Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเปี่ยมสุข สนิท-
dc.contributor.authorโพเงิน แหวนวงทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:56:41Z-
dc.date.available2019-09-14T02:56:41Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63237-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษารูปแบบการเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้ที่ใช้รถบัสในย่านเมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อสำรวจรูปแบบการเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้ใช้บริการรถบัสในย่านเมืองเก่าในนครหลวงเวียงจันทน์ 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อรูปแบบการเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้ใช้รถบัส และ 3. เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ รูปแบบของงานวิจัยนี้ มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ที่ใช้บริการรถโดยสารสาธาณณะ จำนวน 140 ตัวอย่าง โดยสามารถจำแนกผู้ใช้บริการออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ คนลาว และคนต่างชาติ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ จากผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้รถบัสส่วนใหญ่เดินเท้าเข้าสู่จุดหมายปลายทางในย่านเมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเดินเท้ามากกว่าคนลาว หลังจากรสบัสเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2017 คนลาวส่วนใหญ่ยังคงใช้รถยนต์เป็นหลักในการเดินทางเพื่อไปทำงาน การเดินทางด้วยรถบัสเป็นการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวและการซื้อสินค้าของผู้หญิงคนต่างชาติ ป้ายรถเมล์ที่มีคนเดินเยอะจึงมักเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ รวมถึงเป็นย่านพาณิชยกรรมการค้า ตลาด และโรงแรม เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเดินเท้า พบว่า คุณลักษณะของผู้เดินทาง ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ เชื้อชาติ และลักษณะทางกายภาพบริเวณป้ายรถบัส ได้แก่ ป้ายและเครื่องหมายบอกทิศทางในเวลาเดิน ที่นั่งหรือผ่อนคลายในเวลาหยุดพัก ห้องน้ำ ความต่อเนื่องของกิจกรรม และความสะอาดของทางเท้ามีผลต่อการเดินเท้าเข้าสู่จุดหมายปลายทางอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะที่สำคัญในการออกแบบเมืองเพื่อส่งเสริมการเดินทางแบบไม้ใช้เครื่องยนต์ อาทิ การออกแบบป้ายสัญลักษณ์ที่อำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการออกแบบภูมิทัศน์ให้ทางเท้ามีต้นไม้ร่มรื่นน่าเดิน มีห้องน้ำ จุดนั่งพักระหว่างทางและมีกิจกรรมสองข้างทาง จะช่วยส่งเสริมการเดินเท้านำไปสู่การพัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืนต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis research is a study about Last Mile Connectivity (LMC) of bus users in historical district in Vientiane, Lao People’s Democratic Republic (Laos). The purpose of this research is (1) to survey the mode of trips for last mile connectivity of bus users in historical district in Vientiane (2) to analyze the aspects that relates to the mode of trips made for last mile connectivity of bus users and (3) make suggestions to influence the approach for using non-motorized transport into the travel mode. This research collected the data through questionnaire surveys from 140 passengers who used public bus. The users are divided into 2 types which are local passengers and foreigners and the data were analyzed with Descriptive Statistics and Square Statistics. The results of this research revealed that the last mile  of bus users in the historical area of Vientiane Capital City is walking. Since the operation of public bus in 2017, most Lao people still prefer driving for their work trip. Traveling by bus are commonly used by tourist and for the purpose to go shopping for local female passengers. The bus stop with a lot of pedestrians is therefore likely to become the crucial tourist spot and tend to be a commercial and hotel area. When analyzing on the aspects that are related to walking as the mode of trip, it was found that the characteristics of pedestrians such as gender, age, income, nationality and the physical features of the atmosphere around the bus stop such as the sign and symbols to point out directions for pedestrians, the seat bench, public restrooms, the continuous of activities and the cleanliness of walking streets have a significant effect on making decisions to walk as the mode of travel to the last mile connectivity. This research leads to a suggestion to take the concept approach that focuses on influencing non-motorized transport when designing cities, for instance, designing the signs and symbols that for tourists’ travel convenience, designing the landscape for the walking streets to provide shades for pedestrians, the availability of public restrooms, seat benches between trips and the inclusive of activities along the journey will promote the walking preferences which can lead to becoming a livable and sustainable city. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.684-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้โดยสารรถบัสในย่านเมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว-
dc.title.alternativeLast Mile Connectivity (LMC) of bus users in historical district in Vientiane, the Lao people's democratic republic-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมือง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.684-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073330825.pdf15.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.