Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65950
Title: เอกลักษณ์และความหมายเรื่องถิ่นในย่านชุมชนคลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน
Other Titles: Identity and meaning of place in the district of Klong Ong-Arng-Sapanhun
Authors: กนกวรรณ หิรัญรัตน์
Advisors: เลอสม สถาปิตานนท์
ทิพย์สุดา ปทุมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: lersom.s@chula.ac.th
tipsuda.p@chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สถาปัตยกรรม -- แง่จิตวิทยา
ที่อยู่อาศัย -- แง่สังคม
Dwellings -- Thailand -- Klong Ong-Arng-Sapanhun (Bangkok)
Domestic relations -- Thailand -- Klong Ong-Arng-Sapanhun (Bangkok)
Architecture -- Psychological aspects
Dwellings -- Social aspects
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกลักษณ์และความหมายเรื่องถิ่น เกิดขึ้นจากการสร้างความหมายจากความสัมพันธ์อันลึกขึ้งของการอยู่อาศัยของผู้คนและโลกแวดล้อมรอบตัวเขา ย่านใดสังคมใดที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ถิ่น’ นั้นย่อม สะท้อนให้เห็นถึงภาพชีวิตที่ปรากฏลงในย่านทั้งในทางกายภาพ กิจกรรม นำสู่ความหมายของ “ถิ่นแห่งชีวิต” ที่สั่งสมเรื่องราวประวัติศาสตร์ย่าน ประวัติศาสตร์ชุมชนสานให้ถิ่นแข็งแรงและปรากฏภาพของเอกลักษณ์ของถิ่นขึ้น แต่ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสังคมสมัยใหม่ ได้ลบเลือนภาพถิ่นแห่งชีวิตจากย่าน และชุมชนลงทีละน้อย หากย่านใดยังคงรักษาเอกลักษณ์และความหมายจากการอยู่อาศัยของผู้คนในย่านให้ดำรงอยู่ได้นั้น ย่อมแสดงถึงความแข็งแรงที่เกิดขึ้นจากโยงใยของชีวิตที่สานกันอยู่อย่างแนบแน่น ตั้งแต่ระดับของโยงใยของครอบครัว สู่โยงใยแห่งชีวิตของย่านและชุมชน ย่านชุมชนคลองโอ่งอ่าง-สะพานหิน เป็นย่านย่อยย่านหนึ่งในย่านเยาวราช-สำเพ็ง ที่ยังคงสะท้อนภาพการอยู่อาศัยอย่างแนบแน่นของคนไทยเชื้อสายจีนจากรุ่นบรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกหลานในยุคปัจจุบัน และ ยังคงรักษาความหมายของการเป็น “ถิ่นแห่งชีวิต” ทั้งจากการอยู่อาศัยในวาระของชีวิตประจำรันและในเทศกาลแห่งชีวิต สร้างความสัมพันธ์จองผู้คนให้ปรากฏภาพเป็นโยงใยของครอบครัว และการสานกันของ ตรอกทางเดินหลายตรอก นำสู่โยงใยแห่งทางที่ฉายให้เห็นภาพวิถีการอยู่อาศัยของผู้คนในย่าน และยังรวมถึงศาลเจ้าขนาดเล็กหลายแห่งที่เป็นศูนย์รวมศรัทธาและมงคลแห่งชีวิตของผู้คนในย่าน สะท้อนกายภาพของย่านที่สานกันอย่างแนบแน่นใกล้ชิด ความปรากฏจองภาพ “ถิ่นแห่งชีวิต” จึงเกิดขึ้นที่นี่ การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเอกลักษณ์และความหมายเรื่องถิ่นในย่านชุมชนคลองโอ่งอ่าง-สะพานหิน ที่เป็นตัวอย่างของถิ่นแห่งชีวิต โดยอาศัยการศึกษาภาคสนามจากการสังเกตการณ์ สัมภาษณ์และวิเคราะห์ ข้อมูลตามหลักมโนทัศน์ แนวคิด ปรัชญาปรากฏการณ์ศาสตร์และทฤษฎีจิตวิทยาสถาปีตยกรรม เพื่อทราบถึงเอกลักษณ์และความหมายจองย่านจากชีวิตครอบครัวที่ถือเป็น “ศูนย์กลางแห่งชีวิต” โดยเลือกครอบครัวกรณีศึกษา เป็นครอบครัวต้นเรื่องและครอบครัวสานเรื่องเป็นโยงใยของครอบครัว สานเรื่องราวชีวิตอยู่ในตรอกยาฉุน ตรอกซีฝกหนอ ตรอกเหล่ายาย ซึ่งอยู่ในย่านที่ทำการศึกษา นำไปสู่การวิเคราะห์เป็นความหมายของ “ทางแห่งชีวิต’ และสุดท้ายวิเคราะห์เป็น “ถิ่นแห่งชีวิต" ที่มีความหมายปรากฏขึ้นในการการศึกษา ได้แก่ "ถิ่นโยงใยครอบครัว-โยงใยชีวิต” “ถิ่นเพื่อนบ้านผูกพัน” “ถิ่นชุมชนปฏิสันถาร" “ถิ่นเทศกาลงานฉลอง" และ “ถิ่นแห่งงมงคลวัฒนธรรม'’ โดยความหมายจองถิ่นแห่งชีวิตที่ปรากฏขึ้นนี้ ท้ายที่สุด การวิจัยนี้ได้สรุปเป็นความหมายที่จะสร้างให้เกิด “ชีวิตในถิ่นใหม่" ด้วยความหมายห้าประการ อันได้แก่ “บ้านแห่งชีวิต" “หมู่บ้านเพื่อนบ้านผูกพัน” “ชุมชนปฏิสันถาร” “ย่านรองรับเทศกาลงานฉลอง” และ “ย่านสังคมวัฒนธรรม" ที่ปรากฏในกายภาพที่สะท้อนวัฒนธรรมการใช้สอสอยพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นมิติทางกายภาพที่จะเอื้อต่อความสมปรารถนาที่เป็นมิติทางจิตภาพของผู้อยู่อาศัย ที่ดำรงอาศัยอยู่ในย่านอย่างมีรากฐานอันมั่นคงในชีวิต เพื่อนำไปสู่การสร้างความหมายของ “ถิ่นแห่งชีวิต” ในย่านใหม่ชุมชนใหม่ในวันข้างหน้าต่อไป
