Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62057
Title: | ผลกระทบของค่านิยมและวิถีชีวิตต่อทัศนคติต่อผู้สูงอายุและปฏิสัมพันธ์ในสังคม กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Impact of value and lifestyle on attitude towards old age and social interaction : a case study of Bangkok metropolitan |
Authors: | สมเกียรติ เอี่ยมกาญจนาลัย ณัฐพล อัสสะรัตน์ สุวาณี สุรเสียงสังข์ |
Email: | Somkiat.E@Chula.ac.th Nuttapol.A@Chula.ac.th suwanee@cbs.chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Subjects: | ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุ -- ทัศนคติ ผู้สูงอายุ -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกประชากรกรุงเทพมหานครอายุระหว่าง 18-59 ปี ตามปัจจัยวิถีชีวิตและค่านิยม และศึกษาทัศนคติและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้าตาม เพศ และกลุ่มอายุ ขนาด 1,020 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีคำถามเกี่ยวกับวิถีชีวิต ค่านิยม คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ และการมีปฏิสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยด้านวิถีชีวิต ค่านิยม และทัศนคติต่อผู้สูงอายุ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis) สามารถกำหนดโครงสร้างของปัจจัยด้านวิถีชีวิตได้ 7 ปัจจัย ปัจจัยด้านค่านิยมได้ 5 ปัจจัย และปัจจัยด้านทัศนคติต่อผู้สูงอายุได้ 7 ปัจจัย เมื่อนำปัจจัยด้านวิถีชีวิตและค่านิยมรวมกับลักษณะประชากรศาสตร์ในการจำแนกกลุ่มด้วยการวิเคราะห์กลุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-step Cluster Analysis) พบว่า จำแนกกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 7 กลุ่มหลัก และ 16 กลุ่มย่อย การวิเคราะห์ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มจำแนก 6 กลุ่ม มีทัศนคติบวกต่อผู้สูงอายุ และ 5 กลุ่มจำแนกมีทัศนคติลบ ส่วนการมีปฏิสัมพันธ์ พบว่า 9 กลุ่มจำแนกมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุในระดับสูง นโยบายเพื่อการส่งเสริมทัศนคติและการมีปฏิสัมพันธ์ควรมุ่งเน้นกลุ่มจำแนกที่มีปฏิสัมพันธ์สูงแต่มีทัศนคติลบก่อน รองลงมา เป็นกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์ต่ำแต่มีทัศนคติบวก และกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์ต่ำและทัศนคติลบหรือเป็นกลาง ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการเสนอการส่งเสริมทัศนคติและกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกลุ่มจำแนก |
Other Abstract: | The objective of this research is to classified Bangkok population, aged 18 – 59, by using lifestyle and value factors and to study attitude towards old age and social interaction. Quota sampling according to gender and age of 1,020 respondents were employed. Data collection was conducted using a questionnaire with lifestyle, value, demographics, attitude towards old age, and social interaction. Lifestyle, value, and attitude towards old age structure was analyzed using the Principle Component Analysis, and resulted in seven lifestyle factors, three value factors, and seven attitude towards old age factors. Lifestyle and value factors coupled with demographic data, two-step cluster analysis was employed. Seven main clusters and 16 sub-groups were resulted. Analysis of attitude towards old age shows that six sub-groups have positive attitude and five sub-groups have negative attitude. Analysis of social interaction indicates that nine sub-groups have high level of social interaction. Policies for attitude and social interaction enhancements should emphasize the sub-groups with high level of social interaction but negative attitude, the sub-groups with low level of social interaction but positive attitude and the sub-groups with low level of social interaction and negative or neutral attitude respectively. In addition, attitude development and appropriate activities for each sub-groups are suggested. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62057 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Acctn - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somkiat E_Res_2557.pdf | 9.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.