Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.advisorพัศพันธน์ ชาญวสุนันท์-
dc.contributor.authorธัญญ์นารี ชัยชาญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:56:39Z-
dc.date.available2019-09-14T02:56:39Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63234-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractบริษัท แอล.พี.เอ็น. ให้ความสำคัญต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการจากกลยุทธชุมชนน่าอยู่ เพื่อคนทุกวัยอาศัยร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนหนุ่มสาวในวัยทำงาน หรือคนเจเนอเรชั่นวาย (GenY) ในปัจจุบัน ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2524 - 2543 งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบของพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการ และ ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวาย โครงการกรณีศึกษา 5 SUB BRAND  ด้วยการสังเกต, ถ่ายภาพ, การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และแจกแบบสอบถามผู้อาศัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ                 ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการมีองค์ประกอบ 9 ประเภท โดยใช้พื้นที่ระหว่างร้อยละ 5-8 ของพื้นที่โครงการ แยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (1)พื้นที่ที่ใช้ทำกิจกรรมอเนกประสงค์ เช่น ทำบุญตักบาตร, งานเทศกาลประจำปี เป็นต้น (2)พื้นที่สำหรับใช้ทำกิจกรรมเฉพาะ เช่น ว่ายน้ำ, อ่านหนังสือ, ออกกำลังกาย เป็นต้น โดยมีตำแหน่งการวาง 2 จุดคือ (1)อยู่ชั้น 1 ของโครงการ โดยประเภทพื้นที่ที่วางไว้ที่ชั้น 1 เหมือนกันทุกโครงการคือ สวน/ลานกิจกรรม และ สนามเด็ก และ (2)วางไว้ชั้นอื่น ๆ ในตัวอาคาร โดยประเภทพื้นที่ที่วางไว้ที่ชั้นอื่น ๆ เหมือนกันทุกโครงการคือ ฟิตเนส  และแต่ละโครงการมีความแตกต่างกันในด้านความครบครัน, ตำแหน่งการจัดวาง, ขนาดพื้นที่ และแนวความคิดในการออกแบบ                 ด้านผู้อาศัยเจเนอเรชั่นวายพบว่า มีบุคลิกเด่นชัด 4 ลักษณะ คือ (1)ชอบพบปะพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนชอบทีมเวิร์ค ในกรณีศึกษา 1, (2)ชอบการมีส่วนร่วม ในกรณีศึกษา 2, (3)มีความสมดุลในการทำงานและใช้ชีวิต ในกรณีศึกษา 3 และ 5, (4)รักอิสระ ในกรณีศึกษา 4 ผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายมีความพึงพอใจรวมต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในระดับมาก 4 โครงการคือ กรณีศึกษา 1, 2, 3 และ 4 โดยกรณีศึกษา 5 อยู่ในระดับปานกลาง  ด้านความพึงพอใจตามประเภทพื้นที่พบว่า พื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ (1)สระว่ายน้ำ ในกรณีศึกษา 2 และ3, (2)ฟิตเนสในกรณีศึกษา 1 และ 5, (3)สวน/ลานกิจกรรม ในกรณีศึกษา 2 และมีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด 2 พื้นที่ ได้แก่ (1)ลานออกกำลังกายกลางแจ้ง ในกรณีศึกษา 1, 3 และ 5, (2)สนามบาสเก็ตบอล ในกรณีศึกษา 2 และ 3                 โครงการที่มีระดับความพึงพอใจรวมของพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการมากที่สุดคือ กรณีศึกษา 3 และโครงการที่มีระดับความพึงพอใจรวมน้อยที่สุดคือ กรณีศึกษา 5 เนื่องจากมีการกระจายของพื้นที่นันทนาการเป็นหย่อม ๆ ซึ่งมีสามปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการ คือ ปัจจัยด้านอายุ, รายได้ และบุคลิก โดย พื้นที่ที่มีความสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์มาก จะมีความถี่ในการใช้งานและระดับความพึงพอใจที่มากเช่นเดียวกัน                  ดังนั้นการรวมพื้นที่นันทนาการเข้าด้วยกันเป็นขนาดใหญ่ไม่เพียงแต่ใช้ประโยชน์ได้มากแล้ว ยังทำให้เกิดความสอดคล้องระหว่างพื้นที่กับไลฟ์สไตล์ของคนเจเนอเรชั่นวายในการใช้งานด้วย และยังสามารถรองรับกิจกรรมตามกลยุทธชุมชนน่าอยู่ได้หลากหลาย เพราะมีพื้นที่ขนาดเพียงพอ ไม่แออัด รองรับผู้ใช้งานในเวลาพร้อมกันได้-
