Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61462
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภัทระ คมขำ | - |
dc.contributor.author | ธิติ ทัศนกุลวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T13:46:57Z | - |
dc.date.available | 2019-02-26T13:46:57Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61462 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง การประพันธ์เพลงตับเรื่อง “บัวสามเหล่า” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระธรรมเรื่อง บัวสามเหล่า ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมณิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ และเพื่อสร้างสรรค์ บทเพลงมโหรี ตับเรื่อง “บัวสามเหล่า” เพื่อใช้เผยแพร่แก่พุทธศาสนิกชน ผลการวิจัยพบว่าบัวมีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนาและมีนัยยะไปในเรื่องของความเป็นมงคล เกี่ยวข้องกับคำสอนทางศาสนาอย่างเด่นชัด มีปรากฏเรื่องบัวทั้งในงานด้านวรรณกรรมและงานศิลปกรรม พระธรรมที่เกี่ยวข้องกับบัวสามเหล่า คือ การอุปมาเรื่องการจัดแบ่งบัวตามความหมายของศักยภาพการเข้าถึงความรู้ของคน ก่อนการเผยแพร่พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับบุคคลประเภทต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับบัวใต้น้ำ บัวปริ่มน้ำและบัวพ้นน้ำ การศึกษาบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิธีการประพันธ์เพลงสร้างสรรค์ครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดกลุ่มเสียง หากเป็นทำนองที่เป็นสำเนียงที่ไม่ใช่สำเนียงไทย จะกำหนดกลุ่มเสียงเดียวเป็นส่วนใหญ่ หากเป็นสำเนียงไทยจะมีการกำหนด 2 - 3 กลุ่มเสียง การใช้เสียงมาเรียงร้อยเป็นทำนองเพลงเกือบทั้งหมดใช้เสียงเรียงกันขึ้นลงอย่างเป็นระเบียบ ไม่เน้นทำนองที่ผันผวน และเพลงส่วนใหญ่จะขึ้นต้นเพลงปรากฏทั้งการเคลื่อนที่แนวเสียงวิถีขึ้นและลง และมักจะจบเพลงด้วยแนวเสียงวิถีลง สำหรับเพลงระบำของครูมนตรี ตราโมท การดำเนินทำนองปรากฏทำนองเกริ่น ทำนองจังหวะยก หากเป็นเพลงประเภทโหมโรงและเพลงเถามักมีทำนองลูกล้อลูกขัด อีกทั้งทำนองเพลงส่วนใหญ่เป็นทำนองลักษณะบังคับทางและเสียงลูกตกระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลังมีการกำหนดให้เป็นเสียงที่ห่างกันอย่างหลากหลาย การประพันธ์เพลงใหม่ ได้ทำการประพันธ์โดยใช้วิธีขยายทำนองจากเพลงต้นราก การประพันธ์ด้วยจินตนาการ การขยายและยุบทำนองหลังจากนั้นตบแต่งทำนองให้มีสำนวนใหม่ การประพันธ์ทำนองขึ้นใหม่จากโครงสร้างบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรของพระภิกษุ การกำหนดทำนองเพลงมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรก ทำนองส่วนต้น ประกอบด้วยทำนองเกริ่น ปฐมภูมิและเพลงบัว 3 เหล่า โดยเพลงบัว 3 เหล่ามีเพลงย่อยจำนวน 3 เพลง คือ เพลงเนยยะบุศย์ เพลงบุศย์น้ำดุล เพลงสุริยโกเมศ ส่วนที่สอง ทำนองส่วนท้าย ประกอบด้วยเพลง 3 เพลง ที่ประพันธ์ทำนองจากบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกอบด้วย เพลงหันทะมะยัง เพลงบทขัดธัมมจักกัปปวัตนสูตร และเพลงธัมมจักกัปปวัตนสูตร สำหรับเพลงที่ 3 ประกอบด้วยเพลงย่อยอีก 7 เพลงคือ เพลงปฐมธัมมจักร เพลงคู่พยายาม เพลงปลายคู่พยายาม เพลงอริยสัจสี่ เพลงเทวานัง เพลงปิติศานติ์ และเพลงตติยภูมิ บทเพลงที่แต่งใหม่ใช้หลักการจากการวิเคราะห์เพลงที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้ได้แก่ การกำหนดทางการเลือกใช้เสียง การเลือกทำนองเกริ่น การเลือกทำนองลูกล้อลูกขัด การกำหนดเสียงลูกตก นอกจากนี้ การตกแต่งทำนองยังคงความหมายของเพลงต้นรากอย่างเคร่งครัด | - |
