Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61345
Title: ผลของโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Other Titles: The effect of integrated program emphasizing exercise on fatigue in persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis
Authors: พัชรินทร์ อินทร์จันทร์
Advisors: สุนิดา ปรีชาวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sunida.P@Chula.ac.th
Subjects: ไต -- โรค -- ผู้ป่วย
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ความล้า
การออกกำลังกาย
Kidneys -- Diseases -- Patients
Hemodialysis
Fatigue
Exercise
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  อายุ 18-60 ปี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือด โดยออกกำลังกายแบบเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ ภายใน 2 ชั่วโมงแรกของการฟอกเลือด ครั้งละ 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการเหนื่อยล้าซึ่งมีค่าความเที่ยง (reliability) เท่ากับ 0.85  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้      1. คะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลังเข้าร่วมโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าที่สัปดาห์ที่ 5 และสัปดาห์ที่ 9 ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental was to study the effect of the integrated exercise-oriented program  on fatigue in persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis. Fifty study samples,  aged 18-60 years,  were divided into two groups: experimental and control groups, 25 samples each.  While the control group received the conventional nursing care, the experimental group participated in the 8-week integrated exercise-oriented program emphasizing on intradialytic exercise. The research instrument used for data collection was the Fatigue Severe Scale questionnaire with a Cronbach‘s alpha coefficient of 0.85. Data were analyzed using descriptive statistics, repeated measures ANOVA and independent t-test.  The findings indicated as follows: 1. The mean score of fatigue in the experimental group after participating receiving in the integrated exercise-oriented program was lower than the one before paticipating in the program (p-value < .05). 2. At the 5th and 9th week, the mean scores of fatigue in the experimental group were significantly lower than those in the control group (p-value < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61345
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.991
DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.991
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977172236.pdf7.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.