Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69458
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย | - |
dc.contributor.author | ปิติมา คูริโมโตะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T10:07:02Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T10:07:02Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69458 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความบกพร่องของทักษะทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาในแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความรุนแรงของโรคซึมเศร้า ความพึงพอใจต่อการได้รับแรงสนับสนุนของครอบครัว ความภาคภูมิใจในตนเอง และประเภทบุคลิกภาพ วิธีการศึกษา : ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาในแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทุกรายที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและได้รับการวินิจฉัยจากอาจารย์จิตแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 4 ฉบับปรับปรุงครั้งย่อย หรือ จากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลัก หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือ โรคซึมเศร้า 2 ชนิดซ้อนทับกัน จำนวน 150 คน ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงหรือแบบตามเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมวิจัยต้องตอบแบบสอบถามรวมทั้งหมด 6 ชุด 160 ข้อ ด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 10 ข้อ 2) แบบประเมินอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย จำนวน 21 ข้อ 3) แบบสอบถามทักษะทางสังคม จำนวน 66 ข้อ 4) แบบสอบถามแอปการ์ของครอบครัว จำนวน 5 ข้อ 5) แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์กฉบับปรับปรุง จำนวน 10 ข้อ และ 6) แบบทดสอบบุคลิกภาพ จำนวน 48 ข้อ นำเสนอความชุกของความบกพร่องของทักษะทางสังคม ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ข้อมูลทักษะทางสังคม ความภาคภูมิใจในตนเอง บุคลิกภาพ และความพึงพอใจต่อครอบครัวในด้านต่าง ๆ เป็นค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้น ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงลักษณะ และใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงปริมาณ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายความบกพร่องทางทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา : ความชุกของความบกพร่องของทักษะทางสังคมในผู้ป่วยซึมเศร้าเท่ากับร้อยละ 46.7 คะแนนเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของทักษะทางสังคมเท่ากับ 78.06 ± 16.47 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องของทักษะทางสังคม ได้แก่ อายุที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี เพศหญิง (p<0.05) ความรุนแรงของโรคซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงสูง ความพึงพอใจต่อการได้รับแรงสนับสนุนของครอบครัวในระดับต่ำถึงปานกลาง ระดับความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ บุคลิกภาพด้านพฤติกรรมแบบเก็บตัว และบุคลิกภาพด้านสภาวะทางอารมณ์แบบอ่อนไหว (p<0.01) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายความบกพร่องของทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์แบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยทำนายความบกพร่องของทักษะทางสังคม ได้แก่ บุคลิกภาพด้านพฤติกรรมแบบเก็บตัว ความรุนแรงของโรคซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรง และบุคลิกภาพด้านสภาวะทางอารมณ์แบบอ่อนไหว สรุปผลการศึกษา : ความบกพร่องของทักษะทางสังคมค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 46.7 ในผู้ป่วยซึมเศร้า บุคลิกภาพแบบเก็บตัว ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า และบุคลิกภาพแบบอ่อนไหว ส่งผลเสียต่อทักษะทางสังคมของผู้ป่วยอย่างมาก ซึ่งโปรแกรมเสริมทักษะทางสังคมอาจช่วยลดอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Objective : To determine the prevalence and associated factors of social skills deficits in patients with depressive disorders in Psychiatric Outpatient Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital. The associated factors included severity of depression, satisfaction with family function, self-esteem, and personality characteristics. Methods : We recruited 150 patients aged 18 years and above and they were diagnosed as major depressive disorder or persistent depressive disorder (dysthymia) using DSM-4TR or DSM-5 criteria. All participants completed 6 questionnaires; 1) Socio-Demographic questionnaire 10 items, 2) Beck Depression Inventory-II (BDI-II) - Thai version 21 items, 3) Social Skill Inventory (SSI) - Thai version 66 items, 4) Family Adaptation, Partnership, Growth, Affection, Resolve (APGAR) Questionnaire 5 items, 5) Revised Version of Thai Rosenberg Self-Esteem Scale (Revised Thai RSES) 10 items and 6) Maudsley Personal Inventory (MPI) 48 items. Data analysis using the SPSS software for Windows 22.0 (Chulalongkorn University). The prevalence of social skills deficits in depressed patients was presented in proportion and percentage. The associated factors of social skills deficits (demographic, severity of depression, duration of illness with depression, the satisfaction of family supports, self-esteem and personalities) were analyzed by the chi-square test, Fisher’s Exact test and independent t-test. Logistic regression was performed to identify the potential predictors of social skills deficits. A p-value of less than 0.05 was statistically significant. Results : The prevalence of social skills deficits in depressed patients was 46.7%. The mean score (with SD) of social skills on SPSS was 78.06±16.47. Factors associated with social skills deficits were being female, age under 40 years (p < 0.05), moderate-to-severe level of depression, low-to-moderate satisfaction level of family function, low level of self-esteem, introvert personality, and neurotic personality (p < 0.01). By logistic regression analysis, the significant predictors of social skills deficits were introvert personality, the moderate-to-severe level of depression and neurotic personality. Conclusion : Social skills deficits were quite high (46.7%) in Thai depressed patients. The severity of depression and introvert personality were significantly associated with the patients’ social skills. The social skills enhancing program may help to reduce patients’ depressive symptoms. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1410 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | ความบกพร่องของทักษะทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | - |
dc.title.alternative | Social skills deficits and the associated factors of patients with depressive disorders in Outpatient Psychiatric Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1410 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6174013130.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.