Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63223
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorชยพล เพียรชอบธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:56:33Z-
dc.date.available2019-09-14T02:56:33Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63223-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกันความร้อนและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผนังกระจกสองชั้นระบายอากาศโดยวิธีกล ทำการทดลองโดยการจำลองกล่องทดลองที่มีความสูงหนึ่งชั้นของอาคาร ภายใต้สภาพภูมิอากาศจริงของกรุงเทพ โดยวัดอุณหภูมิ ณ จุดระบายอากาศเข้าและออก อุณหภูมิผิวกระจกภายนอก – ภายใน และเปรียบเทียบ 3 ตัวแปร ได้แก่ (1) ผนังกระจกชั้นเดียว (Single-Skin Façade, SSF) และผนังกระจกสองชั้น (Double Skin-Façade, DSF); (2) ในช่องอากาศแบบมีและไม่มีม่าน; (3) ปรับอัตราการระบายอากาศในช่องอากาศที่ 350, 700 และ 1050 ACH ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเทียบกับผนังกระจกชั้นเดียว อัตราการระบายอากาศที่ 1050 ACH และมีม่าน (D6) สามารถลดปริมาณความร้อนภายในกล่องทดลองได้สูงสุดที่ 4.44 °C รองลงมาที่อัตราการระบายอากาศ 1050 ACH และไม่มีม่าน (D3) สามารถลดได้ 4.1 °C อย่างไรก็ตามเมื่อคำนวณค่า U-Value และหาประสิทธิภาพการกันความร้อนแล้ว การมีม่านและมีอัตราการระบายอากาศที่ 1050 (D6), 700 (D5) และ 350 (D4) ACH ค่า U-Value ลดต่ำถึง 1.25, 2.30, 2.56 W/m²·°C ตามลำดับ นั่นหมายความว่าม่านช่วยดักรังสีอาทิตย์ และแปลงเป็นความร้อนให้อากาศพาออกไปจาก Cavity ส่วนการไม่มีม่านและมีอัตราการระบายอากาศที่ 1050 (D3), 700 (D2) และ 350 (D1) ACH มีค่า U-Value ที่ 5.56, 5.61, 6.77 W/m²·°C ตามลำดับ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าค่า U-Value ของการมีม่านนั้นต่ำกว่า และเมื่อนำผลการคำนวณไปจำลองอาคารต้นแบบแล้วพบว่าผนังกระจกสองชั้นแบบ D6 สามารถลดภาระทำความเย็นได้มากที่สุดถึงร้อยละ 34 และมีจุดคุ้มทุนอยู่ในปีที่ 3 และ D1 จุดคุ้มทุนอยู่ในปีที่ 11 จากการศึกษาวิจัยทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่าตัวแปรสำคัญที่ทำให้ระบบผนังกระจกสองชั้นมีประสิทธิภาพในการกันความร้อนคือ การมีม่าน และจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อทำงานร่วมกับอัตราการระบายอากาศที่สูงขึ้น และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study heat protection performance and economic feasibility of air flow window, carried out by modeling test box under the climate in Bangkok which resemble to the height of a room in an office building. The test box takes the temperature of outside surface, inside the room and the ventilators. The researcher studies 3 variables, which are (1) air flow window types (Single-Skin Facade and Double-Skin Facade); (2) the cavity with a curtain and without; (3) ventilation rate at 350, 700 and 1050 ACH. From the study, it was indicated that when compared with single skin façade, airflow of 1050 ACH with curtain had the most effectiveness. This can decrease test box’s indoor temperature by 4.4 °C whereas, at 400 ACH without curtain it can decrease by 4.1°C. After calculating the U-Value and finding heat resistant performance, it was indicated that ventilation rates of 1050 (D6), 700 (D5), 350 (D4) ACH with curtain, the U-Values drop to 1.38, 2.31, 2.70 W/m²·°C respectively, that means curtain could help blocking the solar radiation and transform it into heat, then the air will take the heat out of the cavity. Without curtain, the U-Values are 5.83, 5.60, 6.83 W/m²·°C orderly, which clearly show that the DSF with curtain has lower U-Values. The simulation was created by using model the outcome of U-Value calculation and presented that D6 is the most effective in cooling energy reduction which could decrease at 34% and has a payback period of 3 years, but D1 has 11 years. This study conclude that the existence of  curtain in the cavity of Double-Skin façade contributes the most to the energy performance and with higher ventilation rates, the system can be effective and economically feasible.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1169-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEnergy-
dc.titleประสิทธิภาพในการกันความร้อนของระบบผนังกระจกสองชั้นระบายอากาศด้วยวิธีกลพร้อมติดตั้งม่าน ในภูมิอากาศร้อนชื้น -
dc.title.alternativeEnergy efficiency of active airflow windows equipped with curtain in hot-humid climate-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1169-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973340625.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.