Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6573
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชมพูนุช โสภาจารีย์ | - |
dc.contributor.author | นิษา วงษ์ชาญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-04-10T06:28:30Z | - |
dc.date.available | 2008-04-10T06:28:30Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741728271 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6573 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์(พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2545 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมารดา ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษา ระยะเวลาที่แยกจากบุตร การสนับสนุนของสามี และความรุนแรงของความเจ็บป่วยของบุตรในภาวะที่ทารกแรกเกิดหายใจลำบากกับสัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิด และศึกษาความสามารถของปัจจัยคัดสรรในการร่วมกันพยากรณ์สัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่คลอดทารกที่มีภาวะหายใจลำบากทันทีแรกเกิด ได้จากการคัดเลือกแบบบังเอิญจำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยด้านมารดา แบบบันทึกระยะเวลาที่แยกจากบุตร แบบสอบถามการสนับสนุนของสามี แบบสอบถามความรุนแรงของความเจ็บป่วยของบุตร และแบบสอบถามสัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิด แบบสอบถามทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการสนับสนุนของสามี แบบสอบถามความรุนแรงของความเจ็บป่วยของบุตร และแบบสอบถามสัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิด โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาธมีค่าเท่ากับ .83 .86 และ .79 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านมารดาได้แก่ อายุและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับสัมพันธภาพของมารดาทารก แรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลาที่แยกจากบุตรในภาวะที่ทารกแรกเกิดหายใจลำบากมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับสัมพันธภาพของมารดาทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.20 p < .05) การสนับสนุนของสามีและความรุนแรงของความเจ็บป่วยของบุตรในภาวะที่ทารกแรกเกิดหายใจลำบากมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและระดับต่ำกับสัมพันธภาพของมารดาทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .40 p < .05 , r = .25 p < .05) 2. กลุ่มตัวแปรคัดสรรสามารถพยากรณ์สัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิดได้ร้อยละ 20 (R2 = .20 p < .05) โดยการสนับสนุนของสามีและระยะเวลาที่แยกจากบุตรในภาวะที่ทารกแรกเกิดหายใจลำบากสามารถพยากรณ์สัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = .33 p < .05, Beta = -.20 p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนของสามีและระยะเวลาที่แยกจากบุตรในภาวะที่ทารก แรกเกิดหายใจลำบากมีความสำคัญกับสัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิด และผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลส่งเสริมสัมพันธภาพของมารดาต่อทารกในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to examine the relationships between maternal factors including age and education, separation time, paternal support, and severity of illness in newborn with respiratory distress and mother-infant bonding and to determine abilities of the selected factors in predicting mother-infant bonding. One hundred and ten subjects who were mothers of newborn with respiratory distress (RD) were selected through convenience sampling method. Data collection tools including maternal factor questionnaires, record of separation time, paternal support scale, severity of illness scale, and mother-infant bonding scale were content validated. The paternal support scale, severity of illness scale, and mother-infant bonding scale were tested for reliability from which the Cronbach's alpha were 0.83, 0.86, and 0.79, respectively. Statistical techniques used were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation, and multiple regression. Main findings were as follows : 1. Maternal factors including age and education were not significantly correlated with mother-infant bonding. Separation time in newborn with RD was negatively correlated with mother-infant bonding at significant level below .05 (r = -.20 p< .05). Paternal support and severity of illness in newborn with RD were significantly correlated with mother-infant bonding at moderate and mild level, respectively (r = .40 p< .05, r = .25 p< .05). 2. For the predictive abilities, all predictors together accounted for 20 percents of the variance in predicting mother-infant bonding (R2 = .20 p< .05). The results indicated that paternal support and separation time in newborn with RD were predictors of the mother-infant bonding (Beta = .33 p < .05, Beta = -.20 p < .05). The results from this study indicate the important contribution that paternal support and separation time in newborn with RD would explain mother-infant bonding. It can be used as guideline for nursing intervention to promote mother-infant bonding in newborn unit. | en |
dc.format.extent | 1648910 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | en |
dc.subject | มารดาและทารก | en |
dc.subject | ทารกแรกเกิด | en |
dc.subject | ระบบหายใจ | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมารดา ระยะเวลาที่แยกจากบุตร การสนับสนุนของสามีและความรุนแรงของความเจ็บป่วยของบุตรในภาวะที่ทารกแรกเกิดหายใจลำบากกับสัมพันธภาพของมารดาต่อทารกแรกเกิด | en |
dc.title.alternative | Relationships between maternal factors, separation time, paternal support and severity of illness in newborn with respiratory distress and mother-infant bonding | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chompunut.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.