Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65691
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย-
dc.contributor.authorเจิมศักดิ์ เจียมประภา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2020-05-08T08:29:49Z-
dc.date.available2020-05-08T08:29:49Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.issn9741747403-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65691-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการเกิดชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ มักก่อให้เกิดปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปัญหาความแออัด ปัญหาจราจร รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ หมู่บ้านจัดสรรซึ่งถือได้ว่าเป็นชุมชนในรูปแบบหนึ่งซึ่งภาครัฐได้พยายามจะทำให้สามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ให้เกิดปัญหา จึงได้วางแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้ประกอบการจัดให้โครงการหมู่บ้านจัดสรรทุก ๆ โครงการ ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียในโครงการทุก ๆโครงการ แต่เนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านต่าง ๆ มักไม่ได้รับการดูแลรักษา จะด้วยสาเหตุจากความแตกต่างของการใช้งาน การ บำรุงรักษา และทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อระบบบำบัดน้ำเสีย จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาทัศนคติของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรที่มีต่อระบบบำบัดน้ำเสียและศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ การใช้แบบสอบถาม รวมไปถึงการสังเกตจากหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านระดับราคาตํ่า ในเขตบางกะปิ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ผลการศึกษาเรื่องของทัศนคติที่มีต่อระบบบำบัดน้ำเสีย พบว่า ความแตกต่างของทัศนคติที่มีต่อระบบบำบัดน้ำเสียทั้ง 2 ประเภท มีความแตกต่างกัน คือ ในกลุ่มผู้อยู่อาศัยที่มีการรับรู้ว่าในบ้านของตนเองใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแยกส่วนมีความติดเห็นว่าเป็นภาระความรับผิดชอบของตนเองที่จะต้องดูแลบำรุงรักษารวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ในกลุ่มผู้อยู่อาศัยที่มีการรับรู้ว่าหมู่บ้านของตนเองใช้ระบบบำบัดน้ำเสียรวม มีความคิดเห็นว่า ไม่ใช่หน้าที่ของตนเองที่จะต้องรับผิดชอบภาระการบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากผลการศึกษาในเรื่องของทัศนคติ ที่กล่าวมาแล้ว ยังพบว่า ระบบบำบัดนี้าเสียแยกส่วน ถึงแม้จะมีการรับรู้ที่น้อยกว่าระบบบำบัดน้ำเสียรวม แต่ในเรื่องของการบำรุงรักษาพบว่าระบบบำบัดน้ำเสียแยกส่วนมีการบำรุงรักษาสูงกว่า จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย 1. การรับรู้ พบว่าในหมู่บ้านที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแยกส่วน ผู้อยู่อาศัยมีการรับรู้น้อยกว่าหมู่บ้านที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียรวม แต่มีการบำรุงรักษาสูงกว่า 2. จิตสำนึก พบว่าผู้อยู่อาศัยมีจิตสำนึกที่ดี แต่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของปัญหามลพิษทางน้ำ และระบบบำบัดน้ำเสียที่ตนเองใช้อยู่จึงทำให้ไม่เห็นความสำคัญและไม่อยากมีระบบบำบัดนำเสีย 3. ทัศนคติของผู้อยู่อาศัย พบว่า ผู้อยู่อาศัยมีความคิดว่าการมีระบบบำบัดน้ำเสียทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงทำให้ผู้มีรายได้น้อยไม่อยากมีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือไม่อยากรับภาระค่าใช้จ่ายรวมไปถึงการบำรุงรักษาที่เกิดจาก การมีระบบบำบัดน้ำเสียในส่วนของผู้ที่มีรายได้สูงขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละบุคคล จากผลการศึกษาดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบแยกส่วน เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม สำหรับหมู่บ้านระดับราคาตํ่า เพราะสามารถดูแลรักษาได้ง่าย และใช้งบประมาณในการดูแลต่ำ แต่สำหรับหมู่บ้านในระดับราคาที่ต่างกัน ผลการศึกษาอาจมีความแตกต่างกัน จึงเป็นข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป-
dc.description.abstractalternativeVarious types of communities create different significant problems, such as overcrowding, traffic congestion, as well as environmental problems. As a result, guidelines to solve environmental issues are laid out for housing projects which are considered as one type of community. That is, every housing project is required to include a water treatment system. However, the system is often neglected in terms of maintenance. The study, therefore, aims to examine the residents' attitudes towards a water treatment system and to investigate the problems and obstacles of maintaining the system The instruments used in the study included questionnaires and observations. 4 low-cost housing projects in Bangkapi were randomly selected and statistical analyses were employed. With respect to the residents' attitudes towards the water treatment system, it was found that these differed among residents. Those who were aware of the on-site water treatment system in their house thought that it was their responsibility to provide maintenance which added to their expenses. On the other hand, the residents who were aware of a central water treatment system elsewhere in the project agreed that they did not need to take any responsibility. In addition, the study revealed that less than 4.8 percent of the residents were aware of on-site water treatment systems. However, these systems were better taken care of. Regarding the problems and obstacles of the system maintenance, the findings were as follows: 1. Awareness: There were fewer numbers of the residents aware of the on-site systems, but there was more maintenance. 2. Realization: The residents had good intentions but lacked understanding about water pollution and their water treatment system. Therefore, they did not realize its significance and its needs. 3. Attitudes: The residents viewed the water treatment system as additional expenses. Consequently, the low-income residents neither wanted the system, nor expenses from the maintenance cost. However, for the high income residents, their attitudes were different from person to person. It can be concluded from the study that an on-site water treatment system is appropriate for a low-cost housing project due to its easier maintenance and low cost. Future research is needed for higher-cost housing projects.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.378-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัดen_US
dc.subjectน้ำเสียชุมชนen_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.subjectบางกะปิ (กรุงเทพฯ)en_US
dc.subjectSewage -- Purificationen_US
dc.subjectAttitude (Psychology)en_US
dc.subjectBang Kapi (Bangkok)en_US
dc.titleทัศนคติต่อระบบบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านขนาดกลางและเล็ก : กรณีศึกษา โครงการหมู่บ้านจัดสรร เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeAttitudes toward water treatment system in medium and small housing : a case study of housing projects in Bang Kapi District, Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBanasopit.M@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.378-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chermsak_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ910.15 kBAdobe PDFView/Open
Chermsak_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.02 MBAdobe PDFView/Open
Chermsak_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.24 MBAdobe PDFView/Open
Chermsak_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.02 MBAdobe PDFView/Open
Chermsak_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.42 MBAdobe PDFView/Open
Chermsak_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.31 MBAdobe PDFView/Open
Chermsak_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6738.02 kBAdobe PDFView/Open
Chermsak_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.