Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63170
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นราพงษ์ จรัสศรี | - |
dc.contributor.author | วิทวัส กรมณีโรจน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T02:49:57Z | - |
dc.date.available | 2019-09-14T02:49:57Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63170 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ” มีรูปแบบในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ โดยศึกษาปรากฏการณ์ของข้อถกเถียงเรื่องเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในปัจจุบัน ศิลปะแบบสมัยใหม่และแบบหลังสมัยใหม่ที่ส่งผลต่องานนาฏยศิลป์ เพื่อเป็นพื้นฐานประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศอื่น ๆ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำเสนอผลงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์เป็นการนำเสนอเรื่องราวของข้อถกเถียงเรื่องเพศมาสร้างสรรค์เป็นงานนาฏยศิลป์เพื่อสังคมลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดงข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการสร้างสรรค์ผลงงานทางด้านนาฏยศิลป์ทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ภายใต้ลักษณะของข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา แบ่งออกได้ทั้งหมด 4 องก์ ได้แก่ องก์ 1 เพศกำหนด (Sex Determination) องก์ 2 จิตวิญญาณ (Soul) องก์ 3 พื้นที่การแสดงออก (Space) และองก์ 4 การเคลื่อนไหวของเพศวิถี (Sexuality Movement) 2) นักแสดง มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ รวมถึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ 3) ลีลานาฏยศิลป์ นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ โดยการนำแนวคิดของมาธ่า เกร์แฮม (Matha Graham) ดอริส ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) และพีน่า เบาซ์ (Pina Bausch) ในการเคลื่อนไหวการด้นสด การใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน และการแสดงอารมณ์ทางการเคลื่อนไหว 4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้รับการสร้างสรรค์และประพันธ์เพลงขึ้นใหม่ สามารถสื่อความหมายและสื่อสารอารมณ์ 5) เครื่องแต่งกาย ใช้การออกแบบจาก 3 แนวคิด คือ หลักศิลปะมินิมอลลิสม์ (Minimalism) หลักทฤษฎีน้อยดีกว่ามาก (Less is more) และแนวคิดแบบอาวองการ์ด (Avant-garde) 6) พื้นที่การแสดง นำเสนอการแสดงบนพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ลักษณะโรงละคร โดยจัดแสดงบริเวณพื้นที่แบบเปิด และมีมุมมองรอบด้านลักษณะวงกลม 7) แสง ใช้แนวคิดทฤษฎีของสีในการนำเสนอเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึก 8) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้แนวคิดสัญลักษณ์ เน้นความเรียบง่าย และสื่อสารได้ง่าย อีกทั้งมีแนวคิดหลังการสร้างสรรค์ผลงาน 7 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิดเรื่องเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ 2) แนวคิดข้อถกเถียงเรื่องเพศในปัจจุบัน 3) แนวคิดความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ 4) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) แนวคิดทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ 6) แนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 7) แนวคิดการสะท้อนสภาพสังคมผ่านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสังคม ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ รวมถึงการผนวกและบูรณาการศาสตร์แขนงอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับข้อเถียงเรื่องเพศ เพื่อนำมาเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านาฏยศิลป์ อีกทั้งยังประประโยชน์เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต | - |
dc.description.abstractalternative | The research "The Creation of a Dance from Gender Controversy" is a research conducted through qualitative and creative research method aimed to study the form of the creation of a dance from gender controversy and to study the concept after the creation of a dance from gender controversy. This study has explored the situation of sexuality and human equality rights, the controversy of sexuality and human equality rights, current creation of a dance, modern dance and postmodern dance that has an effect on dancing. The result of this study has provided the information to use as the knowledge basis for the creation of the dance. The data is collected from documents, interviews, media. Then analyzed, synthesized, summarized and presented in the creation of a dance. The study has found that the creative process of dance which is an interpretation of gender controversy is one of a form of dancing for society. Representing the gender controversy in sexuality and human equality rights according to the viewpoint of science, anthropology, and sociology. The creation of the dance from this research can be classifieds into 8 forms of performance which is 1. The play; creating from scratch in the form of the gender controversy in sexuality and human equality rights according to science, anthropology, and sociology. There are 4 acts including (1.1) Act 1: 'Sex determination' (1.2) Act 2: 'Soul' (1.3) Act 3: 'Space' and (1.4) Act 4: 'Sexuality Movement' 2. The performers; knowledgeable, understandable and talented in dancing. Experienced in sexuality and human equality rights. 3.The movement presenting in the form of postmodern dance using the concept of Matha Graham, Doris Humphrey, Paul Taylor and Pina Bausch in movement of improvisation, everyday movement, and emotion. 4. The sound and music for the performance; creating and composing to interpret the meaning and emotion 5. The costumes; design using 3 concepts which is Minimalism, Less is more and Avant-Garde 6. The space; using the space other than the theatre. Perform in an opening space and has arena theatre. 7. The lighting; using color theory to tell a story emotion and feeling. 8. The performing equipment; using simple concept and easy to communicate. Furthermore, there are 6 concepts after the creation of the dance 1. Sexuality and human equality rights 2. Gender controversy in current affairs 3. Creativity in the creation of a dance 4. Symbolism in dance performance 5.Theory of dance, musical and visual arts 6. The concept of postmodern dance 7. Reflection on the state of society through the dance for the society. The results of this study are related to all the purpose of this study. This study is the collection of data and knowledge to develop a creation of dance including the integration of various science on the gender controversy. In addition, it can be used for the concept and inspiration to create the dance and for the concept of the further study of dance. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1364 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | - |
dc.title | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ | - |
dc.title.alternative | The creation of a dance from gender controversy | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1364 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5986835135.pdf | 12.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.