Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61169
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสริชย์ โชติพานิช | - |
dc.contributor.author | อุรชา อรรถคัมภีร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-01-29T09:57:31Z | - |
dc.date.available | 2019-01-29T09:57:31Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61169 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | โครงการบ้านเอื้ออาทรโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ของการเคหะแห่งชาติก่อสร้างขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แนวคิดในการดำเนินโครงการสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานสร้างชุมชนให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน กำหนดนโยบายในการบริหารชุมชน โดยการจ้างบริษัทรับบริหารชุมชนปฏิบัติงานตามข้อกำหนดการจ้างบริหารชุมชนเอื้ออาทรแบบบูรณาการ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ใช้วิธีวิจัยแบบกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารชุมชน ผลงานการบริหารชุมชน ความสัมพันธ์ของกระบวนการบริหารชุมชนและผลงานการบริหารชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกบริษัทรับบริหารชุมชนที่ดีและ ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงข้อกำหนดการจ้างให้รัดกุมยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่าผลงานที่ปรากฏมีความแตกต่างกัน กระบวนการบริหารชุมชนมีผลโดยตรงต่อผลการดำเนินงาน บริษัทที่มีกระบวนการบริหารชุมชนที่ดีมีการดำเนินงานครบทั้ง 3 ส่วนงานหลักคือด้านการวางแผน การจัดการ และการปฏิบัติการ ด้านการวางแผนมีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและกลยุทธ์ในการบริหารงานและถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติงาน โดยมีแผนปฏิบัติงานที่ละเอียดและชัดเจน มีรอบปฏิบัติงานที่เหมาะสม ด้านการจัดการมีการควบคุม กำกับดูแลและประเมินผลงาน ด้านการปฏิบัติการมีการวางแผนทั้งก่อนและหลังการเข้าอยู่อาศัย ก่อนเข้าอยู่อาศัยมีการวางแผนจัดระเบียบการใช้พื้นที่ส่วนกลางให้ชัดเจนซึ่งพบว่ามีความ สำคัญมาก หลังการเข้าอยู่อาศัย ด้านชุมชนใช้ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงผู้อยู่อาศัยได้โดยตรงให้ความรู้เรื่องกฎระเบียบการอยู่อาศัยร่วมกัน การเคารพสิทธิของผู้อื่นและควบคุมดูแลกฎระเบียบอย่างต่อเนื่องตลอดจนดึงความมีส่วนร่วมจากผู้อยู่อาศัยให้เข้ามามีส่วนในการดูแลชุมชนของตนเองซึ่งเป็นแนวทางที่ยั่งยืนสามารถแบ่งเบาภาระงานได้บางส่วน และสุดท้ายจำเป็นต้องมีบุคลากรที่เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ด้านผลการดำเนินงานพบว่ามี 2บริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่ดีมีกระบวนการดำเนินงานที่ครบทั้ง 3ส่วนงานหลัก คือ ด้านการวางแผนกำหนดนโยบายในการดำเนินงาน มีการจัดการที่ดี มีการทำงานเชิงกลยุทธ์และการทำงานเชิงป้องกันก่อนการเกิดปัญหา ส่วนอีก1บริษัทที่มีผลการดำเนินงานปานกลางมีกระบวนการดำเนินงาน 2 ส่วนงานหลักคือด้านการจัดการและด้านการปฏิบัติการขาดส่วนงานด้านการวางแผนและอีกบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่ไม่ดี พบว่ามีกระบวนการดำเนินงาน 1 ส่วนงานหลักคือด้านการปฏิบัติการขาดส่วนงานด้านการวางแผนและด้านการจัดการที่ดี ซึ่งมีผลต่อผลการดำเนินงานและสอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีการบริหารทรัพยากรกายภาพ สรุปกระบวนการบริหารชุมชนที่ดีจะต้องมีการดำเนินงานครบทั้ง 3 ส่วนงานหลักคือมีการวางแผนมีการจัดการและมีการปฏิบัติการที่ดี มีนโยบายเป้าหมายและการทำงานเชิงกลยุทธ์ เลือกใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงานให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ประสานสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Baan Eua-a-thorn Housing Project is a large-scale housing construction project of the National Housing Authority, set up by the government to build houses so that low-to-medium level income earners could have a house of their own. The project’s concept was to build houses of standard quality and to create pleasant and sustainable communities. Policies were established to contract with management companies according to regulations regarding the hiring of integrated management for the housing projects. This is an empirical research using a case study approach. This research had as its objectives to study the community management processes, the companies’ performance, and the relationship between the processes and the performance results so that the information could be used in the selection of appropriate community management companies and in the improvement of hiring terms and conditions, making them more concise. The study results show that the work results that turned out were different. The community management processes had a direct effect on operations. It was found that good community management meant a complete process throughout the planning, management, and operations. In planning, policies, goals and strategies for good management needed to be established. In management, detailed and clear work plans or schedules with appropriate stages had to be determined. As far as operations are concerned, rules for the use of common areas were arranged and announced to residents before and after they moved in. This was found to be of great importance. After residents moved in, they were also told via direct communication approaches about all other residential rules and regulations, which were always to be followed, and about living together and respecting other people’s rights. Residents were encouraged to care for their own community, which helped ease the burden, and this was found to be a sustainable approach. Finally, there had to be personnel who cared about their work, and received fair and appropriate remuneration resulting in continuing successful community management. Regarding performance, two companies were found to have good performance with all three major parts of the process. They had policies, strategic operations and took preventive approach before problems could occur. The company with moderate performance had two major parts of operations, management and operations, missing out on planning. The other company had poor performance, with only operations in the work process, lacking planning and thorough management. The performance results were found to be in accordance with the principles and the theories of physical resource management and meeting the requirements as stated in the scope of work in the contract. In conclusion, good community management must have all the three parts of operations: planning, management, and good operations with policies, goals and strategies. Suitable strategies are then applied to certain areas and integrated to achieve efficient coordination. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.774 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ชุมชน -- การบริหาร | en_US |
dc.subject | บริษัทพัฒนาชุมชน | en_US |
dc.subject | การจัดการอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.subject | โครงการบ้านเอื้ออาทร -- การบริหาร | en_US |
dc.subject | Communities -- Administration | en_US |
dc.subject | Community development corporations | en_US |
dc.subject | Real estate management | en_US |
dc.subject | Baan Eua-Arthorn Project -- Administration | en_US |
dc.title | กระบวนการดำเนินงานบริหารชุมชนของบริษัทรับบริหารชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทร : กรณีศึกษาโครงการบึงกุ่ม นนทบุรี(วัดกู้ 2) ลาดกระบัง 2 และสุวรรณภูมิ(วัดศรีวารีน้อย) | en_US |
dc.title.alternative | Community management process performed by outsourcing company : case studies of Baan Eua-Arthorn Project at Bungkum, Nonthaburi (Wat Koo 2) Site, Ladkrabang 2, Suvannabhumi (Wat Sriwareenoi) Site | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาที่อยู่อาศัย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sarich.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.774 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Uraja Athacomphee.pdf | 3.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.