Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67195
Title: การบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงพยาบาลชั้นนำในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา 4 โรงพยาบาล
Other Titles: A study on facility management of four first class hospitals in Bangkok
Authors: ณัฐรีย์ยา ฐปนาณิชาวงค์
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารทรัพยากรกายภาพ
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล -- การบริหาร
โรงพยาบาล -- การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
Hospitals -- Facilities
Hospitals -- Administration
Facility management
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรงพยาบาลชั้นนำมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องระดับการรักษาพยาบาล ระดับการให้บริการ ระดับคุณภาพ และอาคารสถานที่ โดยมีอัตราค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ทั่วไปมักพบว่าโรงพยาบาลระดับนี้มีอาคารสถานที่ที่มีความสวยงามโดดเด่นแตกต่าง จึงสะท้อนความสำคัญของปัจจัยด้านกายภาพที่มีต่อการดำเนินธุรกิจของโรงพยาบาลรวมถึงการบริหารและจัดการทางด้านภายภาพ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลชั้นนำ รวมถึงระบบการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงพยาบาลชั้นนำ การศึกษานี้ใช้แนวทางศึกษาแบบหลายกรณีศึกษา (Multi case study) โดยกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การศึกษาจำนวน 4 กรณีศึกษา ได้แก่ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช และโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์สืบค้นเอกสาร และสำรวจ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลชั้นนำกรณีศึกษาลักษณะทางกายภาพที่ได้รับการตกแต่ง ออกแบบสวยงาม ใช้วัสดุชั้นดีและหลากหลายในการตกแต่ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกร้านค้าที่นอกเหนือจากบริการทางการแพทย์ครอบคลุมไปถึงความจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน ห้องพักผู้ป่วยมีหลากหลายระดับ มีสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพักผู้ป่วยครบครัน สิ่งอำนวยความสะดวกร้านค้าที่มากกว่าบริการทางการแพทย์ ได้แก่ ธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร ร้านขายกาแฟและเบเกอรี่แบรนด์ระดับสากล ร้านดอกไม้ ร้านขายของเยี่ยม ร้านขายสินค้าเกี่ยวกับแม่และเด็ก ร้านขายหนังสือ ร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านเสริมสวย เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง และร้านขายอุปกรณ์เสริมสำหรับโทรศัพท์มือถือและสินค้าไอที ห้องพักผู้ป่วยพบเป็น 3 ระดับ คือ ระดับพิเศษมาก ระดับพิเศษ และระดับมาตรฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพักผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในห้องพักผู้ป่วยทุกระดับ ได้แก่ ชุดโต๊ะรับประทานอาหาร, เตียงไฟฟ้าและ โต๊ะคร่อมเตียง, ปุ่มกดเรียกพยาบาล, ทีวีพร้อมสัญญาณดาวเทียม, โซฟารับแขกปรับนอนได้, โต๊ะรับแขก, เก้าอี้นั่งข้างเตียง, โทรศัพท์, ตู้เซฟ, ตู้เสื้อผ้า, ตู้เย็น, ไมโครเวฟ, กระติกน้ำร้อน, ชุดภาชนะ, ชุดชา กาแฟ และเครื่องดื่ม, ห้องน้ำและ Amenity Set และ ราวตากฟ้า โดยห้องพักระดับพิเศษและพิเศษมากจะมีขนาดพื้นที่ห้องที่มากขึ้นตามลำดับ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับญาติที่เพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลชั้นนำกรณีศึกษามีลักษณะการใช้งานอาคารทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ใช้งานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้งานประจำ และผู้ใช้งานเป็นครั้งคราว การบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงพยาบาลชั้นนำกรณีศึกษามีขอบเขตงานเน้นเรื่องการดูแลกอาคารสถานที่เป็นส่วนใหญ่ โดยพบว่ามีขอบเขตงานด้านการดูแลเครื่องมือแพทย์ในบางกรณี การดำเนินงานระดับปฏิบัติการพบว่า งานที่โรงพยาบาลดำเนินการเองเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ งานบริหารโครงการ งานยานพาหนะ งานบริการกลาง งานที่โรงพยาบาลดำเนินงานโดยจ้างบริษัทภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ งานบำรุงรักษาและงานซ่อม งานดูแลสวนและภูมิทัศน์ งานบริการผ้า งานโภชนาการ งานบริการกำจัดแมลง งานบริการรับฝากรถยนต์ และงานขนย้าย จัดสถานที่ งานที่โรงพยาบาลดำเนินการเองร่วมกับจัดจ้างบริษัทภายนอก ได้แก่ งานรักษาความปลอดภัย งานรักษาความสะอาด เป็นต้น การจัดโครงสร้างหน่วยงานด้านบริหารทรัพยากรกายภาพจัดตามประเภทงานแบ่งออกเป็นแผนก/หน่วยงาน โรงพยาบาลชั้นนำกรณีศึกษามีการจัดการด้านความเสี่ยง ในด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และอุบัติภัย การจัดงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรภายภาพ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณค่าใช้จ่ายอาคาร และงบประมาณเพื่อการลงทุนที่เกี่ยวกับอาคารสถานที่ โรงพยาบาลชั้นนำกรณีศึกษาได้กำหนดให้มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของงานระดับปฏิบัติการพบว่าเน้นการวัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Operation / Service Performance) และวัดประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน (Environment Health & Safety (EHS) Performance) เป็นสำคัญ จากการศึกษาสรุปได้ว่า การบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงพยาบาลชั้นนำกรณีศึกษาเน้นการสนับสนุนบริการทางการแพทย์ไม่ให้เกิดการสะดุดติดขัด การบริการที่เป็นเลิศ อาคารสถานที่ต้องได้มาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพสูง อาคารสถานที่มีสภาพที่ดี พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และเป็นอาคารที่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน มีขอบเขตงานด้านการดูแลอาคารสถานที่ทางกายภาพเป็นสำคัญ การจัดหาผู้ปฏิบัติงานระดับปฏิบัติการจะดำเนินการโดยจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทภายนอกมาดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ โครงสร้างหน่วยงานจัดงานตามหน้าที่ ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความเสี่ยง และ การวัดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดในงานระดับปฏิบัติการอาคาร
