Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64103
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัคนีวุธ ชะบางบอน-
dc.contributor.authorสุทธิกานต์ คำศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-19T04:07:25Z-
dc.date.available2019-12-19T04:07:25Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64103-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractโครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการกระจายตัวเชิงความถี่ของขนาดหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่-ขนาด (Frequency-size distribution relationship) และประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อประเมิน 1) ขนาดหลุมอุกกาบาตใหญ่สุดที่สามารถเกิดได้ในช่วงเวลาที่พิจารณา 2) เวลาการเกิดเฉลี่ยของขนาดหลุมอุกกาบาตที่พิจารณา และ 3) โอกาสในการเกิดของขนาดหลุมอุกกาบาตและเวลาที่พิจารณา โดยใช้ข้อมูลหลุมอุกกาบาตที่รวบรวมโดยหน่วยงาน Lunar and Planetary Institute (LPI) ซึ่งจากการประเมินความสัมพันธ์เชิงความถี่ของขนาดหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ได้ทำการแบ่งชุดข้อมูลออกเป็น 3 ชุดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีมากที่สุด ได้แก่ 1) ขนาดหลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 140 กิโลเมตร 2) ขนาดหลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 140 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 930 กิโลเมตร และ 3) ขนาดหลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 930 กิโลเมตร ซึ่งจากเงื่อนไขดังกล่าว ผลการศึกษาสามารถประเมินค่า a และค่า b มีค่า 3.97 และ 0.0201±0.0003 ตามลำดับ และหากประเมินในเชิงพื้นที่พบว่าด้านใกล้มีค่าสูงกว่าด้านไกล ในชุดข้อมูลขนาดหลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 140 กิโลเมตร และค่า a และค่า b มีค่า 2.39 และ 0.00246±0.0003 ตามลำดับ และหากประเมินในเชิงพื้นที่พบว่าด้านไกลมีค่าสูงกว่าด้านใกล้ ในชุดข้อมูลเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 140 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 930 กิโลเมตร นอกจากนี้ผลการประเมินพบว่าในชุดข้อมูลขนาดหลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 140 กิโลเมตร มีขนาดอุกกาบาตใหญ่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ ด้านไกลมีขนาดหลุมอุกกาบาตใหญ่กว่าด้านใกล้ ในขณะที่เวลาการเกิดเฉลี่ยด้านไกลมีเวลาการเกิดเฉลี่ยสั้นกว่าด้านใกล้ และโอกาสในการเกิดพบว่าด้านไกลมีโอกาสในการเกิดสูงกว่าด้านใกล้ แต่ในชุดข้อมูลเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 140 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 930 กิโลเมตรพบว่าขนาดอุกกาบาตใหญ่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ ด้านใกล้มีขนาดหลุมอุกกาบาตใหญ่กว่าด้านไกล ในขณะที่เวลาการเกิดเฉลี่ยด้านใกล้มีเวลาการเกิดเฉลี่ยสั้นกว่าด้านไกล และโอกาสในการเกิดพบว่าด้านใกล้มีโอกาสในการเกิดสูงกว่าด้านไกล ซึ่งขนาดที่เกิดแตกต่างกันของหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์มีผลมาจากความแตกต่างของชั้นเปลือก (crust) ของด้านใกล้และด้านไกลของดวงจันทร์en_US
dc.description.abstractalternativeThe aim of this study is to investigate the frequency-size distribution of the craters on the Moon in term of spatial distribution. The utilized database is based mainly on the Lunar and Planetary Institute (LPI). Based on the frequency-size distribution, the craters can be evaluated in terms of 1) maximum size, 2) average time and 3) the probability of occurrence. After analysis, this database is divided to three groups which are 1) craters with diameter less than or equal 140 kilometres, 2) craters with diameter more than 140 kilometres and less than or equal to 930 kilometres and 3) craters with diameter more than 930 kilometres. The results of a value and b value in craters with diameter less than or equal 140 kilometres are 3.97 and 0.0201±0.0003, respectively and the nearside is more than the farside spatially. The results show that a value and b value in craters with diameter more than 140 kilometres and less than or equal 930 kilometres are 2.39 and 0.00246±0.0003 respectively. For craters with diameter less than or equal 140 kilometres, maximum size in the farside is larger than the nearside, average time of the farside is less than the nearside, and the probability of the occurrence of the farside is higher than the nearside. For craters with diameter more than 140 kilometres and less than or equal 930 kilometres, the maximum size in the nearside is larger than the farside, the time average of the nearside is shorter than the farside, and probability of occurrence of the nearside is higher than the farside. The difference sizes of craters on the Moon in both sides are caused by geological differences between the nearside and the farside.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุกกาบาตen_US
dc.subjectหลุมอุกกาบาตen_US
dc.subjectดวงจันทร์en_US
dc.subjectMeteoritesen_US
dc.subjectMeteorite cratersen_US
dc.subjectMoonen_US
dc.titleการกระจายตัวเชิงความถี่ของขนาดหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์en_US
dc.title.alternativeFrequency-size distribution of the craters on moonen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorAkkaneewut.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Sutthikan Khamsiri.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.