Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/641
Title: | ซึง 6 สายตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | The study of Seung Hok Sai (six stringed lute) of Thungkwow sub-district, Muang Pan District, Lampang Province |
Authors: | ศรชัย เต็งรัตน์ล้อม, 2509- |
Advisors: | ขำคม พรประสิทธิ์ พิชิต ชัยเสรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kumkom.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ซึง ดนตรีพื้นบ้าน--ไทย (ภาคเหนือ) เครื่องดนตรี--ไทย (ภาคเหนือ) |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาบทบาทของซึง 6 สาย ในบริบทสังคมชุมชน ศึกษาภูมิปัญญาการผลิตซึง 6 สาย และศึกษาระเบียบวิธีการบรรเลงซึง 6 สาย ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาเฉพาะพื้นที่ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านถ้ำ หมู่บ้านทุ่งข่วง หมู่บ้านทุ่นแท่น หมู่บ้านจ๋ง หมู่บ้านทุ่งกว๋าว หมู่บ้านทุ่งปง หมู่บ้านปลายนา หมู่บ้านทุ่งจี้ หมู่บ้านเฮี้ย หมู่บ้านหัวทุ่ง หมู่บ้านป่าเวียง หมู่บ้านแพะใหม่ และหมู่บ้านหลวง ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตทั่วไปและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การบันทึกภาพและการบันทึกเสียง ผลการวิจัยมีดังนี้ ซึง 6 สาย ตำบลทุ่งกว๋าวในปัจจุบัน มีผู้บรรเลงและผลิตเป็นผู้อาวุโส เหลืออยู่เพียงคนเดียวคือ ครูเหนี่ยม ลือหาร อยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ 1 บ้านถ้ำ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในอนาคต ซึง 6 สาย อาจจะต้องสูญสิ้นไปจากสังคมของชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนและคนรุ่นใหม่ไม่สนใจที่จะสืบสานและสืบทอดองค์ความรู้ แม้ว่าซึง 6 สาย จะอยู่คู่กับกิจกรรมของชุมชน ตั้งแต่ยุคเดินเท้า-ล่องแพ ยุคสร้างทาง-สร้างฝายสู่หมู่บ้าน และยุคทางโยธา-ทางหลวง โดยเฉพาะด้านภูมิปัญญา การผลิตซึง 6 สาย พบว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้านอย่างแท้จริง โดยสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นระยะเวลานับเป็นร้อยๆ ปี มีพัฒนาการการผลิตมาเป็นลำดับ จากที่ใช้เครื่องมือที่หาได้ง่ายในชุมชนมาผลิตจนกระทั่งมีเครื่องมือ ประเภทไฟฟ้าเข้ามาใช้ร่วม เพื่อให้การผลิตเกิดความรวดเร็วและประณีต ส่วนด้านระเบียบวิธีการบรรเลงซึง 6 สายนั้น พบว่ามีท่าเฉพาะในการบรรเลงทั้ง 5 ท่า คือ ท่าคู้เข่า ท่าขัดสมาธิ ท่าหย่องเคาะ ท่าเหยียดแข้ง และท่ายืน มีรูปแบบการจัดวง 3 รูปแบบคือ รูปแบบวงสะล้อซอซึงที่ไม่ประสมเครื่องประกอบจังหวะ รูปแบบวงซอ และรูปแบบวงสะล้อซอซึงที่ประสมเครื่องประกอบจังหวะ การเทียบเสียงซึง 6 สาย เทียบเป็นเสียง ซอล-โด-ซอล มีหน้าที่เป็นประธานของวงเนื่องจากมีเสียงทุ้มนุ่มนวลดังกังวาน การบรรเลงใช้ไม้ดีด 2 ประเภท คือ ไม้ดีดที่ทำมาจากเขาควาย และไม้ดีดที่ทำมาจากพลาสติก แนวการบรรเลงของซึง 6 สาย อยู่ในอัตราจังหวะ 2 ชั้น เป็นต้น เสียงในการขึ้นเพลง เมื่อจบการบรรเลงก็จะมีการทอดลง ซึง 6 สาย จึงเป็นภูมิปัญญาที่มีลักษณะเฉพาะของคนในชุมชนตำบลทุ่งกว๋าว |
Other Abstract: | This study aims to examine the role of Seung Hok Sai (six-string lute) in two dimensions: musicological and cultural aspects. With musicological approach, the study focuses on musical practices and repertoire: how to produce the sound of seung and how to play compositions on the instrument. The locale of the study is located in Thungkwow sub-district, Muang Pan district, Lampang Province. Thungkwow sub-district is composed of 13 villages : Tham village, Thungkwow village, Thung Tan village, Jong village, jong village, Thung Kwong village, Thung-Pong village, Plai-na village, Thung-Ji village, Hear village, Hua village, Pa-Wiang village, Pae-Mai village, Luang village. Data was collected by formal and informal interview, observation, document research, research, photographing, and sound recording. The study finds that there is only living Sueng master left at present. Khruu Neam Leu-han, the only Seung master, now resides at 30 Moo 1, Ban Tham, Sub-district Thungkwow, Muang Pan district, Lampang province. It can be predicted that in the future the six-strings Seung will be extinct due to the new generation's loss of appreciation and interest in promoting the Seung knowledge and old tradition. The six-string seung has been with the community for generations from the age of "on-foot and rafting", the age of "road and dam construction to the village" to the age of "high way and super-highway". The instrument is indigenous to the local wisdom of the community in Thungkwow sub-district. It was invented by the locals many hundred years ago. The instrument was developed and improved according to the development of technology which was found within introduced to the community. Simple tools which were easily found in the community constitutes the first part of the Seung history. Electric power was adopted in the process of making the instruments to help make instruments more effectively. Regarding performance aspects, there are five positions of holding the Seung and seating positions: cubic-angle (leff leg pulled up and another leg on the floor with angle position), cross leg, two-leg on the floor supporting the body, right leg pulled up and the left leg stretched towards the front, standing positions. There are three kinds of ensembles: Seung ensemble without percussion instrument, Wong Sau, and Wong Salo and Sau and Seung with percussion instruments. The tuning of the instrument uses Sol-Do-Sol. The instrument in the principal of the ensemble because of its mellow sound quality. The plectrum used for seung are made of plastic and buffalo horn. The tempo for seung repertoire is usually in moderate tempo. Players usually slow down the tempo to end his performance. As presented above Seung is proudly held as wisdom of the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/641 |
ISBN: | 9741759053 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sornchai.pdf | 8.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.