Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64811
Title: | สถานการณ์ของการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2553-2562 |
Other Titles: | Situation of preparing as-built building information modeling (bim) in Thailand, 2010-2019 be. |
Authors: | สุดากาญจน์ ธนาวุฒิ |
Advisors: | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Traiwat.V@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building information modeling หรือ BIM) ทั้งในกระบวนการก่อสร้าง และบำรุงรักษาอาคารทำให้กระบวนการทำงานมีความซับซ้อนขึ้นแตกต่างจากวิธีการเดิม ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษาด้าน BIM จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ โดยวิธีการดำเนินการวิจัยคือ กำหนดกรอบงานวิจัย ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ว่าจ้างจำนวน 3 ท่าน (2) กลุ่มผู้ออกแบบจำนวน 1 ท่าน (3) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้างจำนวน 4 ท่าน และ(4) กลุ่มที่ปรึกษาด้าน BIM จำนวน 6 ท่าน พบอาคารกรณีศึกษา 12 อาคาร จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย อาคารกรณีศึกษาที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มาจากทั้งองค์กรรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยองค์กรที่มีอาคารที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มากที่สุด ได้แก่ องค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรรัฐวิสาหกิจตามลำดับ ประเภทอาคาร ได้แก่ โรงพยาบาล สำนักงาน อาคารเรียน ร้านค้า และอาคารอยู่อาศัยรวม ประเภทอาคารข้างต้นเป็นอาคารที่มีความซับซ้อน หรือมีความซ้ำของรูปแบบห้อง ขนาดอาคารเป็นอาคารขนาดใหญ่ตั้งแต่15,000 – 224,750 ตารางเมตร หรืออาคารขนาดเล็กที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มูลค่าโครงการเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงตั้งแต่ 324 – 12,500 ล้านบาท ลำดับของกลุ่มที่อยู่ในช่วงดำเนินการใช้ได้แก่ (1) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้าง (2) กลุ่มผู้ออกแบบ และ (3) กลุ่มผู้ว่าจ้าง โดยวัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของทั้ง 3 ผู้เกี่ยวข้องคือ ลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง วัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของผู้ออกแบบและผู้รับจ้างก่อสร้างคือเพื่อจัดส่งงานตามการบังคับใช้ของผู้ว่าจ้าง รายละเอียดของ As-built BIM ควรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้างในการนำข้อมูลไปใช้งาน เรื่องวิธีการได้มาซึ่ง As-Built BIM มี 3 วิธี คือรวมในสัญญางานก่อสร้าง จัดจ้างเพิ่ม และอื่นๆ กระบวนการพัฒนา As-Built BIM ที่เกิดขึ้นใน 4 ช่วงการบริหารโครงการ มีลำดับดังนี้ (1) ช่วงหลังเปิดใช้อาคาร (2) ช่วงหลังก่อสร้าง (3) ช่วงก่อสร้าง และ (4) ช่วงก่อนก่อสร้าง เริ่มมีการใช้ BIM ในการประสานงานก่อสร้างทั้งในกลุ่มผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบ และผู้รับจ้างก่อสร้าง As-Built Model เป็นเพียงข้อมูลตั้งต้นเพื่อบริหารทรัพยากรทางภายภาพเท่านั้น ผลการใช้งานตามวัตถุประสงค์พบว่ากลุ่มผู้ออกแบบ และกลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้างได้ใช้ BIM ตามวัตถุประสงค์แล้ว ส่วนกลุ่มผู้ว่าจ้างบางองค์กรยังไม่ได้ใช้งานตามวัตถุประสงค์ โดยปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือปัญหาด้านบุคลากร และปัญหาด้านกระบวนการ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง ในเรื่องกระบวนการ ปัญหาอุปสรรค และวิธีการแก้ไข นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในปัจจุบันเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงที่มีประสิทธิภาพในอนาคต |
Other Abstract: | Nowadays, the Building Information Modeling (BIM) in Thailand has applied into the processing of construction and building maintenances which do not only affect to the work processing but also different from the original method. The relevant parties such as owners, designers, contractors and BIM consultants need to adapt and respond accordingly. The purpose of the research has focused on situations and obstacles of BIM as-built in Thailand. There is a methodology which define the framework, relevant concept and theories, collected particularly interviews data from 3 project owners, 1 designer, 4 contractors and 6 BIM consultants with 12 cases studies of buildings. The result of the situation of preparing of As-built Building Information Modelling(BIM) in Thailand, we found the most of case studies from government, semi government and private parties can be approached into As-built model preparation. Scope of work can be managed by the type of the buildings which are complicated or repeating of the functions such as hospital, office, education, retails and residential. Furthermore, the scale of the buildings are about 15,000 – 224,750 sqm for the large scale or repeating in a mount of number for small scale which are value from 324 – 12,500 million THB. The group of parties such as client, contractor and designer who come with the same purpose not only to reduce the mistake during construction but last two parties also aim to delivery the production due to the client’s requirement which can be come from the contract, addition cost or etc. Therefore, the process of development in as built BIM can be arranged in 4 stages which are finished building, before construction, after construction and during construction. There start to use BIM to organize the basis of resources in term of communication during all parties. To sum up, the outcome of purpose can meet into designer and contractor but some of the clients cannot get influence caused to human resource and process issues. In conclusion, this research has demonstrated the situation of As-built BIM which comes across into the process, problems, obstacles and solutions. There can be a guideline for making effective in as-built BIM model in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64811 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1392 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1392 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5973370425.pdf | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.