Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65997
Title: รูปแบบปฏิสัมพันธ์และกลไกการผสมผสานทางสังคมของชุมชนในพื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The patterns of social interaction and integrative mechanism in the communities in Northern Bangkok extended metropolitan region
Authors: ลักษณวดี ธนามี
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Wannasilpa.P@Chula.ac.th
Subjects: ชุมชน--ไทย--ปทุมธานี
การตั้งถิ่นฐาน--ไทย--ปทุมธานี
การใช้ที่ดิน--ไทย--ปทุมธานี
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Communities--Thailand
Urbanization--Thailand
Land use--Thailand
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบปฏิสัมพันธ์และกลไกของการผสมผสานของชุมชนในพื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างเมืองใหญ่กับพื้นที่โดยรอบมีการ ใช้ที่ดินแบบเมืองและชนบทปะปนกันไปตามเส้นทางคมนาคม โดยใช้แนวคิดองค์ประกอบของการตั้งถิ่นฐานของ Ekistics ศึกษาลักษณะชุมชนจากรูปแบบปฏิสัมพันธ์และกลไกการผสมผสานทางสังคมของชุมชนตามแนวคิดชุมชน 2 ขั้ว ที่มีการเคลื่อนไหวจากความเป็นชนบทไปสู่เมือง เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาด้วยวิธีการสำรวจไนลักษณะภาคตัดขวาง ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างศึกษาได้แก่ชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ เทศบาลตำบลคลองสอง ตำบลเชียงรากใหญ่และตำบลพืชอุดม หน่วยในการวิเคราะห์มี 3 ระดับคือ ระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านกายภาพใช้วิธีการซ้อนทับแผนที่ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยการทดสอบ F-test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนในพื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของกรุงเทพมหานครมีการเคลื่อนไหวจากความเป็นชนบทไปสู่เมือง แตกต่างกันตามปัจจัยทางกายภาพได้แก่สภาพทางภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้ง ระยะทางที่ใกล้-ไกลกับเมืองใหญ่ ความหนาแน่นของโครงข่ายที่เข้าถึงพื้นที่ ชุมชนที่ใกล้กับเมืองใหญ่ที่มีความเข้มข้นและความหลากหลายของกิจกรรมทุกประเภทปะปนกันในพื้นที่และตั้งอยู่ใกล้กับถนนสายหลักและ/หรือสายรองที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้สะดวก ชุมชนที่มีระยะห่างไกลออกไปมืความหลากหลายของกิจกรรมลดลงและมีความหลากหลายน้อยลงเมื่อไกลออกไปตามพื้นที่เกษตรกรรมหรือริมคลองแต่มีโครงข่ายถนนสายรองเชื่อมโยงเข้าสู่ถนนสายหลักได้ นอกจากนี้ยังแตกต่างกันตามปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ อายุ เพศ ศาสนาการศึกษา อาชีพ รายได้และระยะเวลาการอยู่อาศัย ในแต่ละชุมชนมีประชากร 2 กลุ่มใหญ่คือประชากรตั้งเดิมและประชากรย้ายถิ่นแบ่งชุมชนได้ 3 ลักษณะตามการเคลื่อนไหวจากความเป็นชนบทไปสู่เมืองจากทำเลที่ตั้งที่ไกลเมืองใหญ่เข้ามาใกล้เมืองมากขึ้น ได้แก่ 1) ชุมชนที่มีความเข้มข้นของการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เบาบาง ส่วนใหญ่เป็นประเภทที่อยู่อาศัย ตั้งอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนตั้งเดิมมีคนต่างถิ่นน้อยมากหรือแทบไม่มี มีรูปเแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบชนบท มีความสัมพันธ์กันแบบญาติ ทั้งในครอบครัวและในกลุ่มเพื่อน มีระดับการผสมผสานทางสังคมสูงและกลไกการผสมผสานทางสังคมเป็นแบบไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่ 2) ชุมชนที่มีความเข้มข้นของการใช้ประโยชน์ที่ดินหลากหลายมากกว่าชุมชนลักษณะแรกประชากรดั้งเดิมเริ่มมีรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ค่อนมาทางเมืองมากขึ้น ระดับการผสมผสานทางสังคมมีค่อนข้างสูงและมีกลไกการผสมผสานทั้งแบบไม่เป็นทางการและแบบเป็นทางการ ส่วนประชากรที่ย้ายถิ่นเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบเมืองโดยมีเป้าหมายเพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการอยู่อาศัยและการทำงาน 3) ชุมชนที่มีความเข้มข้นของการใช้ประโยชน์ที่ดินสูงและ มีความหลากหลายกิจกรรมในพื้นที่มาก ในกลุ่มประชากรตั้งเดิมแทบไม่ปรากฎรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบชนบทแล้ว ในขณะที่กลไกการผสมผสานทางสังคมมีทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ กลุ่มประชากรที่เป็นคนย้ายถิ่นรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบเมืองที่มีเป้าหมายการอยู่อาศัยเข่นเดียวกับกลุ่มผู้ย้ายถิ่นในชุมชนลักษณะที่ 2 มีระดับการผสมผสานทางสังคมในชุมชนลักษณะนี้มีระดับตํ่าและมีกลไกการผสมผสานทางสังคมแบบเป็นทางการเป็นส่วนใหญ่
