Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65602
Title: การใช้พื้นที่ทำกิจกรรมในชุมชนและเมืองของชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิม ในเทศบาลเมืองปัตตานี
Other Titles: Space usage of Thai-Muslim slum dwellers in he community and in Pattni municipal area
Authors: ปิยวรรณ ไตรบุญ
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Daranee.T@Chula.ac.th
Subjects: เมือง -- การเจริญเติบโต
ชุมชนแออัด
ชาวไทยมุสลิม
มุสลิม -- ไทย -- ปัตตานี
Cities and towns -- Growth
Slums
Muslims -- Thailand -- Pattni
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมในชุมชนและเมืองของชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิมในเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อเสนอแนวทางการใช้พื้นที่สำหรับชุมชนแออัดไทยมุสลิม การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ศึกษาลักษณะของชุมชนแออัด ในด้านลักษณะการตั้งถิ่นฐาน กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของซาวไทยมุสลิม ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมหรือการทำกิจกรรมของชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิม และ 2) ศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมภายในชุมชนความสัมพันธ์การใช้พื้นที่ของชุมชนที่มีต่อพื้นที่เมือง จากการศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถามกลุ่มประชากรตัวอย่างจากชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิมในเทศบาลเมืองปัตตานี 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนสะบารัง ชุมชนบือติงตันหยง ชุมชนบีอติงหะยีแม และชุมชนยูโยด่านภาษี สามารถจำแนกลักษณะกิจกรรมของชาวชุมชนได้ 2 ประเภท คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา และกิจกรรมทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows เพื่อหาค่าความถี่ร้อยละของตัวแปรต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า การใช้พื้นที่ทำกิจกรรมของชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิมในเทศบาลเมือง ปัตตานี คนทุกวัยจะใช้พื้นที่ทำกิจกรรมทั้ง 2 ประเภทซ้ำ ๆ เหมือนกัน และใช้เวลาไปสถานที่ทำกิจกรรมใกล้เคียงกัน เว้นแต่ความถี่ในการทำกิจกรรมเท่านั้นที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุปความสัมพันธ์การใช้ พื้นที่ทำกิจกรรมเป็น 2 ระดับ คือ 1)ระตับชุมชน การใช้พื้นที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนาจะใช้พื้นที่ในบ้านและมัสยิดประจำชุมชน ส่วนกิจกรรมทั่วไปจะใช้พื้นที่ร้านค้าในชุมชน เป็นสถานที่ทำกิจกรรม 2) ระดับเมือง การใช้พื้นที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาลนาคือ มัสยิดกลางปัตตานี ในการเข้าร่วมละหมาดวันศุกร์และประเพณีฮารีรายอ สำหรับการใช้พื้นที่กิจกรรมทั่วไปจะเป็นบริเวณ ตลาด สวนสาธารณะ หรือโรงพยาบาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ หรือความสนใจของแต่ละบุคคล ในการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมในชุมชนแออัดไทยมุสลิมเมืองปัตตานี คือ ควรให้มีการ ปรับปรุงสภาพทางกายภาพในแต่ละชุมชน เพื่อให้เกิดความสอดคล้อง และเหมาะสมกับการใช้พื้นที่ทำกิจกรรม โดยอาศัยความร่วมมือจากชาวชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the general space usage of Thai – Muslim slum dwellers in their communities and in Pattani municipal area in order to provide guidelines on space using in Thai-Muslim slum communities. The study is divided into 2 parts : (1) exploring the characteristics of slum settlements from various aspects (physical, economic, social, and way of life of people) affecting their behavior and activities ; (2) investigating the forms spaces are used for activities in the communities and in relations to space usage in Pattani municipal area. Data are collected through structured interview employing questionnaires administered on slum dwellers of varying ages, both male and female, in 4 communities in Pattani municipal area : Sabarang, Butingtanyong, Butinghaemae and Yuyodanpasi. The questions are meant for inquring two types activities : sacred and profane. The SPSS Program for Windows is used to analyse the data. Research results indicate that slum dwellers at every age group use space for both type of activities in the same places and almost on the same time but not at the same frequency. Within the communities, space using for sacred activities are home and community masjid, and for profane activities are the general stores. In the urban context, space using for sacred activities is Central Masjid of Pattani, and for profane activities are the market, parks, and hospitals depending on the needs and interest of the users. Guidelines to develop the use of space in the communities are made on improving the physical environment in each community in order to be in line of and to suit the usage of space for sacred and profane activities in the communities. This should be done through the co-operation of slum dwellers as well as concerning local government agencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65602
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.327
ISBN: 9741754485
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.327
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan_tr_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ887.08 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_tr_ch1_p.pdfบทที่ 1743.42 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_tr_ch2_p.pdfบทที่ 21.34 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_tr_ch3_p.pdfบทที่ 31.05 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_tr_ch4_p.pdfบทที่ 42.09 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_tr_ch5_p.pdfบทที่ 55.37 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_tr_ch6_p.pdfบทที่ 61.08 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_tr_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก781.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.