Other Abstract: In general, first-class hospitals offer not only high quality of medical treatment and top grade service, but also impressive environment as well as every comfort and luxurious facilities. The latter reflects and represents the importance of facilities and practice of facility management (FM) towards hospital's business operations and competitiveness of first-class hospital's facilities and its FM practices. The study adopted multi-case study approach. Four hospitals were chosen, including Samitivej Sukhumvit, Samitivej Srinakarin, Bangkok Nursing Home Hospital (BNH), and Siriraj Piyamaharajkarun Hospital. The data collection was conducted through semi-structured interviews, observations, and documentary search. The study suggested that these leading hospitals provide their clients with nicely decorated and well-designed facilities constructed using various kinds of high-quality materials. Furthermore, in-patients have several choices of accommodation including standard, deluxe, and VIP rooms with fully-equipped facilities. The basic facilities in all rooms are a dining table, an electric adjustable bed, an over-bed table, call buttons for a nurse, a satellite/cable television, a bed couch, a coffee table, chairs, a telephone, a personal electronic safe box, a wardrobe, a refrigerator, a microwave oven, an electric hot pot, a set of dishware and glassware, daily refreshments, a clothes line, a bathroom, and an toiletries set. The differences between room types are size and the number of amenities, in which amenities seem to increase in relation to the room size. The hospitals tend to have a variety of shops ranging from banks, convenience stores, restaurants, coffee shops, bakeries, florists, gift shops, mothers shops, bookstores, health shops, clothes shops, beauty salons, cosmetic counters, and cell phone and IT (Stores). Their buildings are constantly used. This study found that FM units to the case study hospitals basically focus on the matter of managing and controlling facility operations and service at middle level. It also found that most basic facility service, such as administrative work, vehicles, and central administration are contracted at to professional service provider, while services such as gardening and landscaping, laundry services, nutrition, pest control, car parking and additional services management are found provided by in-house staff. These are some services such as security and cleaning provided by both in-house and outsourcing operators. The leading hospitals in this study employed risk management for safety, sanitation, and accident prevention. The FM budget was comprised of operating budget and capital investment. Their key performance indicators involve operation and service performance, and Environment, Health and Safety Performance. It can be concluded from the study that the facilities management of these leading hospitals focuses on supporting excellent and trouble-free health care services. Apart from meeting international standards, the buildings need to be in excellent condition, be available and safe to used, and have high efficiency. These leading hospitals also have a clear demarcation for facilities management. They emphasize very significantly on risk management and evaluation of performance efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67195
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nathariya_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.11 MBAdobe PDFView/Open
Nathariya_th_ch1_p.pdfบทที่ 11.11 MBAdobe PDFView/Open
Nathariya_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.27 MBAdobe PDFView/Open
Nathariya_th_ch3_p.pdfบทที่ 31.02 MBAdobe PDFView/Open
Nathariya_th_ch4_p.pdfบทที่ 45.23 MBAdobe PDFView/Open
Nathariya_th_ch5_p.pdfบทที่ 52.46 MBAdobe PDFView/Open
Nathariya_th_ch6_p.pdfบทที่ 61.02 MBAdobe PDFView/Open
Nathariya_th_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก759.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.