Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61863
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพินิจ ลาภธนานนท์-
dc.contributor.authorแทนพันธ์ เสนะพันธุ์ บัวใหม่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-05-16T03:21:02Z-
dc.date.available2019-05-16T03:21:02Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61863-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยประเด็นพฤติกรรมที่เหมาะสมของพระสงฆ์และรูปแบบในการใช้ประโยชน์อินเทอร์เน็ตมีวัตถุประสงค์สองประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมต่อกรอบพระธรรมวินัยและความเป็นสมณเพศของพระสงฆ์ และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อกิจการพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่สอดคล้องกับการแสดงบทบาทหน้าที่ของพุทธสาวก และบทบาทหน้าที่ตามที่สังคมไทยในปัจจุบันคาดหวัง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ประยุกต์ระเบียบวิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาบนอินเทอร์เน็ต (Netnography) เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมการใช้งานจริงของพระสงฆ์กลุ่มเป้าหมายบนสังคมออนไลน์ (Online social network) งานศึกษาวิจัยนี้อาศัยการวิเคราะห์เฟสบุ๊กของพระสงฆ์ 8 บัญชีซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงในระดับปัจเจกและเว็บไซต์วัด 16 เว็บไซต์ซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงในระดับสถาบัน นอกจากนี้ได้ให้ความสำคัญกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) บนสนามวิจัยออนไลน์ต่อพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อกิจการพระพุทธศาสนา รวมทั้งการสัมภาษณ์ทั้งกึ่งโครงสร้าง (Semi structured interview) และไม่มีโครงสร้าง (Structured interview) ผลการศึกษาวิจัยแยกออกเป็น 2 ส่วนตามวัตถุประสงค์คือ ส่วนที่ 1 พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมต่อกรอบพระวินัยและความเป็นสมณเพศของพระสงฆ์ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมที่เหมาะสมของพระสงฆ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตมีลักษณะคือ 1) ต้องไม่เป็นการใช้งานที่นำไปสู่ความเสื่อมจริยธรรมทางเพศ 2) ไม่กล่าวเท็จ หยาบคาย เสียดสี โอ้อวดและเรียกร้องเพื่อประโยชน์ส่วนตนจนนำความเดือนร้อนมาสู่ผู้อื่น 3) ต้องไม่นำความสั่นคลอนแตกแยกมาสู่สังคม 4) ต้องไม่ใช้งานเพื่อการพาณิชย์ 5) ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสถานที่ในการปฏิสัมพันธ์ 6) ต้องไม่ตำหนิติเตียนเนื้อความในพระไตรปิฎก 7) ต้องคำนึงและพิจารณาตัวชี้วัดอื่นๆ ประกอบเมื่อต้องแสดงธรรมบนอินเทอร์เน็ต 8) ต้องไม่คาบเกี่ยวอยู่ในช่วงกิจวัตรประจำวันของสงฆ์ 9) ต้องใช้งานด้วยเจตนาบริสุทธิ์สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ชอบด้วยบทบาทหน้าที่ 10) ต้องใช้งานเพื่อประโยชน์ทางการสื่อสารและการศึกษาเป็นหลัก และ 11) ต้องใช้งานสอดคล้องกับสถานภาพและบทบาทหน้าที่ที่พึงแสดง ณ เวลานั้น จากการวิเคราะห์พฤติกรรมและลักษณะการใช้งานอินเทอร์เน็ตของพระสงฆ์พบว่าประเด็นการใช้ภาษาเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต กาลเทศะและการใช้งานที่ไม่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมซึ่งน่ากังวลใจอย่างมาก สำหรับส่วนที่ 2 รูปแบบการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อกิจการพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่สอดคล้องกับการแสดงบทบาทหน้าที่ของพุทธสาวก และบทบาทหน้าที่ตามที่สังคมไทยในปัจจุบันคาดหวัง พบว่ารูปแบบการใช้ประโยชน์ด้านการสื่อสารและการศึกษาเท่านั้นที่สร้างประโยชน์ให้แก่กิจการพระพุทธศาสนาได้และยังสอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในหมู่พระสงฆ์ด้วย นอกจากนี้การใช้งานด้วยความสำรวมทั้งทางกาย วาจาและใจคือสิ่งที่สังคมต้องการเห็นมากที่สุด อย่างไรก็ตามความสำรวมดังกล่าวก็เกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบพระวินัยและตระหนักรู้ถึงความคาดหวังทางสังคมอยู่ตลอดเวลาen_US
dc.description.abstractalternativeTo research the thesis titled "Appropriate Conducts for Thai Monks and Patterns of Utilization of Internet to Promote Buddhism" aims 1) to study appropriate conducts in internet use of Thai monks measured by Vinaya and 2) to study appropriate patterns of utilization of the internet for Thai Monks along their expected roles. The research was mainly undertaken by using qualitative methodology, also mixed by Netnography supporting effectively data collecting. Moreover, participant observation, semi – structured and structured interview were proper techniques to elicit needed data on the online space. There were 8 accounts of target monks' Facebook and 16 qualified temples' websites identified as a research field; the Facebook was going to be analyzed to reflect individual level facts, and institutional level facts from website analyzing. According to the objectives of this enquiry research, the results are divided into two contributions. Firstly, it is found that to behave appropriately towards the role of Buddhist practice in online social networks, monks should not conduct leading to the deterioration of sexual ethnics. They are not allowed to lie, exaggerated claim for their own benefits and harm against others or they would have committed a sin. They would not disrupt social activities intended to a break in society. Further, it is not used for commercial purposes and monks have to regard the appropriate solemnity which is suitable for this condition; as well as, a good monk should not offend or insult scandalous things intended to destroy the sacred of the Tripitaka's context. In case that, they need to spread Dharma on the internet, they must concern other important facts associated with moral behaviors due to the ethics of monkhood. Monks' activities on the internet must not inefficiently waste time to practice along their common routines. All the activities on the internet must also be honest and good intentions. Moreover, surfing the internet for communicational and educational purposes is considered to be appropriate. However, from the real phenomena, the research found that unsuitable language use, slang, also improper time and place seem to be a common share of inappropriate conducts. For the second contribution; patterns of utilization of internet to promote Buddhism, it is found only communicational and educational purposes supporting Thai Buddhism institution. As a matter of facts, Thai society expects monks to perform and conduct calmly on the internet, based on Thai moral culture and Buddhist religious ethnics. People expect them to keep their body, speech, and mind appropriately. However, monks should behave themselves in an appropriate way and act according to certain accept standard in Buddhism.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.783-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสงฆ์en_US
dc.subjectผู้ใช้อินเทอร์เน็ตen_US
dc.subjectอินเทอร์เน็ต -- การใช้ประโยชน์en_US
dc.subjectอินเทอร์เน็ต -- แง่สังคมen_US
dc.subjectPriests, Buddhist, Buddhist monksen_US
dc.subjectInternet usersen_US
dc.subjectInternet -- Utilizationen_US
dc.subjectInternet -- Social aspectsen_US
dc.titleพฤติกรรมที่เหมาะสมของพระสงฆ์และรูปแบบในการใช้ประโยชน์อินเทอร์เน็ตเพื่อกิจการพระพุทธศาสนาen_US
dc.title.alternativeAppropriate conducts for Thai monks and patterns of utilization of internet to promote Buddhismen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPinit.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.783-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thaenphan Senaphan Buamai.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.