถที่จะเพิ่มความถูกต้องถึงร้อยละ 97 .00 ในส่วนของการศึกษาการยอมรับการใช้งานพลวัตคีย์สโตรกพบว่ามีความสนใจใช้พลวัตคีย์สโตรกบนเว็บไซต์ที่มีการติดตั้งคิดเป็นร้อยละ 76.67 ไม่แน่ใจในการใช้พลวัตคีย์สโตรกบนเว็บไซต์ที่มีการติดตั้งคิดเป็นร้อยละ 16.67 และไม่สนใจในการใช้พลวัตคีย์สโตรกบนเว็บไซต์ที่มีการติดตั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.67 อย่างไรก็ตามเพื่อให้การนำพลวัตคีย์สโตรกมาใช้ในการระบุตัวบุคคลให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น จำเป็นที่จะต้องมีวิธีการอื่นมาช่วยสนับสนุนในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการระบุ ตัวบุคคลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าหมายเลขที่อยู่ไอพีเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิผลให้กับพลวัตคีย์สโตรก อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาพลวัตคีย์สโตรกในอนาคตให้มีประสิทธิผลในการระบุตัวบุคคลมากขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis mentions the use of Keystroke Dynamics in computer security that uses physical characteristics to identify a person by using a unique individual keystroke sequence typed via keyboard. The purpose of this thesis is to present a prototype program which employs the Keystroke Dynamics and IP Address to identify person on a website and to study an acceptance model of using Keystroke Dynamics on a website. Our method compares the summation of digraph similarity between profiles and employs a Bayesian Network to evaluate relation between Keystroke Dynamics and IP Address for person identification. We studied the acceptance model of using Keystroke Dynamics on a website by using the Questionnaire and In-Depth Interview method. The summation of digraph similarity score alone yielded 66.67 percent of accuracy but with the help of IP Address, the accuracy was improved to 97.00 percent and the results of possibility study of using Keystroke Dynamics on a website were that 77.67 percent of subjects were interested to use Keystroke Dynamics on their websites, 16.67 percent were not sure to use Keystroke Dynamics on their websites, and 6.67 percent were not interested to use Keystroke Dynamics on their websites. Moreover, to obtain a better result, another method is required to increase effectiveness in user identification tasks. We can see from this thesis that combining IP Address to analysis Keystroke Dynamics can increase the effectiveness to the ordinary method. This thesis can be a guideline to implement the Keystroke Dynamics identification system to be more effective in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1645 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ -- การควบคุมการเข้าถึง | en_US |
dc.subject | เครือข่ายคอมพิวเตอร์ -- มาตรการความปลอดภัย | en_US |
dc.title | นวัตกรรมของการระบุแบบปลั๊กอินบนเว็บไซต์ด้วยพลวัตคีย์สโตรก | en_US |
dc.title.alternative | Innovation of identification plug-ins on website by keystroke dynamics | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา) | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sukree.S@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | chandrachai@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1645 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kitsapong Asadamongkol.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.