Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์-
dc.contributor.authorขวัญใจ สุขก้อน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T05:12:00Z-
dc.date.available2020-04-05T05:12:00Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64668-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractผู้บริโภคกลุ่มแมสทีจ (Masstige Consumer) คือ กลุ่มผู้บริโภคที่อยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มคนที่ต้องการสินค้าหรูหรา (Prestige) และสินค้าทั่วไป (Mass) กล่าวได้ว่า ผู้บริโภคกลุ่มแมสทีจ เป็นผู้บริโภคที่มีรสนิยมสูง แต่รายได้ไม่สูงเท่ากลุ่มผู้บริโภคชนชั้นสูง และยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าดูดีมีระดับเพื่อแลกกับการได้ประสบการณ์ในการได้ใช้สินค้าหรู เป็นการตอบสนองความพึงพอใจด้านจิตใจ แม้จะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าหรือใช้บัตรเครดิต ซึ่งถือว่าคนกลุ่มนี้มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีมูลค่าทางการตลาดที่นักการตลาดกำลังจับตามอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและหาแนวทางในการสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจ 2) หาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจ 3) ประยุกต์ใช้ผลการวิจัยสู่การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าไทยที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริโภคแมสทีจ การดำเนินการวิจัยใช้วิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) โดยนำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและแบรนด์ 15 คน ด้านการออกแบบเรขศิลป์ 15 คน ตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่เข้าข่ายผู้บริโภคแมสทีจ จำนวน 405 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเบื้องต้น คิดเป็นร้อยละ (Percentage)  แล้วทำการสรุปผลออกมาเป็นลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์งานวิจัยพบว่า แนวทางในการสร้างแบรนด์สำหรับผู้บริโภคแมสทีจสามารถทำได้ 3 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1) แบรนด์ที่มีลักษณะเฉพาะตน มีความเป็นตัวของตัวเองสูง นำเสนอความรู้สึกถึงความมีคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม แนวทางที่ 2) แบรนด์ที่แสดงความมีสถานะ มีหน้ามีตาในสังคม ได้รับการยอมรับ มีสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าคนทั่วไป และน่าเชื่อถือด้วยคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม แนวทางที่ 3) แบรนด์ที่มอบความรู้สึกมีระดับ และคุณภาพที่ดีเหนือแบรนด์ทั่วไป รวมทั้งเป็นแบรนด์ที่มีสถานะมีหน้ามีตา เป็นที่ยอมรับในสังคม ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้คำตอบถึงแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจได้ทั้งหมด 3 แนวทาง และยังสามารถแบ่งลักษณะของผู้บริโภคแมสทีจได้ 3 กลุ่ม ตามลักษณะการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน โดยองค์ความรู้ที่ค้นพบนี้เป็นต่อยอดจากศาสตร์ทางด้านการตลาดไปสู่งานวิจัยทางด้านการออกแบบ ซึ่งปัจจุบันนั้นการออกแบบถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในโลกของการแข่งขันทางด้านการตลาด อีกทั้งเรื่องของผู้บริโภคแมสทีจเริ่มเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกระแสหรือเทรนด์ที่นักการตลาดกำลังให้ความสนใจ-
dc.description.abstractalternativeMasstige Consumer is a group between people who want luxury products (Prestige) and general products (Mass). The masstige consumers prefer premium lifestyle but their incomes are not as high as those in the upper class. These consumers are willing to pay to buy luxury products in exchange for gaining experience in luxury goods in order to meet psychological satisfaction, even having to pay for debt or credit card purchases. This group of consumers is considered to be important in driving the economy and the market value that marketers are interested in. The objectives of this research are 1) study and create brand comparison products for mass consumers 2) Finding guidelines for graphic design in order to create brand comparison products for mass media consumers 3) Apply research results to graphic design in order to create a brand for Thai products in order to target mass media consumers. This research is conducted by using an integrated approach, starting with qualitative research by collecting data from 15 marketing and brand experts and 15 graphic design experts. Followed by quantitative research by collecting data from a sample of 405 consumers who are classified as masstige consumers. The data is analyzed by using basic statistics in percentage and summarize the results. The results of the data shows that there are 3 directions to create a brand for the masstige consumer. Direction 1. The unique brand with high brand identity and great quality. Direction 2. The brand with high and privilege in society which accepted by people. It is also reliable with excellent features. Direction 3. The brand that gives a feeling of having a superior feeling than general brands. It is also a brand with a respectable status and is accepted in society. The finding of this research reveals the graphic design guidelines which create a brand, compare products for consumers in all 3 directions. The research results can be divided into 3 groups of masstige consumers according to their lifestyle and consumption behaviors. The finding is an extension of marketing science for research design. Nowadays, design is a very important part in the world of competition. In addition, masstige consumers are beginning to be a trendsetter and be the target that marketers are interested in.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1359-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการออกแบบกราฟิก-
dc.subjectการสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์-
dc.subjectการเลือกของผู้บริโภค-
dc.subjectความพอใจของผู้บริโภค-
dc.subjectGraphic design-
dc.subjectBranding (Marketing)-
dc.subjectConsumers' preferences-
dc.subjectConsumer satisfaction-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจ-
dc.title.alternativeGraphic design for shopping goods branding to masstige consumers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSuppakorn.D@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1359-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886801735.pdf15.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.