Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66849
Title: การศึกษาการตลาดของการปรับเปลี่ยนท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์
Other Titles: Market study on transforming Maptaphut industrial multipurpose terminal to container terminal
Authors: สิทธิเดช สุปัญญาพาณิชย์
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kamonchanok.S@Chula.ac.th
Subjects: ท่าเรือ -- ไทย
ท่าเรือ -- การจัดการ
การบริหารงานโลจิสติกส์
ระบบขนส่งคอนเทนเนอร์
ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
Harbors -- Thailand
Harbors -- Management
Business logistics
Containerization
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการตลาดของการปรับเปลี่ยนท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ โดยทำการศึกษา 2 ด้าน คือ 1.ศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการส่งออกสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนออร์ที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด 2.ศึกษาการตลาดด้านแนวโน้มปริมาณการส่งออกสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ที่คาดว่าจะมาใช้บริการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด หากมีการปรับเปลี่ยนจากท่าเทียบเรืออเนกประสงค์เป็นท่าเทียบเรือ คอนเทนเนอร์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการส่งออกด้วยตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ อุตสาหกรรมมาบตาพุดของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและโรงงานอุตสาหกรรมภายในรัศมี 40 กิโลเมตรจากท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้ง 75 โรงงานให้ความ สำคัญกับปัจจัย 3 ด้านเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านกระบวนการในการยกตู้ สินค้าของท่าเรือ ด้านการเชื่อมต่อกับการขนส่งภายในประเทศและด้านท่าเรือ นอกจากนี้พบว่า ปัจจัย ด้านค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือเรียกเก็บเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในมุมมองของสายการเดินเรือและผลจากการ พยากรณ์แนวโน้มปริมาณการส่งออกตู้สินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมภายในรัศมี 40 กิโลเมตรจากท่า เรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด พบว่าปริมาณตู้สินค้าส่งออกมีจำนวน 236,689 TEUS ในปี พ.ศ.2549 และเพิ่มขึ้นเป็น 2,143,426 TEUS ในปี พ.ศ.2560 ผู้วิจัยเห็นว่าการศึกษานี้มีความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนท่าเรืออเนกประสงค์ ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ เนื่องจากมีปริมาณการส่งออกตู้สินค้ามาสนับสนุน รวมทั้งท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดได้เปรียบในด้านค่าขนส่งสินค้าจากโรงงานไป ยังท่าเทียบเรือ นอกจากน่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดยังต้องตระหนักถึงการจัดหาเครื่องมือยกตู้ สินค้าของท่าเรือให้เพียงพอกับความต้องการ การดึงสายเรือให้มารับตู้สินค้าที่ท่าเรืออุตสาหกรรม มาบตาพุด และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บกับผู้ส่งออกและบริษัทเรือต้องสามารถแข่งขันกับท่าเรือแหลมฉบังได้
Other Abstract: The objective of this paper is to study a market study on transforming Maptaphut industrial multipurpose terminal to container terminal, focusing on 2 main aspects: 1. The factors influencing decision to export container at Maptaphut Industrial Port. 2 Market trend of export container throughput at Maptaphut Industrial Port in case of transform multipurpose terminal to container terminal. The findings reveal that factors influencing decision to export container at Maptaphut Industrial Port from the view point of the factories in Maptaphut industrial estate and within radius of 40 kilometers from Maptaphut Industrial Port as follows: container handing process, connection to inland transportation, and the physical aspect of the port. Moreover it is found that expenditures factor is one more significant factor from the view point of shipping line. The forecast of all that the export container trend of factories within radius of 40 kilometers from Maptaphut Industrial Port are that the volume of export container is 236,689 teus in the year 2006 and increase to 2,143,426 teus in 2017. The researcher finds that it is feasible to transform Maptaphut industrial multipurpose terminal to container terminal due to : the volume of export container and the advantage in transportation cost from factory to Maptaphut Industrial Port is cheaper than factory to Laemchabang Port. However the Maptaphut Industrial Port should consider to provide more container handling equipments in order to induce container vessel to call at Maptaphut Industrial Port, and the port tariff should be competitive to Laemchabang Port.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66849
ISBN: 9741745354
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sitthidech_su_front_p.pdf928.83 kBAdobe PDFView/Open
Sitthidech_su_ch1_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sitthidech_su_ch2_p.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Sitthidech_su_ch3_p.pdf841.5 kBAdobe PDFView/Open
Sitthidech_su_ch4_p.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Sitthidech_su_ch5_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sitthidech_su_back_p.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.