Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/642
Title: | มาตรฐานการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสมุนไพรไทย |
Other Titles: | Graphic design standard on package for Thai herbs |
Authors: | พิทย์พันธ์ สิทธิรักษ์, 2520- |
Advisors: | เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | บรรจุภัณฑ์--การออกแบบ เครื่องสำอาง การออกแบบเลขนศิลป์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันกระแสการใช้สินค้าสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในประเทศไทยผลิตสินค้าเครื่องสำอางสมุนไพรไทย แต่ประสบปัญหาที่รูปแบบมาตรฐานด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีขาดเอกลักษณ์ของความเป็นพื้นถิ่นไทย และไม่สามารถแสดงบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาแนวทางการออกแบบเลขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สมุนไพรไทยที่แสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่นไทย 2) หาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของเครื่องสำอางสมุนไพรไทย 3) สร้างมาตรฐานเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสมุนไพรไทย หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่นได้จากการนำทฤษฎีของประเทศญี่ปุ่นที่ถือว่าประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเป็นแนวทางเทียบเคียงวิธีการให้เข้ากับเอกลักษณ์ด้านต่างๆ ของไทย โดยผู้เชี่ยวชาญจะลงความเห็นถึงหลักการที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องสำอางสมุนไพรไทยต่อไป หลักเกณฑ์ที่ใช้วิเคราะห์เรื่องบุคลิกภาพได้ใช้ทฤษฎีของซิเคนโนบุ โคบายาชิ (Kobayashi) ในการแสดงบุคลิกภาพทั้งหมด 180 บุคลิกภาพ และให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกบุคลิกภาพที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรไทย ผลการวิจัยพบว่ามาตรฐานเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสมุนไพรไทยสำหรับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ควรจะต้องใช้หลักการ 2 อย่างในการสร้างมาตรฐานเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์สมุนไพรไทย ได้แก่ 1) หลักการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่น ได้แก่การใช้ภาพเลียนแบบกรรมวิธีการบรรจุแบบดั้งเดิมของไทยและการใช้ภาพเลียนแบบวัสดุธรรมชาติพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ 2) หลักการเกี่ยวกับบุคลิกภาพของผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเป็นสมุนไพรไทย ได้แก่บุคลิกแบบเป็นธรรมชาติ |
Other Abstract: | At present, trend of herbal products are gaining popularity among Thai and international consumers. While Thai farm woman groups are one of the major manufacturers of the herbal products, there are facing difficulties. Product packagings were not domestically expressed and their presonality were not clear. The purposes of this research are 1) to find guideline for expressing domestic image on Package of Thai herbal product, 2) to find guideline for expressing appropriately the personality of Thai herbal products, and 3) to created graphic design standard for Thai herbal products. Criteria for expressing in the uniqueness of thai domestic package was adapted from internationally reconnized Japanese folk style. Criteria for distinguishing personnality is Word Image Scale Theory of Shigenobu Kobayashi. All 180 personalities were given a choices to 5 packaging design experts for choosing the best communicate reproductive for Thai herbal cosmatic product. The results of this research indicated that the graphic design standard on package for Thai herbs maybe classified into two categories: 1) graphics that reflect to Thai domestic image the imitations of shape and texture of traditional packaging, 2) graphic composition that appropriately expressess personality of Thai domestic herbs was "Natural". |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/642 |
ISBN: | 9741765711 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pitphun.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.