Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67169
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์-
dc.contributor.authorนิติพงษ์ ทับทิมหิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-21T07:09:49Z-
dc.date.available2020-07-21T07:09:49Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67169-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติความเป็นมา กระบวนท่ารำ กลวิธี ในการรำ รวมถึงวิเคราะห์ท่ารำเพลงหน้าพาทย์เสมอในการแสดงละครพันทางและบริบททางสังคม โดยเลือกศึกษาเฉพาะกระบวนท่ารำที่สืบทอดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ และเฉพาะกระบวนท่ารำที่เกิดขึ้นในยุคกรมศิลปากรโดยศึกษา จากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตุการณ์ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า เพลงเสมอในการแสดงละครพันทาง หรือ เพลงเสมอออกภาษา คือ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงเพื่อประกอบกิริยาการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในระยะใกล้ ของตัวละครตามเชื้อชาตินั้นๆ นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่โบราณจารย์ทางด้านดุริยางคศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ ขึ้น โดยศึกษาเพลงดนตรีของชาติต่างๆแล้วแต่งทำนองขึ้นโดยใช้ทำนองอย่างไทย แต่ดัดแปลงให้มี สำเนียงออกภาษาตามเชื้อชาติ ซึ่งพบว่าเพลงเสมอออกภาษาที่ปรากฏใช้ในการแสดงละครพันทาง ของกรมศิลปากรมี 5 เพลง ได้แก่ เพลงเสมอลาว ในละครเรื่องพระลอ และขุนช้างขุนแผน เพลงเสมอพม่า ในละครเรื่องราชาธิราช ผู้ชนะสิบทิศ ศึกเก้าทัพ และตะเลงพ่าย เพลงเสมอมอญ ในละครเรื่องราชาธิราช และผู้ชนะสิบทิศ เพลงเสมอแขกในละคร เรื่องอิเหนา อาบูฮะซัน และพระอภัยมณี เพลงเสมอชวา ในละครเรื่องอิเหนา กระบวนท่ารำเพลงเสมอออกภาษา แบ่งตามโครงสร้างของการบรรเลงดนตรีได้ 3 ช่วง คือ ไม้เดิน ไม้ลา และรัว ซึ่งแต่ละเพลงมีลักษณะท่ารำที่เชื่อมโยงมาจากการรำแม่บทใหญ่และลักษณะ ท่ารำที่เลียนแบบมาจากนาฏยศิลป์นานาชาติตามเชื้อชาติของตัวละคร รวมทั้งมีลักษณะเด่นที่บ่งบอก เชื้อชาติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กระบวนท่ารำเพลงเสมอออกภาษาทุกเพลง พบว่ามีหลักและวิธีการ ปฏิบัติที่ตรงกัน คือ การถ่ายน้ำหนักลำตัวไปตามการก้าวเท้า รวมถึงการเอียงศีรษะ กดเอวกดไหล่ ไปตามการถ่ายน้ำหนักลำตัวด้วย งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นตำราทางวิชาการ อันเป็นประโยชน์ต่อครู นาฏยศิลปิน และ บุคลากรทางด้านนาฏยศิลป์ไทย เพื่อเป็นแนวทางในการแสดงและการศึกษาต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the historical background, patterns, and techniques of Samer dance as well as to analyze its dance patterns in Lakornpuntang during the Fine Arts Department period, specifically the dance patterns succeeded by Thailand National Artist, Asst Prof Dr. Supachai Chansuwan.The methods used in this research are studying from the documents, interviewing, observing and self-practicing. The research found that Samer song in Lakornpuntang or Samer Okpasa song is Na Phat song used as the accompanying song with the short walking manner of each national character from one place to another place. It was created by the venerable masters of Thai music arts by developing Thai style's melody adapted from studied international songs but adjusted to have the atmosphere of international accent. There are 5 songs applied in Lakornpuntang of the Fine Arts Department including; Samer Lao song in Phra Lo and Khun Chang Khun Pan. Samer Burmese song in Rajathiraj, Phu Chana Sib tis, Seuk Kao Tap and Taleng Pai. Samer Mon song in Rajathiraj and Phu Chana Sib tis. Samer Kaek song (malasian and Arabian) in Inao, Abuhasan and Phra Apai Manee. Samer Java song in Inao. Samer dance patterns are divided into 3 sessions according to the structure of melody playing including Mai Deun, Mai La and Roa. Each session has the movement based on Thai original dance patterns and adopted some dance patterns from our neighbor country dance with their obvious identity. It was also found that every Samer Okpasa dance patterns has the same principal and method of Thai dance including weighting right and left with contraction and release movement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.594-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการรำ -- ไทยen_US
dc.subjectนาฏศิลป์ไทยen_US
dc.subjectละครพันทางen_US
dc.subjectเพลงหน้าพาทย์en_US
dc.subjectเพลงหน้าพาทย์en_US
dc.subjectเพลงเสมอen_US
dc.subjectDance -- Thailanden_US
dc.subjectDramatic arts, Thaien_US
dc.titleการรำเพลงหน้าพาทย์เสมอในละครพันทางen_US
dc.title.alternativeSamer dance patterns in Lakornpuntangen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAnukoon.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.594-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitipong_tu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ906.65 kBAdobe PDFView/Open
Nitipong_tu_ch1_p.pdfบทที่ 1844.57 kBAdobe PDFView/Open
Nitipong_tu_ch2_p.pdfบทที่ 24.09 MBAdobe PDFView/Open
Nitipong_tu_ch3_p.pdfบทที่ 31.18 MBAdobe PDFView/Open
Nitipong_tu_ch4_p.pdfบทที่ 41.85 MBAdobe PDFView/Open
Nitipong_tu_ch5_p.pdfบทที่ 5885.84 kBAdobe PDFView/Open
Nitipong_tu_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก12.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.