Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67838
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนัย ทายตะคุ-
dc.contributor.advisorสมชาย นิลอาธิ-
dc.contributor.authorเจษฎา จันทร์นนท์-
dc.date.accessioned2020-09-09T03:00:44Z-
dc.date.available2020-09-09T03:00:44Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741419228-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67838-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์โดยวิธี การซ้อนทับข้อมูลจากเอกสารบันทึกการเดินทางในอีสานของเอเจียนแอมอนิเยกับแผนที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ และเพื่อศึกษาแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ในด้านการเปลี่ยนแปลงในเชิงเปรียบเทียบตลอดจนเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแผนที่ภูมิทัศน์ เชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางในการศึกษาขั้นก้าวหน้าในลักษณะต่าง ๆ ต่อไปการสร้างแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Landscape Mapping) เป็นกระบวนการ แปลงข้อมูลการบันทึกที่บรรยายเกี่ยวกับพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอดีต ให้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปของแผนที่ โดยอ้างอิงข้อมูลหรือเอกสารสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพื้นที่ที่ศึกษา เช่น แผนที่ประกอบรายงานการสำรวจในอดีต แผนที่ภูมิประเทศในอดีตของกรมแผนที่ทหาร ปีพ.ศ.2480-81 และ2495-96 และแผนที่ภูมิ ประเทศปัจจุบัน โดยแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ที่ได้นี้ ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ด้วยกระบวนการเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการทำความเข้าใจภูมิทัศน์กระบวนการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากแผนที่ของช่วงเวลาที่แตกต่างบริเวณพื้นที่ศึกษาตัวอย่างจำนวน 5 พื้นที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของพื้นที่อย่างชัดเจน โดยประเด็นในการศึกษาจำแนกตามมิติที่แสดงถึงคุณลักษณะของภูมิทัศน์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ด้านกายภาพ (2) ด้านสังคม (3) ด้านเศรษฐกิจและ(4) ด้านวัฒนธรรมการสร้างแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิทัศน์ในอดีต โดยการใช้ข้อมูลเชิประวัติศาสตร์และเชิงพื้นที่นอกจากนี้กระบวนการเปรียบเทียบข้อมูลแผนที่และบันทึกต่าง ๆ ประกอบการเก็บข้อมูลของพื้นที่จริงในปัจจุบันยังสามารถสะท้อนให้เห็นลักษณะของพื้นที่ในมิติต่าง ๆรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบต่าง ๆ ในพื้นที่ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามเพื่อการพัฒนาสู่การศึกษาขั้นก้าวหน้าต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is, firstly, to study method of historical landscape mapping by superimposing information from Etienne Aymonier’s records in Isan Travels over a series of maps from different periods. Secondly, to study a comparative method for understanding landscape changes of the area of Thung Kula-Ronghai. In addition, to explore the usage of historical landscape map for further advanced studies. Historical Landscape Mapping is a method of transforming historical information of Thung Kula-Ronghai from Aymonier's records into spatial information in the form of maps. The method is also includes integrating records or others documents such as the survey maps of Aymonier’s records, a time series of the Royal Thai Survey Department topographic maps of 2480-2481 and 2495-2496 BE and current topographic maps of 2542 BE. To understand landscape and landscape changes, the historical landscape maps is used to study landscape by comparing maps and information from historical records and field observation. The method of comparing information derived from a time-series of maps of 5 study sites will enable a better understanding of landscape changes focusing the major aspects of landscape characteristics such as (1) Physical aspect (2) Social aspect (3) Economic aspect and (4) Cultural aspect. Historical Landscape Mapping aids visualization of spatial relationship of places which improves ability in learning about past landscape with better historical and spatial information. Moreover, a method of comparing information from maps and records and site surveying of present time can illustrate landscape characteristics in various aspects and changes of landscape elements, which stimulate further questioning for further advanced study.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.318-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแอมอนิเย, เอเจียนen_US
dc.subjectการทำแผนที่en_US
dc.subjectไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ -- แผนที่en_US
dc.subjectทุ่งกุลาร้องไห้ -- แผนที่en_US
dc.subjectAymonier, Etienneen_US
dc.subjectThailand, Northeastern -- Historical geography -- Mapsen_US
dc.subjectCartographyen_US
dc.titleการสร้างแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ ตามบันทึกการเดินทางในอีสานของ เอเจียน แอมอนิเย ในส่วนของทุ่งกุลาร้องไห้en_US
dc.title.alternativeHistorical landscape mapping from Etienne Aymonier's record in Isan travels in Thungkularonghaien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDanai.Th@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.318-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jessada_ja_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.15 MBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_ch1_p.pdfบทที่ 1906.19 kBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_ch2_p.pdfบทที่ 22.28 MBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_ch3_p.pdfบทที่ 36.44 MBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_ch4_p.pdfบทที่ 41.35 MBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_ch5_p.pdfบทที่ 510.34 MBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_ch6_p.pdfบทที่ 61.75 MBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_ch7_p.pdfบทที่ 7909.14 kBAdobe PDFView/Open
Jessada_ja_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.