Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64414
Title: | แนวความคิดระบบการเงินไม่มีดอกเบี้ยเพื่อที่อยู่อาศัย |
Other Titles: | Concept of interestless finance for residential |
Authors: | รีนา หมานสนิท |
Advisors: | บัณฑิต จุลาสัย มานพ พงศทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ศาสนาอิสลาม -- แง่เศรษฐกิจ ธนาคารอิสลาม ดอกเบี้ย สินเชื่อที่อยู่อาศัย Islam -- Economic aspects Banks and banking -- Religious aspects -- Islam Interest Mortgage loans |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีของระบบการเงินไม่มีดอกเบี้ยของธนาคารอิสลามในอันที่จะนำมาใช้เพื่อที่อยู่อาศัย ศึกษาประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการจากการนำระบบการเงินดังกล่าวมาใช้เพื่อที่อยู่อาศัย และศึกษาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการนำระบบการเงินดังกล่าวมาใช้เพื่อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ภายใต้ข้อจำกัดด้านกฎหมายในปัจจุบัน ศึกษาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร ร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ตัวแทนสถาบันการเงินที่เลือกเป็นกรณีศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี จำกัด ธนาคารออมสินระบบอิสลาม และ Islamic Co – Operative Housing Corporation ltd. ผลจากการศึกษาพบว่า แนวความคิดระบบการเงินไม่มีดอกเบี้ยเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้บริโภคและผู้ประกอบการนั้น มีวิธีการทางการเงินรองรับมากกว่า 1 วิธีการ ในแต่ละวิธีการมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกันซึ่งผู้บริโภคและผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์แตกต่างกัน ความเหมาะสมในอันที่จะนำวิธีการใด ๆ ไปปฏิบัติใช้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การดำเนินงานและการบริหารรายได้ของแต่ละสถาบันการเงินเป็นหลักและต้องมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อีกด้วย ในส่วนของอุปสรรคจากการนำระบบการเงินดังกล่าวมาปฏิบัติใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน ในรูปแบบช่องบริการคู่ขนาน (window) ของธนาคารออมสินระบบอิสลาม และรูปแบบสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามประจำท้องถิ่นนั้นมีข้อจำกัดดังนี้คือ (1) เป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารอิสลามเต็มรูปแบบ ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นที่ยังมีไม่มากพอ ในอันที่จะสามารถระดมเงินทุนจากกลุ่มประเทศมุสลิมในตะวันออกกลาง มาเสริมการดำเนินงานเพื่อขนายการลงทุนของระบบสถาบันการเงินอิสลามให้มากกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะในธุรกิจที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องใช้แหล่งเงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างสูง (2) ข้อจำกัดด้านพระราชบัญญัติควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงินทั้ง 2 ประเภทที่แตกต่างกัน มีผลต่อจำนวนวิธีการทางการเงินที่สถาบันการเงินแต่ละประเภท สามารถนำมาปฏิบัติใช้เพื่อให้บริการด้านที่อยู่อาศัยได้อย่างแตกต่างกัน (3) วิธีการทางการเงินรูปแบบการปันผลกำไรขาดทุนร่วมกันซึ่งทางฝ่ายสถาบันการเงินจำเป็นที่จะต้องมีบุคคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทางในธุรกิจประเภทนั้น ๆ ในขณะที่สถาบันการเงินทั้ง 2 รูปแบบยังมีเงินทุนค่อนข้างจำกัด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทางในธุรกิจที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ได้ (4) วิธีการทางการเงินรูปแบบปันผลกำไรขาดทุนร่วมกันกับผู้ประกอบการสถาบันการเงินแจะต้องมีระเบียบวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบดำเนินงานที่รัดกุม เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้ในหลายขั้นตอนของการดำเนินงาน ในกรณีที่เข้าร่วมดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบการที่ไม่มีความซื่อสัตย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก ผลจากการศึกษาดังกล่าว นำไปสู'ข้อเสนอแนะแนวทางในอันที่จะนำระบบการเงินไม่มีดอกเบี้ยมาปฏิบัติใช้เพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยได้อย่างสูงสูดและครบวงจร โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเต็มรูปแบบ เพื่อ 1)เป็นสถาบันการเงินที่มีพระราชบัญญัติควบคุมการดำเนินงานโดยเฉพาะ สามารถนำวิธีการทางการเงินมาให้บริการด้านที่อยู่อาศัยได้ทั้ง 4 รูปแบบ 2)ส่งเสริมความเชื่อมั่นต่อกลุ่มประเทศมุสลิมในตะวันออกกลาง ซึ่งมีพื้นฐานความเชื่อมั่นในระบบการเงินแบบเดียวกัน ในอันที่จะนำเงินมาร่วมลงทุนกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 3)เงินระดมทุนเพื่อการดำเนินงานที่มีมากขึ้น จะสามารถจัดข้างและส่งเสริมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในธุรกิจที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะได้ อันจะส่งเสริมให้ธนาคารอิสลาม สามารถให้บริการทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้อย่างครบวงจร |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study the concept and theory of non-interest home financing of Islamic bank, which could be introduced, the advantages that could be enjoyed by consumers and those who would offer such financing in Thailand in accordance with current laws and the methods for examining all relevant documents as well as the information gathered through interviews. Three financial institutions were selected for this project, The Pattani Islamic Savings Cooperative Ltd., Islamic System Savings Bank and the Islamic Cooperative Housing Corporation Co., Ltd. Results for this study on the concept of non-interest home financing for consumers and those offering such services showed that there were more than one types of financing and each of these had both major and minor differences, which thus lead to different advantages for consumers and providers. The choice of method depends on the finance objectives and profitable management of each financial institution as well as how well these fit with the target groups’ current economic and social conditions, which include obstacles for the introduction of foreign capital for use in Thailand in accordance with current Thai laws. The Islamic System Savings Bank and Islamic Savings Cooperative Let. Are both faced with the following restrictions: (1) The two institutions are not fully Islamic banks and therefore do not command sufficient confidence. (2) Restrictions in the legislation (laws) that control financial institutions of 2 dissimilar types. These results in different financing methods the different types of institutions can employ. (3) The financing method for dividend payments is unprofitable, which means the financial institutions require experts in this area and the two institutions, with their different methods, do not have sufficient funds to train personnel to become experts in home financing and assets management. (4) With these non-profitable financing methods, the institutions need a very efficient accounting and auditing system to prevent any number of problem from arising as in the case of conducting business with a provider who does not have an institution’s full trust and could cause large financial losses. Study results showed trends, or directions, for non-interest home financing the can lead to benefits for the consumer and provider. For this to succeed a full-service Islamic Bank of Thailand should be established for the following reasons: (1) It would be a financial institution, which legislation could control, especially for the introduction of home financing under four types of services. (2) It would promote confidence among central Thai Muslims, who have a strong and trusted financial base and would then invest in the Thai National Muslim Bank. (3) There would be more funds available for personnel development to produce experts in home financing and assets management, which would further promote, or improve and expand, the services the Islamic Bank could provide in home financing for both consumers and providers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64414 |
ISBN: | 9741700744 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Reena_ma_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 905.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Reena_ma_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 979.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Reena_ma_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Reena_ma_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 619.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Reena_ma_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 858.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
Reena_ma_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Reena_ma_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Reena_ma_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคปนวก | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.