Other Abstract: The research aims to explore patterns of social interaction and social integrative mechanism in communities in Bangkok northern Extended Metropolitan Region, which is identified as Mega-urban Region type 2 by McGee. Based on the “ekistic”, the bi-polar, and the social system approaches, patterns of social interaction and social integrative mechanism are studied in 4 communities with varying degrees of urban and rural physical and socio-economic characteristics along the rural urban continuum. Data are collected through survey and structured interview, using individuals, households, and communities as units of analysis. Research results reveal that communities in Bangkok northern Extended Metropolitan Region are moving from rural to urban type at different paces and degrees due to physical factors, i.e., geographical setting, location, distance from the city, and accessibility. In addition, the difference is also due to socioeconomic factors, i.e., age, sex, religion, educational level, occupation, income, and duration of stay of community residents, mostly comprising of 2 groups: old-timers and new-comers. เท conclusion, three types of communities revealing different patterns of social interaction and integrative mechanism are found in this area. The first type composes of communities with low intensity of land use, mostly as residential area, located on agricultural land. Almost all of the residents are old-timers and have primary social interaction in the family and among friends. Level of social integration is high and integrative mechanisms are informal. The second type are communities with more intensity and diversity of land use than the first type. The old-timers in these communities begin to have "urban type" social interactions, with rather high level of social integration through both formal and informal integrative mechanism. The newcomers in these communities have “urban type" social interactions just to gain convenience and safety in living and working. The third are communities, with high intensity and diversity of activities and land uses. Among old-timers in these communities, there is almost no trace of “rural type" social interactions, while integrative mechanisms are both formal and informal. Among new-comers, social interaction is the same as the second type with low level of integration and integrative mechanisms are mostly formal.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65997
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.541
ISBN: 9745315877
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.541
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Luksanawadee_ta_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.37 MBAdobe PDFView/Open
Luksanawadee_ta_ch1_p.pdfบทที่ 11.26 MBAdobe PDFView/Open
Luksanawadee_ta_ch2_p.pdfบทที่ 25.9 MBAdobe PDFView/Open
Luksanawadee_ta_ch3_p.pdfบทที่ 33.08 MBAdobe PDFView/Open
Luksanawadee_ta_ch4_p.pdfบทที่ 43.93 MBAdobe PDFView/Open
Luksanawadee_ta_ch5_p.pdfบทที่ 513.88 MBAdobe PDFView/Open
Luksanawadee_ta_ch6_p.pdfบทที่ 61.73 MBAdobe PDFView/Open
Luksanawadee_ta_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.