Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64670
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ | - |
dc.contributor.author | กุลนาถ พุ่มอำภา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-05T05:12:01Z | - |
dc.date.available | 2020-04-05T05:12:01Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64670 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เกี่ยวกับเวทมนตร์ในวรรณกรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ภายใต้หัวข้อ การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์เกี่ยวกับเวทมนตร์ในวรรณกรรมไทย และเพื่อหาแนวคิดหลังการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์เกี่ยวกับเวทมนตร์ในวรรณคดีไทย โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยรวบรวมข้อมูลและนำมาศึกษาเพื่อทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล สร้างผลงานนาฏยศิลป์ และทำการสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เกี่ยวกับเวทมนตร์ในวรรณกรรมไทย เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับองค์ประกอบการแสดง 8 องค์ประกอบ ที่อยู่บนพื้นฐานของการศึกษา เรื่องเวทมนตร์ในวรรณกรรม เพื่อใช้กำหนดการแสดงองก์ต่าง ๆ ประกอบด้วย องก์ที่ 1 การใช้เวทมนตร์เพียงอย่างเดียว ได้แก่ เวทมนตร์แปลงกาย องก์ที่ 2 การใช้เวทมนตร์ควบคู่กับเครื่องรางของขลัง ได้แก่ การใช้เวทมนตร์กับผ้ายันต์ องก์ที่ 3 การใช้เวทมนตร์ควบคู่กับวัตถุสามัญ ได้แก่ การใช้เวทมนตร์กับใบไม้ องก์ที่ 4 การใช้เวทมนตร์ควบคู่กับวิญญาณ ได้แก่ การเรียกผี การปลุกผี การครอบงำวิญญาณให้เป็นบริวาร ใช้วิญญาณเป็นพาหนะและใช้วิญญาณเป็นม่านบังตา ภาพสุดท้าย คือ ความหายนะของการครอบครองเวทมนตร์มากเกินไป พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์แนวคิดการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เกี่ยวกับเวทมนตร์ในวรรณกรรมไทย ได้แก่ การอนุรักษ์เนื้อหาและใจความสำคัญของวรรณกรรมไทยไว้ในรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ ความเชื่อด้านเวทมนตร์ในวรรณกรรมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างเวทมนตร์กับพระพุทธศาสนา หลักการสัมพันธภาพ (Relationship) กับการออกแบบงานนาฏยศิลป์ ทฤษฎีสัญวิทยากับการออกแบบงานนาฏยศิลป์ รูปแบบผลงานการสร้างนาฏยศิลป์ตามเทคนิคและแนวคิดของศิลปินในยุคสมัยใหม่ (Modern dance) การใช้เวทมนตร์ในเชิงจิตวิทยา และการวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ตามเกณฑ์มาตรฐานการยกย่องศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์องค์ประกอบการแสดงนาฏยศิลป์ทั้ง 8 องค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงาน งานวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีคุณค่าต่อสังคมในการให้แนวคิดและปรัชญาแก่ประชาชน เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านของการให้ปรัชญาในเรื่องการใช้วิธีพิเศษเพื่ออำนวยมาซึ่งสิ่งต่าง ๆ แต่ถ้าหากใช้อย่างไม่เหมาะสมจะทำให้จบลงด้วยความเสียหาย นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังเป็นการศึกษาเรื่องเวทมนตร์ในเชิงวรรณกรรมและความเชื่อเรื่องเวทมนตร์ของสังคมที่นำมาผนวกกับงานสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์อย่างลงตัว | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis on creation of dancing art about Magic in Thai literature in order to find styles and ideas for creating works under heading “The Creation of a Dance about Magic in Thai Literature”.The importance of Research methods which are documentary study, interview, information media study, observation and participant, and use personal experience of researcher by collecting data and studies for analysis , synthetic data in order to create works and summarize. The research found that on creation of dancing art about Magic in Thai literature is a data analysis together with the 8 component of performance which base on study of Magic in Thai literature in order to specify in the show various episodes. Episode 1: to use Magic only such as personate magic. Episode 2: to use Magic combined with amulet such as using talisman. Episode 3: to use Magic combined with object such as using magic with leaves. Episode 4: to use Magic combined with spirit such as conjuring, blind. Including analyzing the concepts of the creation of dance art in Thai literature, including. Preserving the content and the essence of Thai literature in the form of a dancer performance, The belief in magic in Thai literature, the relationship between magic and Buddhism, the relationships with design of dance art, Semantic theory with dance design, Forms of dance creation according to techniques and concepts of artists in the modern dance, to use psychological. And analysis of creative works according to artist standards. In addition, the analysis of the 8 elements of the dance performance in the creation of the work. This thesis is valuable to society in giving ideas and philosophy to the people. To be useful in terms of giving the philosophy of using special methods to facilitate things. But if used not suitable, it will be in damage. In addition, this thesis is the study of literature in magic and the belief in the magic of society that is combined with the creation of fine arts. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1361 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | นาฏศิลป์ | - |
dc.subject | วรรณกรรมไทย | - |
dc.subject | Dramatic arts | - |
dc.subject | Thai literature | - |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | - |
dc.title | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เกี่ยวกับเวทมนตร์ในวรรณกรรมไทย | - |
dc.title.alternative | The creation of a dance about magic in Thai literature | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Phatcharin.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1361 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5986803035.pdf | 8.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.