Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61906
Title: | อิทธิพลของโครงสร้างทางจุลภาคต่อสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของ เหล็กเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Influence of microstructure on corrosion properties of zinc-electroplated steels |
Authors: | กนกวรรณ แสงเกียรติยุทธ ปราณี รัตนวลีดิโรจน์ ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์ จุมพฏ วานิชสัมพันธ์ อดิศักดิ์ ถือพลอย |
Email: | Kanokwan.S@Chula.ac.th Pranee.R@Chula.ac.th Yuttanant.B@Chula.ac.th Jumpot.W@Chula.ac.th adisak.t@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ |
Subjects: | เหล็กกล้าชุบเคลือบสังกะสี -- การกัดกร่อน การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาอิทธิพลของโครงสร้างทางจุลภาคของผิวเคลือบสังกะสีบนเหล็กแผ่นที่ได้จากการชุบเคลือบด้วยไฟฟ้าต่อสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของชิ้นงาน ทำได้โดยการเตรียมชิ้นงานเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีโดยใช้น้ำยาชุบเคลือบ 3 ระบบ คือ ระบบกรด ระบบด่าง และระบบไซยาไนด์ โดยได้ทำการศึกษาอิทธิพลของการเติม additives ในน้ำยาชุบเคลือบระบบกรดและระบบด่าง และศึกษาปัจจัยของกระแสที่ใช้ในการชุบเคลือบในน้ำยาระบบด่าง ซึ่งได้แก่ ขนาดกระแส และรูปแบบของกระแสที่ใช้ในการชุบเคลือบ รวมทั้งทำการวิเคราะห์โครงสร้างผลึกของผิวเคลือบด้วยเทคนิค X-ray diffraction และตรวจสอบลักษณะผิวเคลือบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และทำการวิเคราะห์ทดสอบสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนด้วยเทคนิค Electrochemical Impedance Spectroscopy (EIS) เทคนิค Potentiodynamic polarization ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 5% โดยน้ำหนัก และวิธี Salt spray test อ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM B117 ผลการศึกษาพบว่า การเติม carrier และ brightener ในน้ำยาระบบกรดและด่างมีผลทำให้โครงสร้างผิวเคลือบมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีระนาบ (002) ลดลง และมีระนาบ (100) (101) และ (110) เป็นหลัก นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดเจนว่าโครงสร้างของผิวเคลือบมีความละเอียดและมีความสม่ำเสมอบนพื้นผิวมากขึ้น ทั้งนี้แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีที่ใช้น้ำยาชุบระบบด่าง มีแนวโน้มให้ความต้านทานการกัดกร่อนต่ำกว่าระบบไซยาไนด์ และระบบกรด สำหรับการศึกษาการชุบด้วยระบบด่างโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรง พบว่า การชุบเคลือบด้วยกระแส 1 A/dm2 ให้ผิวเคลือบที่มีความต้านทานการกัดกร่อนต่ำกว่าการชุบเคลือบด้วยกระแส 2 และ 4 A/dm2 ส่วนการศึกษาด้านรูปแบบกระแสที่ใช้ในการชุบเคลือบพบว่า ชิ้นงานที่ชุบด้วยกระแสพัลส์มีแนวโน้มเกิดการกัดกร่อนได้เร็วกว่าการชุบด้วยกระแสตรง และกระแส Sine wave |
Other Abstract: | The study of the influence of electrodeposited zinc coatings’ microstructure on their corrosion resistance is performed on 3 different sets of zinc coating specimens that are prepared from acidic, alkaline, and cyanide electrolytes. The processing parameters of concern include the additives in the acidic and cyanide electrolytes, applied current density, and applied current waveform. The microstructure and the surface morphology of the specimens are examined using x-ray diffractometry and scanning electron microscopy. The corrosion behavior of the specimens are investigated by electrochemical impedance spectroscopy, potentiodynamic polarization using 5 wt.% sodium chloride, and ASTM B117 salt spray testing. The results show that the additions of carrier and brightener additives in the acidic and alkaline electrolytes result in the change in crystallographic orientation from (002) to (100), (101) and (110) of the zinc coatings, and help with the refinement and uniformity of their microstructure. In general, the alkaline-based zinc coatings exhibit lower corrosion resistance than other groups. Furthermore, when a low current density of 1 A/dm2 is employed, the corrosion resistance is relatively low compared with 2 A/dm2 and 4 A/dm2. For the applied current wave form, the square-wave current pulsation produces zinc coatings with lower corrosion resistance than when direct current and sine wave current are applied. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61906 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Metal - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanokwan S_Res_2558.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.