dc.description.abstractalternativeLPN has placed prime importance on common areas for recreation beneath vibrant community strategy, focuses on residents enjoy real pleasure of living. The target group is working age youth, at present is generation Y (GenY) born between the years of 1981 and 2000, the objectives of this research was to study of physical characteristics and elements of common areas for recreation and attitudes and satisfaction of Generation Y residents in 5 Subbrand of LPN case studies, carrying out observations, taking photos, interviewing those involved and questionnaires were then randomly distributed residents, for data analyze of statistics. The findings indicated that there are nine types of elements and two category of common areas for recreation which occupy 5-8% of the total condominium space. The first category is multipurpose activity areas such as merit-making and giving alms, holding annual events, and for other similar purposes. The second category is specific purposes activity areas such as swimming, reading, working out etc. These areas are usually found in two locations: (1) The first floor of the projects, which include areas for gardens/activity courts and playgrounds, and (2) other floors of the buildings, which include areas for fitness rooms. Each project also differs in its amount and placement of recreation areas, size of area, and Conceptual Design.                 Additionally, this present study found that Generation Y residents possess four notable character: (1) an outgoing personality with a high level of interaction with friends and a preference for teamwork, as seen in case study 1, (2) a participatory personality, as shown in case study 2, (3) a work-life balanced personality, as in case studies 3 and 5, and (4) an independent personality, as in case study 4. Overall, Generation Y residents were very satisfied with the common areas for recreation in the four projects as shown in case studies 1, 2, 3, and 4. For case study 5, the residents were satisfied with the common areas for recreation at a moderate level. With regard to their satisfaction with the types of area, it was found that Generation Y residents were most satisfied with (1) swimming pools, as in case studies 2 and 3, (2) fitness rooms, as seen in case studies 1 and 5, and (3) gardens/activity courts, as in case study 2.  They were least satisfied with the two following areas: outdoor workout areas, as in case studies 1, 3, and 5, and basketball courts, as in case studies 2 and 3.                                   The condominium project with which Generation Y residents had the most overall satisfaction regarding the common areas for recreation was case study 3 and least overall satisfaction was with case study 5, due to its common areas for recreation being spread out in different parts of the project. There were three main factors affecting attitudes and satisfaction of Generation Y residents regarding common areas for recreation: age, income, and characters. It was found that the more closely the areas corresponded to the lifestyle of Generation Y residents, the more frequently they used the areas and the more satisfied with them they were.                   Furthermore, it was determined that small common areas for recreation should be combined into larger ones. This is not only more functional but also corresponds with the lifestyle of Generation Y residents in terms of the use of the areas for a variety of activities and can be organized according to the vibrant community strategy, since these areas are adequately-sized and can accommodate a larger number of users at a time. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.664-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอาคารชุด-
dc.subjectการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์-
dc.subjectการพัฒนาที่อยู่อาศัย-
dc.subjectสถานพักผ่อนหย่อนใจ-
dc.subjectCondominiums-
dc.subjectReal estate development-
dc.subjectHousing development-
dc.subjectRecreation areas-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในอาคารชุด กรณีศึกษา บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) -
dc.title.alternativeAttitudes and satisfaction of Generation Y residents towards common area for recreation in the condominium : a case study of L.P.N. development public company limited-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.664-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073322825.pdf9.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.