Other Abstract: Dwelling in a certain place, human beings create relationships with their environment, and through meaningful relationships, identity and meaning of place is formed. Any districts called “place” reflect "images of lives" in district through physical features and human's activities that bring about meaning of place. History of district and of communities collected in the lived-space concretized the place, and eventually the identity is created. Today, identity and meaning of place are gradually faded by the impact of modernized society. However if the organization depth created from the solidly constructed web of life in every level of dwelling - - family level, neighborhood level, and district level - - will help sustain their identity and meaning of place. The district of Klong Ong-amg - Sapanhun has been a place that deeply dwelled by inhabitants for several generations. It maintains a “place of life" through its daily life and festive life. The tight physical environment of the community has created the physical close-knit relationship of the inhabitants and has merged them into the image of “web of families." Living along the narrow alleys, they dwell in the “environment of possibilities" made up by the “web of paths.” Moreover, a number of small shrines represent sacred spaces that unite the dwellers' faiths together. Consequently, the district of Klong Ong-arng - Sapanhun has become the place where identity and meaning of “place of life" is presence. Due to the uniqueness of the Klong Ong-amg - Sapanhun district, this research focuses on understanding of its identity and meaning. Eight-month-field observations are conducted to analyze the experiential and existential data through the ground and the process of Phenomenology and Psychology in Architecture. The observation process includes interview, sketches, photograph, and records. The web of families data are collected through five families. First, a family with strong community characteristics is selected as a “primary family." Later, “associated families" with their life stories related with the first one are participatory observed. The “path of life" is analyzed through the living of the five families on the different alleys, Trok Ya-choon, Trok See-fok-nor and Trok Lao-yai. As the result of above process, the analysis of identities and meanings of place of the district of the Klong Ong-amg - Sapanhun presents five category of “place of life" including “place of web of families - web of life," “place of neighborliness" ‘place of dialoging community," ‘place of festive life," and ‘place of merit culture." Finally, the research reveals meaningful relationship factors that help to create 'life' in the new place; ‘home of life," “village of neighborliness,” ‘dialoging community,” ‘district for festive life,” and ‘district of cultural society.” These characters can be found in a physical environment with the culture of small space that fulfills human needs and interweave the district to be wholly stronger and sustainable. The new meaningful place can allow human to take his place to make his dwelling be manifested.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65950
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.123
ISSN: 9745322903
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.123
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokwan_hi_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.27 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_ch1_p.pdfบทที่ 11.17 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_ch2_p.pdfบทที่ 21.57 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_ch3_p.pdfบทที่ 32.67 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_ch4_p.pdfบทที่ 43.73 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_ch5_p.pdfบทที่ 54.05 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_ch6_p.pdfบทที่ 64.69 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_ch7_p.pdfบทที่ 71.56 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_hi_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก721.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.