Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65748
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพนันท์ ตาปนานนท์ | - |
dc.contributor.author | สุธี วิลาศชัยเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | เชียงใหม่ | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-12T06:10:58Z | - |
dc.date.available | 2020-05-12T06:10:58Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741743327 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65748 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตกุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาทางกายภาพของโบราณสถาน อันเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมือง ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขป้องกันปัญหาผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองเชียงใหม่ตามวิธีการทางผังเมือง ในการศึกษาสำรวจสภาพและปัญหาเน้นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินและการคมนาคมกับโบราณสถาน โดยใช้วิธีการแผนภาพเชิงซ้อน (overlay mapping) และการจำแนกการใช้ประโยชน์ (use classification) ในการวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อแจกแจงลักษณะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโบราณสถานตามช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของเมือง จากการศึกษา พบว่า โบราณสถานซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเมืองประวัติศาสตร์กระจายอยู่ในย่านการใช้ที่ดินของเมืองแบ่งออกเป็น 5 บริเวณคือ บริเวณเมืองเก่า บริเวณสุเทพ-ห้วยแก้ว บริเวณช้างเผือก-ช่วงสิงห์บริเวณริมฝังแม่น้ำปิง และบริเวณเวียงกุมกาม จากการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของปัญหาแบ่งออกเป็น17 ปัญหาย่อย และแบ่งกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในย่านต่าง ๆ ของเมืองออกเป็น 15 ย่าน พบว่า พื้นที่มีปัญหาด้านกายภาพมากคือ กลุ่มโบราณสถานในย่านพาณิชยกรรมรองลงมาได้แก่ กลุ่มโบราณสถานในย่านสถานที่ราชการและย่านที่พักอาศัย ตามลำดับ นอกจากปัจจัยทางด้านที่ตั้ง ขนาด และประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดินแล้ว ยังพบว่ารูปแบบโครงข่ายถนนและปริมาณการสัญจรในเมืองมีผลทำให้โบราณสถานในแต่ละย่านมีผลกระทบที่รุนแรงแตกต่างกันไป โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางกายภาพผากได้แก่ ย่านห้วยแก้ว ย่านท่าแพ ย่านคูเมืองชั้นใน ย่านสุเทพ ย่านช้างเผือก และย่านแม่น้ำปิง กลุ่มที่สองมีปัญหาทางกายภาพปานกลางได้แก่ ย่านมุลเมือง ย่านวัวลาย ย่านคูเมืองชั้นนอก ย่านเชิงดอยสุเทพ และย่านสันติธรรม-เจ็ดยอด ส่วนกลุ่มสุดท้ายมีปัญหาทางกายภาพน้อยได้แก่ ย่านกลางเวียง ย่านประตูสวนปรุง ย่านหายยา และย่านเวียงกุมกาม ผลการศึกษาสรุปได้ว่า บริเวณเมืองเก่าเป็นพื้นที่มีคุณค่าทางประวิติศาสตร์และมีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนพื้นที่มีผลกระทบโดดเด่นมากที่สุดคือ ย่านศูนย์การค้าห้วยแก้ว แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองเชียงใหม่ เสนอให้มีการใช้ผังเมืองรวมในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อควบคุมการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในย่านต่าง ๆ ของเมืองอย่างเหมาะสม โดยการกำหนดเป็นย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินและนำแผนผังข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำผังเมืองไปสู่การปฏิบัติ และสามารถควบคุมการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามผังได้โดยสมบูรณ์ จึงได้เสนอทางเลือกในการนำข้อเสนอไปใช้มี 2 ทางเลือก คือ 1) ใช้รูปแบบของผังเมืองและข้อกำหนดเดิม แต่ปรับปรุงรายละเอียดที่ยังขาดให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น 2) กำหนดให้พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์บริเวณต่าง ๆ ของเมืองเป็นพื้นที่พิเศษ เพื่อจัดกาง ‘'ผังเฉพาะ” โดยให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนิน การวางและจัดทำผังดังกล่าว | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of this Thesis is to study the physical conditions and problems of the historical sites derived from the city’s land use, as well as the direct and indirect impacts, and to offer the guidelines to solve and protect the impact problems of land use as well as to conserve Chiang Mai’s historical sites by using city planning process. The methods to study and survey the conditions and problems are emphasizing on the issues of transportations relating between land use and the historical sties by using overlay mapping and use classifications to analyze the related components in order to describe the nature of impacts happening to the historical sites during the period of the city’s land use changes. The studies found that historical sites, scattering as the city’s main components around the area of land utilization, are dividing into 5 areas in the anclent city namely the areas of Suthep-Huay Kaew, Chang Phuek – Khuang Sing Mae Ping River and Wieng Khum Kam. As a result of the assessment and analysis, found that the impact problems are divided into 17 minor problems and the classifications of the historical sites scattering around various city’s locations are divided into 15 neighborhoods. The neighborhood found with intense physical problems are the groups of historical sites located amidst commercial area, government area, and the residential area. Besides the factors of locations, sizes, and the type of land use, it is found that the designs of road patterns, and the volume of the city traffic in various neighborhoods are impacting the historical sites at different levels of intensities, whereby the first group showing intense physical impacts are located in Huaykaew, Thapae, inner city’s moats Suthep, Chang Phuek, and Mae Ping. The second section with medium physical problems are the those of Moon Muang, Wua Lai, and outer city’s moats, Doi Suthep’s base, and Santitham-Jed Yod; whereas the last group with the least physical problems are Klang Wieng, Suan Prung Gate, Hai Ya and Wieng Khum Kam. The studied result concluded that the ancient city areas of highest historical value and least problem are located at the town’s center, and the area most intensely impacted is Huay Kaew Commercial Center. The guidelines to conserve Chiang Mai’s historical sites proposed to implement the comprehensive plan together with land use to control the city development and make it complied with the historical sites that are located at various city’s neighborhoods by means of “Zoning” and “zoning map” as the essential tools to put such plans to practical use and develop each area to completely comply with the plans. Therefore, two choices are being proposed as follows: 1) Keep the original plans and specifications, and improving each lacking detail to make it well-fitting; 2) Designate the important historical sites in various city as special areas to set-up “specific plan” and request the local government to provide the said layout and plans. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การขนส่งในเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | เชียงใหม่ -- โบราณสถาน | en_US |
dc.subject | Land use, Urban -- Thailand -- Chiang Mai | en_US |
dc.subject | Urban transportation -- Thailand -- Chiang Mai | en_US |
dc.subject | Chiang Mai -- Antiquities | en_US |
dc.title | ผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Impacts of land utilization on the conservation of Chiang Mai historical sites | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Nopanant.T@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutee_vi_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 938.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sutee_vi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 863.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sutee_vi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutee_vi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutee_vi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutee_vi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 6.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutee_vi_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutee_vi_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 668.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.