Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69178
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.authorสังวรณ์ งัดกระโทก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-06T05:56:27Z-
dc.date.available2020-11-06T05:56:27Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743321055-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69178-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งใช้โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับตรวจสอบความตรงของโมเดลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครู ปัจจัยโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรลที่พัฒนาให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีลักษณะลดหลั่นได้และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลของการวิเคราะห์ระหว่างโปรแกรมลิสเรลกับโปรแกรมเอ็ชแอลเอ็ม ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการวิจัยประสิทธิภาพการใช้ครู : การวิเคราะห์เชิงปริมาณระดับมหภาค ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยครูจำนวน 9,599 คน และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1,290 คนจากโรงเรียน 1,290 โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการศึกษาท้องถิ่น สำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 16 ตัวแปร ประกอบด้วยตัวแปรระดับครูจำนวน 7 ตัวแปร และตัวแปรระดับโรงเรียน 9 ตัว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ บรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ลิสเรลและการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุแบบพหุระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ความตรงของโมเดลแสดงด้วยค่าไคสแควร์เท่ากับ 217.6963 ที่องศาความเป็นอิสระ 189 ระดับนัยสำคัญ 0.0747 ดัชนีวัดระดับความ กลมกลืนเท่ากับ .9978 2. ตัวแปรระดับครูที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูมากที่สุดมี 5 ตัว ได้แก่ ความก้าวหน้า รองลงมา คือ ความผูกพันต่ออาชีพครู คุณภาพของงาน เพศชาย และจำนวนปีที่ปฏิบัติงานใน โรงเรียนตามลำดับ ส่วนอิทธิพลของตัวแปรระดับโรงเรียนทั้ง 9 ตัวแปรมีอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยความพึงพอในการปฏิบัติงานรองครูอย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติ แต่มีตัวแปรดัมมี่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครส่งอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยความผูกพันส่ออาชีพของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงาน การศึกษาท้องถิ่นส่งอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยความก้าวหน้าและค่าเฉลี่ยความผูกพันต่ออาชีพ โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา แห่งชาติและโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนส่งอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยความก้าวหน้า ค่าเฉลี่ยคุณภาพของงาน และค่าเฉลี่ยความผูกพันต่ออาชีพ 3. ประสิทธิภาพของผลการวิเคราะห์ด้วยลิสเรลและเอ็ซแอลเอ็มแสดงว่าแต่ละโปรแกรมดีในลักษณะต่างกัน โปรแกรม สิสเรลให้ผลการวิเคราะห์ในภาพรวมแต่ยังไม่สามารถวิเคราะห์ความชันในฐานะตัวแปรตามสุ่ม ในขณะที่โปรแกรมเอ็ซแอลเอ็ม วิเคราะห์ความชันในฐานะตัวแปรตามสุ่มได้ แต่ยังไม่สามารถให้ผลการวิเคราะห์แยกเป็นอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมได้ รวมทั้งยังไม่สามารถวิเคราะห์โดยยอมให้เทอมความคลาดเคลื่อนสัมพันธ์กันได้ สัมประสิทธิ์ไขว้ระดับจากโปรแกรมลิสเรสและโปรแกรม เอ็ชแอลเอ็มส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันทั้งขนาดและทิศทางแต่เมื่อนำสัมประสิทธิ์ได้จากโปรแกรมเอ็ชแอลเอ็มไปกำหนดในการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่าสัมประสิทธิ์จากโปรแกรมเอ็ชแอลเอ็มทำให้โมเดลค่อนข้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to apply the multilevel structural equation model to validate model indicating the relationships among the teacher factors, the school factors and teachers' job satisfaction, using LISREL program that was modified to analyze the hierarchical data; and to compare the effectiveness of the analysis results between LISREL and HLM programs. The data used in this study were obtained from the research project entitled " Teacher utilization Efficiency : a Macro Level Analysis” conducted by the office of the National Education Commission . The random sample consisted of 9,599 teachers and 1,290 school administrators from 1,290 schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration, the Local Education Office, the Office of the National Primary Education Commission, the Department of General Education and the office of Private Education Commission. Sixteen variables were included in this study. Seven were teacher level variables and nine were school level variables. Data were analyzed using descriptive statistics, correlation analysis, HLM and LISREL analysis. The major results were as follows : 1. The multilevel causal model of teachers ' job satisfaction fit to the empirical data. The validity of the model was indicated by X2 equal to 217.6369 with 189 degree of freedom, p = .0747 and the goodness of fit index equal to 0.9978 2. Five teacher level variables that had the strongest significant effects on teachers ' job satisfaction were professional growth, job involvement, job quality, sex and the number of teaching years, respectively. On the contrary, none of the school variables had significant effects on the intercept of teachers' job satisfaction, but the dummy variables namely : Bangkok Metropolitan Administration had significant effect on the intercept of job involvement, the Local Education Office had significant effect on the intercept of professional growth and job involvement, the Department of General Education and the office of Private Education Commission had significant effects on the intercept of profession growth, job quality and job involvement. 3. The effectiveness of the analysis results using LISREL and HLM indicated that each program had different strength. LISREL was strong เท the overall analysis of the model, but it was failure to analyze slope as a random outcomes. HLM was strong เท the analysis of slope as outcomes, but it was weak เท terms of the decomposition error assumptions. Most of the cross-level effects derived from LISREL and HLM differed both เท terms of magnitude and direction, However, when the cross-level effects from HLM were fixed and analyzed by LISREL it was found that the model was nearly fit to the empirical data.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectลิสเรล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)en_US
dc.subjectครู -- ความพอใจในการทำงานen_US
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การen_US
dc.titleการใช้โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับตรวจสอบความตรง ของโมเดลสมการโครงสร้าแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครู ปัจจัยโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูen_US
dc.title.alternativeAn application of multilevel structural equation model to validate structural equation model relating teacher and school factors to teachers' job satisfactionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNonglak.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sungworn_ng_front_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Sungworn_ng_ch1_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sungworn_ng_ch2_p.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Sungworn_ng_ch3_p.pdf884.75 kBAdobe PDFView/Open
Sungworn_ng_ch4_p.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
Sungworn_ng_ch5_p.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Sungworn_ng_back_p.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.