Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6199
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรพินท์ พานทอง | - |
dc.contributor.author | จิตรสิต อัศวจินดา | - |
dc.contributor.author | สุนทรี รัชโน | - |
dc.contributor.author | ภูวไนย ทรรทรานนท์ | - |
dc.contributor.author | ลลนา สูตรตรีนาถ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม | - |
dc.date.accessioned | 2008-03-07T09:21:26Z | - |
dc.date.available | 2008-03-07T09:21:26Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6199 | - |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลความเป็นไทยที่เป็น “รูปธรรม” และ “นามธรรม” เพื่อใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการออกแบบแก่นักออกแบบเครื่องประดับ ทำให้เครื่องประดับมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแข่งขันในตลาดสากลได้ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับให้มั่นคงและยั่งยืน การศึกษานี้เน้นความเป็นไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และเลือกศึกษาเฉพาะข้อมูลในภาคกลางของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นโครงการนำร่อง และเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาความเป็นไทยในภาคอื่นๆ ของประเทศไทยในอนาคต วิธีการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร ครอบคลุมข้อมูลด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ศิลปะและหัตถกรรม และข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องประดับของประเทศไทย ส่วนที่ 2 เป็นการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับกลุ่มประชากรไทยที่คัดเลือกจากคุณสมบัติที่เหมาะสม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ และการออกแบบสาขาต่างๆ การสำรวจรูปแบบเครื่องประดับที่ประชากรไทยในภาคกลางของประเทศไทยใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนที่ 3 เป็นการจัดสัมมนาปฏิบัติการออกแบบเครื่องประดับ เพื่อทดลองใช้จากข้อมูลจากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ออกแบบเครื่องประดับโดยนักออกแบบอาชีพจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ และนักออกแบบจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบด้านการออกแบบ ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลความเป็นไทย จากเอกสารและการสำรวจภาคสนาม มีความสอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความหมายของความเป็นไทยที่เป็น “นามธรรม” ได้แก่ เอกลักษณ์ไทย ความอิสระ ความเรียบร้อย ความสุภาพ ความเคารพนบนอบ ความเคารพระบบอาวุโส เป็นต้นและความหมายที่เป็น “นามธรรม” เป็นที่มาของความเป็นไทยที่เป็น “รูปธรรม” เป็นรูปวัตถุที่แสดงออกในศิลปกรรมสาขาต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม หรือสิ่งของเครื่องใช้ผลงานหัตถกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องจักสาน สิ่งทอ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น อีกทั้งพบว่าผลงานที่ออกเป็นรูปวัตถุได้นั้น เป็นความสามารถของช่าง หรือ ศิลปิน หรือนักออกแบบที่พยายามคลี่คลาย ตีความ จินตนาการจากความเป็น “นามธรรม” เพื่อสร้างสรรค์ให้เป็น “รูปธรรม” ได้สอดคล้องกับความเชื่อ ศรัทธาของสังคมนั้น ทำให้ได้วัตถุที่สนองความจำเป็นในการดำรงชีวิตและเกิดความสุขทางใจ ซึ่งอาจสรุปลักษณะความเป็นไทย 6 ลักษณะที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบได้ ได้แก่ 1. การใช้สมดุลย์ แบบสมมาตร และการใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งสื่อถึงความเชื่อเรื่องการละกิเลสในคำสอนของพุทธศาสนา เรื่องความเบา ความลอย ความนิ่งและความสงบ 2.การจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ สื่อถึงความเคารพในระบบอาวุโส 3.การใช้ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมกับมนุษย์ เน้นความสง่างาม ไม่เน้นขนาดที่ใหญ่โต สื่อถึงความเรียบง่าย อิสระ 4.ความเป็นระเบียบ ประณีต และวิจิตร ความเป็นศิลปะประดับหรือศิลปะตกแต่ง ให้ความสำคัญกับฝีมือของช่าง ระดับความประณีตขึ้นอยู่กับความศรัทธาของช่าง และหน้าที่ใช้สอยของผลงานนั้น 5.การใช้สีหลายสีด้วยกัน โดยเฉพาะสีตรงข้าม สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตไทยที่มีผลต่อความสามารถในการใช้สีของช่าง ซึ่งคนไทยอยู่กับธรรมชาติซึ่งมีสีสรรมากมายเพราะอยู่ในเขตร้อน 6.ความเป็นประเพณีนิยม ยึดมั่นในประเพณีนิยม รูปลักษณ์ และลวดลายที่เป็นประเพณีนิยม ไม่นิยมเปลี่ยนแปลง การนำเอารูปลักษณ์และลวดลายที่เป็นประเพณีมาใช้ จึงแสดงความเป็นไทยได้ชัดเจนที่สุด การวิจัยนี้ได้ดำเนินการสำเร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ได้ข้อมูลความเป็นไทยที่เป็น “รูปธรรม” และ”นามธรรม” สำหรับใช้ในการออกแบบ ได้รูปแบบเครื่องประดับจำนวน 215 แบบ จากการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดปฏิบัติการออกแบบ ได้ตัวอย่างรูปแบบเครื่องประดับไทย ทั้งที่เป็นลักษณะไทยประเพณีและลักษณะสากล ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดหมวดหมู่แสดงให้เห็นแนวคิดในการออกแบบอย่างชัดเจน ข้อมูลต่างๆจากการวิจัยนี้ ยังอาจนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ที่ต้องการสร้างความเป็นไทย รวมถึงการนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ “ความเป็นไทย” เพื่อเผยแพร่ปลุกกระแสความนิยม ความสนใจ ความเข้าใจ แก่ประชากรไทยและนานาชาติได้ด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this project was to reveal both “realistic” and “abstract” Thai characteristics in order to utilize beneficial and appropriate sources for jewelry designers. It should create jewelry with specific identity and could complete with the others in international market. It was also increasing a capability of permanent and long-lasting development for jewelry industries in Thailand. This study concentrate on Rattanakosin period, especially in central part of Thailand. It was a pilot project, that should become an example for further studies in other parts of Thailand in the future. The research procedure : Part 1 : Documentary data collection based on humanities, sociology, Thai art and crafts and Thai jewelry. Part 2 : Field survey data collection, including a questionnaires designed for select groups of Thailand citizens, interviewing professional artist and designers, surveying jewelry using in daily life of Thai citizens in central part of Thailand. Part 3 : Design workshop was arranged for jewelry designers from industries and government sectors for 2 days to design jewelry with Thai characteries by using informations form part 1 and 2. It was found that the documentary data and field survey were supported each others. The abstract. Thai characteristics were expressed in form of Thai identities, freedom, simplicity, politeness, respectability, seniority etc. These characters were transferred to be realistic in form od Art objects, such as Architecture, Painting, Sculpture or objects for daily life ; Basketing, Textile, Ceramics and etc. It was found that those objects were created by craftmen or artists or designers who tried to simplified, imagined the abstract Thai characteristics into realistic objects under the society believed. These objects also supported need and happiness for living in society. There were 6 special Thai characteristics which could be applied to the design : 1. Symmetrical balance and small space refered to the belief in liberation from defilement of Buddhism ; the lightners, floating, stillness and serenity. 2.The composition of elements based upon morality, social status which was emphasized on seniority. 3. Size and proportion should be appropriated for human being. The main concept emphasized on elegance instead of size which is refered to simplicity and freedom. 4.Uniformity, neatness, skill, delicacy and decorative arts were the qualification of Thai arts and crafts. The degree of neatness and skill was beyond faith and function of works. 5. Using multi-colors especially contrast colors refered to the way of life of Thais who lieved with nature in tropical climate. 6. Traditionalism refered to the loyalty of tradition. Changing traditional motifs or patterns were forbidden. Using traditional motifs or patterns were strongly show Thai characteristics. The research was completed upon it’s objective ; there were data of both “realistic” and “abstract” Thai characteristics for jewelry design. There were 215 pieces of jewelry that were designed by using research data from the design workshop. There were sample of thai jewelry using in daily life both traditional Thai and international forms which are grouped under their design inspirations. The results from this research was not only able to apply for designing other products that need Thai characteristics but also was able to use as informations for promoting Thai characteristics in order to advertise and to stimulate an appreciation, interesting and understanding Thai characteristics to Thai citizens and international as well. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย | en |
dc.format.extent | 55883655 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การออกแบบเครื่องประดับ | en |
dc.subject | เครื่องประดับ | en |
dc.title | การศึกษาความเป็นไทยเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | A study of Thai characteristics as an application for jewelry design | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Aurapin.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Arch - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aurapin(thai).pdf | 54.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.