Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66441
Title: การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของชุมชนริมน้ำดั้งเดิมในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Transformation for the survival of traditional water-based communites in Amphawa district, Samut Songkhram province
Authors: วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ
Advisors: วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wannasilpa.P@Chula.ac.th
Siriwan.S@Chula.ac.th
Subjects: ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- สมุทรสงคราม
การปรับตัวทางสังคม
Waterfronts -- Thailand -- Samut Songkhram
Social adjustment
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่รอดของชุมชนริมน้ำดั้งเดิมในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของชุมชนริมน้ำดั้งเดิม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการอยู่รอดของชุมชนริมน้ำ 3) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการอยู่รอดของชุมชนริมน้ำ และ 4) เสนอแนะเชิงนโยบายที่เหมาะสมเพื่อการดำรงอยู่สืบต่อไปของชุมชนริมน้ำ โดยพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยจากแนวความคิดของ Rapoport (1977) และ Garnham (1985) ที่ใช้องค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง มาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาลักษณะเฉพาะที่บ่งชี้ความเป็นตัวตนของชุมชน ได้แก่ลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่น กิจกรรมและหน้าที่ที่พึงสังเกตได้ชัด และการสื่อความหมายหรือสัญลักษณ์ที่ปรากฎในชุมชน ผลจากการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนริมน้ำดั้งเดิมในพื้นที่อัมพวาเกิดการเปลี่ยนแปลงมีด้วยกัน 2 ประการ คือ การพัฒนาระบบถนน ที่ส่งผลต่อการทำลายและลดบทบาทความสำคัญของระบบเครือข่ายลำน้ำ และการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ทำให้สมดุลของสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในระบบลุ่มน้ำเกิดเปลี่ยนแปลง ผลจากการเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้คนต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยพยายามรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเอาไว้ หากเป็นชุมชนริมน้ำในเขตเมือง การปรับตัวเป็นการเคลื่อนย้ายบ้านเรือนและร้านค้าริมน้ำมาปลูกสร้างใหม่บริเวณริมถนนภายในชุมชน เพื่อประกอบอาชีพเดิมต่อไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมน้ำ ส่วนชุมชนริมน้ำในเขตชนบท เป็นการแบ่งสมาชิกในครัวเรือนออกไปทำงานนอกภาคเกษตร และการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ภายในสวน ผลจากการปรับตัวนอกจากทำให้ครัวเรือนอยู่รอด ยังมีผลต่อการรักษาสถานภาพของความเป็นชุมชนริมน้ำให้ดำรงอยู่สืบมาถึงปัจจุบัน ส่วนการอยู่รอดของชุมชนริมน้ำ พบว่า จะแปรผกผันกับระดับของการพัฒนาหรือความเป็นเมืองของชุมชน โดยชุมชนที่มีความเป็นเมืองที่มากกว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกองค์ประกอบสำคัญของชุมชนในระดับที่มากกว่า ทำให้การดำรงอยู่ของชุมชนริมน้ำอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการอยู่รอด จากกรณีศึกษาชุมชนริมน้ำในพื้นที่อัมพวา สรุปได้ว่า ข้อค้นพบในเชิงทฤษฎีแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาใช้พิจารณาได้ทั้งลักษณะเฉพาะของชุมชนริมน้ำ และประเมินสถานภาพการอยู่รอดของชุมชน แต่ต้องมีการปรับเงื่อนไขที่นำมาใช้พิจารณา คือ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น กิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจของชุมชน และวิถีชีวิตของคนที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ส่วนข้อค้นพบในเชิงนโยบาย พบว่า การรักษาความเป็นชุมชนริมน้ำให้อยู่รอดต่อไป ขึ้นอยู่กับการพยายามรักษาเงื่อนไขสำคัญทั้งหมดของการอยู่รอด ประกอบด้วยการรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำและระบบเครือข่ายลำน้ำ การรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจของครัวเรือนให้อยู่ในลักษณะเศรษฐกิจแบบพอเพียงและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเป็นหลักในการผลิต การรักษาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างคนกับน้ำ และมีการรับช่วงสานต่อของคนรุ่นถัดไปที่เหมาะสม จากเงื่อนไขดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นข้อพิจารณาประกอบการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาถนน และทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่เป็นลักษณะเฉพาะของชุมชนริมน้ำ ไม่ให้ถูกทำลายหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วก่อนเวลาอันควร
Other Abstract: This dissertation is aimed to study the phenomenon of transformation for the survival of traditional water-based communities in Amphawa district. The study consists of 1) study on transformation for the survival of traditional water-based communities; 2) factors to transformation and the survival of water-based communities; 3) trends in transformation and capabilities for the survival of water-based communities; and 4) policy recommendations as appropriate to the survival of water-based communities. The formulation of preliminary concept of the research is based on Rapoport (1977) and Garnham (1985) concepts by which 3 key components have been applied as conditions to examine the specific characteristics that identified the community identities. Those are distinguished geographical characteristics, prominent activities and functions, and conveyance of meanings or symbols. The study revealed that there were two factors that led to changes in the water-based communities i.e. the development of road networks which was the cause to the deterioration and the declining roles of waterway network system; and the construction f dams in the upstream of Mae Klong river basin that significantly changed the balance of ecological environment in the water basin system. As a consequence, inhabitants had to fine-tune themselves for survival by maintaining economic balance of households. With regard to the water-based communities in urban areas, the transformation was on the relocation of water-based houses and shops to the new sites along the community roads in order to sustain their job activities. This had led to the transformation of settlement structure of water-based communities. Regarding the rural water-basedcommunities, some members in households had shifted to work in non-agricultural sector and also adjusted into the new production system in plantation. The transformation has resulted not only in the survival of households but also in sustaining the water-based communities up to nowadays. In connection with the survival of water-based communities, it is contradicted to the level of development or community urbanzation. That is, the more urbanized level the water-based communities are, the higher changes in key components in every aspect of communities will take place. This has brought high risk to the survival of water-based communities. From the case study of Amphawa water-based communities, it can be concluded that in theoretical implication, the concept can examine both the specific characteristics of water-based communities and the evaluation of the community survival. Nevertheless, conditions need to be adjusted are distinguished geographical characteristics, major economic activities of the communities, and people's way of life related to water. In policy implication, it was found that the survival of the water-based communites relied on the attempts to maintain all key factors for the survival. Those are preservation of water resource endowments and waterway system, keeping of economic balance of households by taking into account of sufficiency economy and utilizing of communities' resources as major inputs for production, and upholding of relationships between human and water along with appropriately taking-over by next generation. Those conditions can be applied for the provision of community development policies-the development of road network and water resource in particular. This is to maintain the major components which are accounted to be the specific characteristics of the water-based communities, not to be rapidly deteriorated or changed in untimely manner.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66441
ISBN: 9741423764
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilawan_ph_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.41 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch1_p.pdfบทที่ 11.37 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch2_p.pdfบทที่ 23.21 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch3_p.pdfบทที่ 32.31 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch4_p.pdfบทที่ 411.38 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch5_p.pdfบทที่ 511.51 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch6_p.pdfบทที่ 64.62 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch7_p.pdfบทที่ 71.63 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.