Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63983
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัชพล จิตติรัตน์-
dc.contributor.authorชญานิศฐ์ พิมพ์ทนต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-21T08:07:56Z-
dc.date.available2019-11-21T08:07:56Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63983-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับ การทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2561 ที่ออกตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ยังไม่มีการกำหนดการยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการในแต่ละประเภท อีกทั้ง ผู้ให้บริการในแต่ละประเภทมีลักษณะของการให้บริการที่แตกต่างกัน แต่กลับต้องใช้มาตรการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบเดียวกัน โดยมิได้คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของแต่ละบริการหรือความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหา ซึ่งผู้ให้บริการเนื้อหาควรมีความรับผิดชอบต่อเนื้อหา ในขณะที่ผู้ให้บริการทางด้านเทคนิคโดยแท้ไม่ควรมีความรับผิดใด ๆ ต่อเนื้อหา ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว อาจทำให้ผู้ให้บริการต้องแบกรับภาระมากเกินไป ทั้งในแง่งบประมาณ บุคลากร รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวกับความรับผิด ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับสื่อขนาดใหญ่ แต่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับเว็บไซต์ประเภทที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้สร้างเนื้อหา (user generated content) และเว็บไซต์ขนาดเล็ก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้ ผู้ให้บริการดังกล่าวเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง (Self-censorship) ยิ่งขึ้น มิเช่นนั้นก็ต้องใช้วิธีการอื่นใด เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย การดำเนินการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมของประเทศได้ เพราะแรงจูงใจในการประกอบการในประเทศไทยมีน้อยลง เอกัตศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษามาตรการทางกฎหมายของ Communications Decency Act (CDA), Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ของสหรัฐอเมริกา และ EU Directive on Electronic Commerce ของสหภาพยุโรป พร้อมนำมาปรับใช้กับประเทศไทยเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมายต่อนักลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.5-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสื่อสังคมออนไลน์en_US
dc.subjectผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตen_US
dc.subjectอินเทอร์เน็ต--การจัดการen_US
dc.titleความรับผิดของผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลางเกี่ยวกับการแจ้งเตือน การระงับการทำให้ข้อมูลแพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authornatchapol.j@chula.ac.th-
dc.subject.keywordข้อมูลคอมพิวเตอร์en_US
dc.subject.keywordข้อมูลข่าวสารen_US
dc.subject.keywordพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์en_US
dc.subject.keywordสื่ออินเตอร์เน็ตen_US
dc.subject.keywordการเผยแพร่ข้อมูลen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.5-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086170934.pdf713.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.