Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65356
Title: การตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา / เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
Other Titles: The settlement and land use affecting the water quality : case study of Lam Takong Reservior Pak Chong District Na Khon Ratchasima Province
Authors: เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: suwattana.t@chula.ac.th
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ปากช่อง (นครราชสีมา)
การตั้งถิ่นฐาน
คุณภาพน้ำ
อ่างเก็บนำลำตะคอง
Land use -- Pak Chong (Na Khon Ratchasima)
Land settlement
Water quality
Lam Takong Reservior
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อำเภอปากช่อง เพี่อเสนอแนวทางในการแก้ไขและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมา การดำเนินการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิทางด้านสภาพทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐานการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสภาพของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง และข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจภาคสนามโดยใช้วิธีการสังเกต ประกอบกับการวิเคราะห์ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคองในการศึกษา เพี่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อันจะนำไปสู้การเสนอแนวทางในการจัดการและแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา พบว่า อ่างเก็บน้ำลำตะคอง เป็นแหล่งน้ำที่ได้รับน้ำเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ของประชากรใน อำเภอปากช่อง ซึ่งจะไหลมาตามลำน้ำลำตะคองและลำน้ำสาขาก่อนไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลำตะคองตามความลาดเอียงของพื้นที่ โดยกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ได้แก่ การประกอบกิจกรรมปศุสัตว์ โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งจากประเมินปริมาณค่าภาระ BOD จากกิจกรรมต่าง ๆ พบกิจกรรมปศุสัตว์บริเวณพื้นที่รอบอ่างมีปริมาณความสกปรกสูงที่สุดถึง 16,213 กิโลกรัม/วัน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ซึ่งน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าวปนเปื้อนลงสู่อ่างเก็บน้ำลำตะคองโดยการชะล้างพื้นที่ของน้ำฝน (Runoff) ไหลลงสู่ลำน้ำลำตะคองและลำน้ำสาขาลงสู่อ่างเก็บน้ำลำตะคองตามความลาดเอียงของพื้นที่ ในการศึกษาการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีต่อคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคองครั้งนี้ ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขและลดผล กระทบที่เกิดขึ้น โดยให้มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบอ่างเก็บน้ำลำตะคอง กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในอำเภอปากช่องซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำลำตะคอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาคุณภาพน้ำที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจกรรมของประชากรบนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ และเพี่อให้ทราบสภาวะการณ์ของอ่างเก็บน้ำลำตะคองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันการณ์ จึงควรมีการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคองอย่างต่อเนื่อง
Other Abstract: The main purpose of this study is to investigate the settlement and land use affecting the water quality of LAM TAKONG Reservoir, Pak Chong District in Na Khon Ratchasima Province. The Results will be used as guidelines for reducing impacts on the settlement and land use of LAM TAKONG Reservoir which serves as a major water source of this Province. This study complied secondary data concerning the physical conditions of the case study area and those of reservoir. In addition, the primary data was obtained through observations and the results of the analysis of the water quality in the reservoir. It is found that this reservoir is a catch area of sewage from the activities of the population in this district. The activity which affects the water quality of the reservoir most is livestock raising especially the one which is around the reservoir. According to the BOD assessment, the filthiness of this area was 16,213 kg./d. 1 accounting for 81.82 % of the sewage discharged from such activity into the reservoir in the form of Run-off. The proposed guidelines for reducing the Impacts include measures controlling the land use around the reservoir, those that specify the use of land in the area which is the source of LAM TAKONG Canal in Pak Chong District in order to avoid water problems arising from various activities performed by the population there. Furthermore, the quality of water in LAM TAKONG Reservoir should be continuously and consistently monitored to be able to cope with the problems effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65356
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.366
ISSN: 9741719558
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.366
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee_wi_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ977.26 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_wi_ch1_p.pdfบทที่ 1836.32 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_wi_ch2_p.pdfบทที่ 21.36 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_wi_ch3_p.pdfบทที่ 33.35 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_wi_ch4_p.pdfบทที่ 43.07 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_wi_ch5_p.pdfบทที่ 54.42 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_wi_ch6_p.pdfบทที่ 61.02 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_wi_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.