Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65341
Title: | บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบถนนในพื้นที่เมือง กรณีศึกษาเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Roles of public and private sectors in the development of road system in urban area : a case study of Chatuchak District Bangkok |
Authors: | ผไททิพย์ ทับสุวรรณ |
Advisors: | ขวัญสรวง อติโพธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ถนน จราจรในเมือง เขตจตุจักร (กรุงเทพฯ) Public-private sector cooperation Roads ; Streets City traffic Chatuchak District Bangkok |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักร การศึกษาตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัจจุบันของระบบถนนที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ และความเชื่อมโยงของการพัฒนาระบบถนนที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่เมือง โดยได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาว่า ปัญหาโครงสร้างของระบบคมนาคมในรูปแบบของถนนในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการลงทุนในการก่อสร้างระบบโครงข่ายคมนาคมในลักษณะของการขาดการประสานงานร่วมกันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงใช้วิธีในการศึกษา คือ ศึกษาการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรใน 3 ช่วงเวลา คือ ยุคแรกเริ่ม ยุคโครงข่ายถนนหนาแน่นในเขตเมือง ยุคโครงข่ายถนนขยายตัวไปทุกทิศทางและปัจจุบัน ในประเด็นด้านลักษณะของการพัฒนา โครงข่ายถนน การพัฒนาเมือง สภาพการสัญจร และบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบถนนในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำมาส่การสร้างความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเมืองอันเป็นผลมาจากการดำเนินการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบถนนในอดีตของภาครัฐที่ขาดการวางแผนจัดการที่ดี และไม่สามารถชี้นำการพัฒนาอย่างเหมาะสมต่อภาคเอกซน รวมถึงการขาดการประสานงานการพัฒนาระบบถนนระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำให้โครงข่ายถนนของกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพ จึงได้ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ 2 ประเด็น คือ ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกชน และข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกซน ทั้งในกรุงเทพมหานครและในเขตจตุจักร จากข้อเสนอแนะทั้ง 2 ประเด็นนี้ จะทำให้การพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักรมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างถนนแต่แรกริ่มของทุกฝ่ายต่อไป |
Other Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักร การศึกษาตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัจจุบันของระบบถนนที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ และความเชื่อมโยงของการพัฒนาระบบถนนที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่เมือง โดยได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาว่า ปัญหาโครงสร้างของระบบคมนาคมในรูปแบบของถนนในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการลงทุนในการก่อสร้างระบบโครงข่ายคมนาคมในลักษณะของการขาดการประสานงานร่วมกันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงใช้วิธีในการศึกษา คือ ศึกษาการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรใน 3 ช่วงเวลา คือ ยุคแรกเริ่ม ยุคโครงข่ายถนนหนาแน่นในเขตเมือง ยุคโครงข่ายถนนขยายตัวไปทุกทิศทางและปัจจุบัน ในประเด็นด้านลักษณะของการพัฒนา โครงข่ายถนน การพัฒนาเมือง สภาพการสัญจร และบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบถนนในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำมาส่การสร้างความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเมืองอันเป็นผลมาจากการดำเนินการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบถนนในอดีตของภาครัฐที่ขาดการวางแผนจัดการที่ดี และไม่สามารถชี้นำการพัฒนาอย่างเหมาะสมต่อภาคเอกซน รวมถึงการขาดการประสานงานการพัฒนาระบบถนนระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำให้โครงข่ายถนนของกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพ จึงได้ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ 2 ประเด็น คือ ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกชน และข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกซน ทั้งในกรุงเทพมหานครและในเขตจตุจักร จากข้อเสนอแนะทั้ง 2 ประเด็นนี้ จะทำให้การพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักรมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างถนนแต่แรกริ่มของทุกฝ่ายต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65341 |
ISBN: | 9740310664 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pathaithip_tu_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ | 881.89 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pathaithip_tu_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 840.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pathaithip_tu_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pathaithip_tu_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 6.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pathaithip_tu_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pathaithip_tu_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pathaithip_tu_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 795.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.