Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67847
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มาลินี อาชายุทธการ | - |
dc.contributor.author | ผกามาศ จิรจารุภัทร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศึลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-09T07:19:52Z | - |
dc.date.available | 2020-09-09T07:19:52Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.issn | 9741302207 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67847 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประวัติความเป็นมา องค์ประกอบ วิธีการแสดง จุดมุ่งหมายและความสำคัญของการละเล่นของหลวง โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ ครูผู้สอน ศิลปินผู้แสดงและนักวิชาการที่มีความรู้เกี่ยวกับการละเล่นของหลวงและสังเกตการแสดงจริง ผลการวิจัยสรุปว่า การละเล่นของหลวงเป็นมหรสพสมโภชในงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์พระราชพิธีสมโภชข้างเผือก ตั้งแต่ยุคอยุธยาตอนต้น ประกอบด้วย โมงครุ่ม ระเบง กุลาตีไม้ ต่อมามีแทงวิไสยและกระตั้วแทงควายเพิ่มขึ้น มีกรมมหรสพเป็นผู้รับผิดชอบฝึกหัดและจัดแสดง ปัจจุบันพระราชพิธีมีน้อยลงการละเล่นของหลวงจึงลดน้อยลงด้วย แต่ยังคงสืบทอดอยู่ในสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร โมงครุ่มเป็นการรำประกอบการตีกลอง ระเบงเป็นการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนครเดินทางไปงานโสกันต์และระหว่างทางได้พบพระกาล กุลาตีไม้เป็นการร้องเพลงประกอบการตีไม้ แทงวิไลยเป็นการรำอาวุธ กระตั้วแทงควายเป็นการแสดงเรื่องราวการล่าควายของนางกระตั้วและสามี การแสดง 3 ชุดแรกคล้ายคลึงกัน คือ ผู้แสดงเป็นชาย แต่งกายชุดเสือแขนยาวคอตั้ง นุ่งสนับเพลาและโจงกระเบนทับ คาดเอวด้วยผ้าสำรด ศีรษะสวมเทริด สถานที่แสดงแสดงทั้งบนลานกว้างหรือบนเวทีอุปกรณ์ประกอบการแสดงโมงครุ่มมีไม้กำพต กลองโมงครุ่ม ฆ้องโหม่ง ระเบงมีคันศรและลูกศร กุลาตีไม้มีไม้กำพตส่วนการแสดง 2 ชุดหลังไม่มีแสดงแล้ว จากหลักฐานต่าง ๆ กล่าวว่า แทงวิไสยแต่งกายแบบนักรบจีน เรียกว่า เชี่ยวกางผู้แสดง 2 คน ประอาวุธกัน อาวุธที่ใช้เช่น หอก ดาบ ทวน โล่ กระตั้วแทงควายใช้ผู้แสดง 3-4 คน แต่งกายเป็นชาวบ้านและควาย ออกมาแสดงการล่าควายอย่างสนุกสนาน โมงครุ่มมี 5 ท่ารำหลัก คือ ท่าเทพพนม ท่าบัวตูม ท่าบัวบาน ท่าลมพัด และท่ามังกรฟาดหาง พื้นฐานท่ารำเป็นโขนยักษ์ ระเบงมี 2 ท่ารำหลัก คือ ท่าตีลูกศรบนคันศร และท่าถือลูกศรแขนตึงระดับเอว พื้นฐานท่ารำเป็นโขนพระกุลาตีไม้มี 6 ท่ารำหลัก คือ ท่านั่งคุกเข่าตบมือ ท่านั่งคุกเข่าตีไม้ ท่าเดินตีไม้เป็นวงกลม ท่ากางแขนตีไม้ ท่าตีไม้ระหว่างคู่ และท่าตีไม้สลับบน-ล่างระหว่างคู, พื้นฐานท่ารำเป็นโขนลิง แทงวิไสยน่าจะมีลักษณะการใช้แม่ท่ารำอาวุธของไทย 5 ท่า คือ ท่านาคเกี้ยว ท่าหงส์สองคอ ท่าปลอกช้าง ท่าชิงคลอง และท่าผ่าหมาก ส่วนกระตั้วแทงควายลักษณะท่าไม่เป็นแบบแผนแต่จำแนกการแสดงได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. นางกระตั้วและสามีออกตามควายจนพบ 2. นางกระตั้วและสามีไล่แทงควาย 3. นางกระตั้วและสามีวิงตามควาย การละเล่นของหลวงเป็นการแสดงที่สืบเนื่องมาเป็นเวลากว่า 650 ปี โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไม่มากนักเพราะเป็นของสูง ใช้ในพิธีหลวงที่ยึดถือรูปแบบดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุดเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ นับเป็นนาฏยศิลป์ที่สำคัญของชาติที่ควรรักษาไว้มิให้เสื่อมสูญ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims at studying the historical background, components, poses, objectives and significance of royal traditional performances. The study is based on data from academic papers, interviews with the masters, the performers and academics who have knowledge about the royal traditional theatrical performances, and observations of the actual performances. The result of the study shows that royal traditional performances have been practiced in royal ceremonies such as the royal tonsure ceremony and the royal while elephant celebration ceremony since the early Ayudhya period. The royal performances comprise Mong krum, Rabeng, Kulateemai. Taengwisai and Kru-ua Taeng Kwai were later added. The Department of Performing Arts (Grom Mahorasop) was responsible for the training of the performers and organizing the show. At present, the royal ceremonies have become less frequent so the performances are fewer although the art is still passed on in the Performing Arts and Music Institute in the Department of Fine Arts. Mong Krum is a kind of dance accompanied by drum while rabeng is a theatrical performance telling a story of a king who goes on a journey to attend a royal tonsure ceremony and on the way met with evil. Kulateemai is singing accompanied by the hitting of wood. Taengwisai is a mock weapon training show. Kra-ua Taeng Kwai is a play depicting the hunting of a buffalo by Nang Kra-ua and her husband. The first three sets of performances are somewhat similar with all male performers dressed in long-sleeved and high-collar shirts, and a brocade (Jongkraben) worn over the trousers (Sanubplao). The performers also tie a piece of cloth around the waist and wear a tiara on the head. The performance can be held either on a large open field or on a stage. The components accompanying Mong Krum consist of Kampot wood, Mong krum drum and Kong Mong. For Rabeng, a bow and arrows are needed; and for Kulateemai performance, Kampot wood is needed. The last two kinds of performance no longer exist today. However, according to the evidence it is said that Taengwisai performers were dressed like Chinese warriors called Siewkang. Two warriors are engaged in a fight using many kinds of weapons such as spears, swords, lances and shields. As for Kra-ua Taeng Kwai, 3-4 performers are dressed as villagers and a buffalo; and the buffalo hunting act is comical. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การละเล่น -- ไทย | en_US |
dc.subject | ศิลปะการแสดง -- ไทย | en_US |
dc.subject | นาฏศิลป์ไทย | en_US |
dc.subject | Performing arts -- Thailand | en_US |
dc.subject | Dramatic arts, Thai | en_US |
dc.title | การละเล่นของหลวง | en_US |
dc.title.alternative | Royal traditional performances | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Malinee.A@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phakamas_ji_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 566.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
Phakamas_ji_ch1.pdf | บทที่ 1 | 408.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Phakamas_ji_ch2.pdf | บทที่ 2 | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phakamas_ji_ch3.pdf | บทที่ 3 | 18.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phakamas_ji_ch4.pdf | บทที่ 4 | 33.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phakamas_ji_ch5.pdf | บทที่ 5 | 448.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Phakamas_ji_back.pdf | บรรณานุกรมและภารคผนวก | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.