Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63173
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภัทระ คมขำ | - |
dc.contributor.author | สรายุทธ์ โชติรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T02:49:59Z | - |
dc.date.available | 2019-09-14T02:49:59Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63173 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความเชื่อ เชื้อชาติ ภาษา รูปแบบสถาปัตยกรรม ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และสร้างองค์ความรู้ด้านการประพันธ์เพลงแนวใหม่ และการสร้างเครื่องดนตรี โดยถ่ายทอดผลงานในรูปแบบดนตรีพรรณนาทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ พุทธเจดีย์ทวารวดี 7 องค์เป็นสิ่งปลูกสร้างแสดงถึงความรุ่งเรืองเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่ปรากฏมาในเมืองนครปฐมสมัยทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-16 จนถึงปัจจุบันที่สมบูรณ์จำนวน 2 องค์คือ พระปฐมเจดีย์ พระประโทน-เจดีย์ และร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกจำนวน 5 องค์คือ จุลประโทนเจดีย์ พระเนินเจดีย์ สังฆรัตนธาตุเจดีย์ พระงามเจดีย์ และพระเมรุเจดีย์ การสร้างสรรค์ผลงานนี้เป็นการประพันธ์เพลงในรูปแบบของเพลงชุด ประกอบด้วยเพลงหลัก 8 เพลงคือ 1) เพลงพุทธเจดีย์บูชา 2) เพลงพระปฐมเจดีย์ 3) เพลงพระประโทนเจดีย์ 4) เพลงพระเนินเจดีย์ 5) เพลงสังฆรัตนเจดีย์ 6) เพลงจุลประโทนเจดีย์ 7) เพลงพระงามเจดีย์ 8) เพลงพระเมรุเจดีย์ และทำนองเชื่อมเจดีย์สำหรับบรรเลงเชื่อมเพลงหลัก 1 ทำนอง โดยรูปแบบวงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประสมวงขึ้นใหม่ประดิษฐ์เพิ่มขึ้นใหม่ 2 ชิ้นคือ ระฆังหินและระนาดหิน เพื่อใช้สำหรับบรรเลงเพลงชุดโดยเฉพาะประกอบด้วย ระนาดตัดขนาดใหญ่ ระนาดตัดขนาดเล็ก จะเข้ ปี่มอญ ขลุ่ยเพียงออ ระฆังหิน ระนาดหิน ปรับเปลี่ยนให้ความสอดคล้องกับลีลาทำนองของพุทธเจดีย์แต่ละองค์ กำหนดทำนองในอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว จังหวะฉิ่ง 3 รูปแบบ และหน้าทับ 12 รูปแบบ แสดงความเป็นอัตลักษณ์สำเนียงของบทเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ | - |
dc.description.abstractalternative | This dissertation involving the musical creation of the Buddhist pagodas of the Dhavaravati kingdom in Nakhonpathom, conducted by using the qualitative research method aims to 1) compose the pieces which inspired from the religious belief, race, language, architecture, history background. 2) To create the knowledge of a new style of traditional music composition, and 3) to create new a traditional musical instrument. The pieces would be presented in the form of program music. The seven of Buddhist pagodas in Nakhonpathom province referred that there was a golden age of Buddhism in Nakhonpathom province since the Dhavaravati kingdom era between the 11th-the 16th Buddhist century. to the present and the two complete pagodas of those are Phra Pathom Chedi and Phra Prathon Chedi. Other five remains of pagodas shown the historical evidence are Chulla Prathon Chedi, Phra Noen Chedi, Sangha Ratanadhatu Chedi, Phra Ngam Chedi and Phra Meru Chedi. The composition are the suite songs consists of 1) Phleng BhudhaJadiBucha, 2) Phleng Phra Pathom Chedi 3) Phleng Phra Prathon Chedi 4) Phleng Phra Noen Chedi, 5) Pleng Sangha Ratanadhatu Chedi, 6) Phleng Chulla Prathon Chedi, 7) Phleng Phra Ngam Chedi, and 8) Pleng Phra Meru Chedi, the suite songs were played with the melody of each song connection. The musical ensemble was recreated by using the two new musical instruments: Rakang Hin (Stone Bell) and Ranat Hin (Stone Xylophone), for using with the specific ensemble consists of Ranat Tud Lek, Ranat Tud Yai, Jakay, Pi-Mon, and Klui Piang-Or. The pieces represent the each pagodas and the ensemble were adjust to the each style. The pieces shown different identity and dialect, which played in the 2nd variation, 1st variation with three forms of Ching rhythmic pattern, twelve forms of drum rhythmic pattern. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1368 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | - |
dc.title | การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม | - |
dc.title.alternative | The musical creation of the buddhist pagodas of Dhavaravati kingdom in Nakhonpathom | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1368 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5986840235.pdf | 11.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.