Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65733
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพในเขตชุมชนเมือง กับการเกิดคดีอาชญากรรม : กรณีศึกษาเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร
Other Titles: Relationships between physical urban environment and crime in Suthisarn Metropolitan Police julistriction
Authors: เอกรินทร์ สิกขากูล
Advisors: จารุวรรณ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Charuwan.L@chula.ac.th
Subjects: อาชญากรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การป้องกันอาชญากรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การเกิดเป็นเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Crime -- Thailand -- Bangkok
Crime prevention -- Thailand -- Bangkok
Urbanization -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเบื้องต้นถึงผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชุมชนประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีต่ออาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีเงื่อนงำและเกิดจากการฉกฉวยโอกาสมากที่สุด จึงมีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด โดยถือว่าปัจจัยทางกายภาพเป็นปัจจัยแฝงของการเกิดคดีอาชญากรรม เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งจูงใจหรือโอกาสให้คนร้ายตัดสินใจกระทำผิด ซึ่งอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์เกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในที่อยู่อาศัยทุกประเภท ซึ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบกับปัญหาอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์สูงพื้นที่ หนึ่งของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เป็นการศึกษาสาเหตุจากข้อบกพร่องของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในที่พักอาศัยหรือบริเวณที่พักอาศัยของชุมชน ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่สถาปนิกและนักวางแผนไต้กำหนดลักษณะทางกายภาพ ที่ส่งผลเอื้ออำนวยต่อการเกิดอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์อย่างไรบ้าง ในการศึกษานี้ ได้นำแนวความคิดทางด้านนิเวศน์วิทยาอาชญากรรม อาชญาวิทยา แนวความคิดว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์และงานวิจัยต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องมาผสมผสานกันเป็นแนวทางในการศึกษา โดยใช้สถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งกำหนดให้มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในการศึกษาไต้เลือกตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์จากชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร จำนวน 310 ราย โดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลของการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างประสบคดีประเภทไม่อุกฉกรรจ์เป็นส่วนใหญ่ โดยมีกลุ่มคดีลักทรัพย์เกิดขึ้นหนาแน่นที่สุด รองลงมาเป็นคดีโจรกรรมรถยนต์/รถจักรยานยนต์และคดีวิ่งราวทรัพย์ ตามลำดับ และมีคดีประเภทอุฉกรรจ์เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ได้แก่ คดีชิงทรัพย์และคดีปล้นทรัพย์ ตามลำดับ โดยลักษณะของคดีที่เกิดขึ้น พบว่า มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพและเกิดจากการฉกฉวยโอกาสมากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดเหตุในช่วงเวลาระหว่าง 01.00-05.00 น และส่วนใหญ่ประสบอาชญากรรมในช่วงปี พ.ศ. 2541-2545 ในส่วนประเภทของอาคารที่เกิดเหตุมากที่สุด คือทาวน์เฮ้าส์ และมักเกิดเหตุในย่านที่อยู่อาศัยเบาบาง 2. คดีอุกฉกรรจ์ ได้แก่ คดีชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ จะมีสัดส่วนสูงขึ้นตามจำนวนทางเข้าออกในชุมชน และความกว้างของถนนในชุมชน สำหรับประเภทคดีไม่อุกฉกรรจ์ ได้แก่ คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ และคดี โจรกรรมรถยนต์/รถจักรยานยนต์ จะมีสัดส่วนสูงขึ้นตามขนาดชุมชนและจำนวนครัวเรือนต่อทางเดินร่วมหรือขนาดของกลุ่ม
Other Abstract: Crime is one of the urban dilemmas threatening the society’s well being, economic stability, and even the national security. Bangkok is among the mega cities plagued by such predicament. This research took the environmental psychology approach vis-a-vis the Criminological thought to study the relationship between property crimes and the residential built environment, particularly within the residential in Suthisarn Metropolitan Police station Area. The study applied an integrated structured interview and field observation methods to study a sample of 310 households, which carried a wide range of environmental attributes and crime rates in Suthisarn Metropolitan Police station Area. The results of the study revealed that, firstly, most property crime incidents เท such areas were petty burglary, where level of circumstantial criminal opportunity was the prime factor. Second, rates of robbery were found related to the number of entrances to the communities and the width of access roads. Third, most property crime were found during 01.00-.5.00 PM. In 1998-2002. Fourth, most property crime were found in "town house”. Fifth, most property crime were found in low density residential quarter.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65733
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.694
ISBN: 9741744838
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.694
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekarin_si_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ854.54 kBAdobe PDFView/Open
Ekarin_si_ch1_p.pdfบทที่ 1959.54 kBAdobe PDFView/Open
Ekarin_si_ch2_p.pdfบทที่ 23.52 MBAdobe PDFView/Open
Ekarin_si_ch3_p.pdfบทที่ 32.43 MBAdobe PDFView/Open
Ekarin_si_ch4_p.pdfบทที่ 44.24 MBAdobe PDFView/Open
Ekarin_si_ch5_p.pdfบทที่ 52.16 MBAdobe PDFView/Open
Ekarin_si_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.