Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/640
Title: ล้านนา ซิมโฟนิกโพเอ็ม สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม
Other Titles: Lanna symphonic poem for wind symphony
Authors: กิตติ เครือมณี, 2521-
Advisors: วีรชาติ เปรมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Weerachat.P@Chula.ac.th
Subjects: เพลง
วงดุริยางค์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทประพันธ์เพลงล้านนา ซิมโฟนิกโพเอ็ม สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างบทประพันธ์เพลงบทใหม่ในแบบดนตรีพรรณนา ในการประพันธ์เพลงบทนี้ ผู้ประพันธ์ต้องการสื่อให้ได้จินตนาการถึงบรรยากาศและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมล้านนา อีกทั้งเพื่อให้ผู้ฟังได้ระลึกถึงสถานที่บุคคล และบรรยากาศที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมซึ่งแสดงถึงความมีเอกลักษณ์ของศิลปะล้านนา เช่น งานปอยหลวง แม่น้ำปิง พระเจ้ากาวิละ ประตูโขงและประตูท่าแพ เพื่อความซาบซึ้งในวัฒนธรรมและศิลปะล้านนา ลักษณะโดยรวมของบทประพันธ์ เป็นบทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม มีความยาวประมาณ 20 นาที ประกอบด้วยโครงสร้างใหญ่จำนวน 5 ท่อน บทประพันธ์ใช้ระบบโทนาลิตีเป็นส่วนใหญ่ บางส่วนใช้แบบพาราโทนัลบ้าง เพื่อความเหมาะสมของท่วงทำนองที่ใช้ในการบรรยายเรื่องราว ในทุกท่อนจะเน้นการใช้ทำนองที่นำมาจากดนตรีพื้นบ้าน แสดงออกถึงความเป็นล้านนา เพื่อบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ หรือทำให้รู้สึกถึงบรรยากาศของสิ่งที่กล่าวถึง และมีการนำทำนองดนตรีที่เป็นที่รู้จักทั่วไปหลายทำนอง มาสอดแทรกและปรับแต่งใช้ในบทประพันธ์เพลงบทนี้ องค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในบทประพันธ์เพลง ได้แก่ การเลือกใช้กลุ่มโน้ตหลายกลุ่มที่จัดให้เป็นโมทีฟสำคัญ แล้วนำไปใช้ในการดำเนินทำนองรวมกับการนำโครงสร้างและวิธีการสร้างทำนองมาจากดนตรีพื้นบ้านของล้านนา รวมไปถึงการนำทำนองมาจากดนตรีพื้นบ้านโดยตรง ขั้นคู่และคอร์ดเกิดขึ้นจากการนำโน้ตในแต่ละกลุ่มมาใช้ มีทั้งขั้นคู่ 3, 4, 5 คอร์ดเรียงคู่ 4 คอร์ดเรียงคู่ 5 คอร์ดเรียงคู่ 2 และเสียงประสานที่เป็นแบบโพลีโทนาลิตี เป็นต้น พื้นผิวของบทประพันธ์มีการใช้ทั้งโฮโมโฟนี โพลีโฟนี เฮเทโรโฟนี จักซ์ตาโพสิชั่น ประกอบกับเทคนิควิธีการประพันธ์ เช่น การซ้ำ การเลียน ซีเควนซ์ การพลิกกลับ การถอยกลับ เป็นต้น ทางด้านอัตราจังหวะมีการปรับเปลี่ยนเครื่องหมายกำหนดจังหวะหลายครั้ง มีทั้งอัตราธรรมดา อัตราผสม และอัตราซ้อน
Other Abstract: The Lanna Symphonic Poem for Wind Symphony is a piece of program music. The composer has revived some of the historical and cultural happenings of the northern part of Thailand: Poyluang Festival, King Kawila, Ping River, Khong Gate, and Tapae Gate to encourage the perpetuation of the remembrance of these events. The Symphonic Poem written for a wind symphony comprises 5 movements. The approximate duration is 20 minutes. The composition is mostly in tonal system, with some paratonal technique, to suit the programmatic musical ideas. Some movements contain Thai music elements to act as bridges of passages representing those events; in addition, well-known folk melodies taken from several sources are inserted. Important elements used in the composition are motives, along with intervals and chords resulting from certain notes derived from motives. Intervals of 3rd, 4th, 5th, quartal chord, quintal chord and secundal chord, are employed throughout the composition, with the use of polytonality occasionally. The texture includes homophony, polyphony and heterophony. Juxtaposition of chords is apparent along with repetitions, imitations, sequences, inversions and retrogrades. Changing of time signatures from simple time to compound time and to complex time occurs from time to time.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประพันธ์เพลง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/640
ISBN: 9741765819
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitti.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.