dc.description.abstractalternative | The thesis “The Song Composition of Pleang Tub-Ruang,‘Buasamlao’” aims to explore the background of Sutta Patika, in Majjhima Nikāya, the second of the three divisions of the Tripitaka or Pali Canon, in which the teaching about Buasamlao (the three types of lotuses) is found. The teaching was studied and used as a guideline to compose Pleang Mahori Tub-Ruang called Buasamlao or “Three Types of Lotuses” to propagate the idea to Buddhists. It was found that lotuses are identified with religious beliefs and usually contain a sense of good fortune. They are also in close connection to Buddhist teachings as found in several works of literature and art. The idea mainly associated with Buasamlao is a metaphor of the three types of lotuses. Each type is compared with human beings’ ability level to learn the Buddha’s teachings: A lotus submerging under water, a lotus being right at the surface of water, and a lotus rising above the water surface. In this study, songs regarding flowers are studied and used as guidelines for the composition. It was found in terms of scale specification that if a piece of music does not contain a Thai music scale, it is mostly specified as a single scale. In contrast, if it follows the Thai music scale, it is considered 2-3 scales. Almost throughout the songs, pitches and melodies do not fluctuate and are orderly arranged. Most of the songs start with the melodies falling from high to low and usually end with a low pitch. The melodies consist of an opening melody and upbeat melody. Hom Rong and Pleang-Tao often contain a chorus. Most melodies found in the songs studied are in a regular pattern and a variety of consonants are found in the first and latter verses of the songs. The composition was made by adapting the structure of Pleang Ton Rag [as a model], using the composer’s imagination, abridging the melody, rearranging the melody, and composing new melodies from the structure of Buddhist monks’ prayer in the Dhammacakkappavattana Sutta. The composition is composed of two parts. The first part consists of a prelude and Pleang Buasamlao under which is separated into three songs: Pleang Naya Busaya, Pleang Busaya Namdulaya, and Pleang Suriya Komes. The latter part consists of three songs of which composition was derived from the prayer in the Dhammacakkappavattana Sutta. The part includes Pleang Handa Mayam, Bod Kat Dhammacak, and Pleang Dhammacakkappavattana Sutta. The third song is composed of the other six songs which are Pleang Pathom Dhammacak, Pleang Koo Payayam, Pleang Plai Koo Payayam, Pleang Ariyasaj Si, Pleang Deva-Nang and Pleang Pitisan, and Pleang Tatiyabhumi. The composition was based on the analysis of the songs related to flowers and completed by arranging and selecting the melodies, scales, pitches, prelude, and consonants; moreover, it also rigorously maintains the meaning of Pleang Ton Rag. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1351 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การแต่งเพลง | - |
dc.subject | ดนตรีไทย | - |
dc.subject | Composition (Music) | - |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | - |
dc.title | การประพันธ์เพลงตับเรื่อง “บัวสามเหล่า” | - |
dc.title.alternative | The song composition of Pleang Tub-Ruang, “Buasamlao” | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | ดอกบัว | - |
dc.subject.keyword | บัวสามเหล่า | - |
dc.subject.keyword | เพลงตับเรื่อง | - |
dc.subject.keyword | LOTUS | - |
dc.subject.keyword | THREE TYPES OF LOTUSES | - |
dc.subject.keyword | PLEANG TUB-RUANG | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1351 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5886808135.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.