Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69664
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร-
dc.contributor.authorจักรี กิจประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T11:53:27Z-
dc.date.available2020-11-11T11:53:27Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69664-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractผลงานการสร้างสรรค์ดุษฎีนิพนธ์บทประพันธ์เพลง “ด้วยพระบารมี” คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงดุริยางค์เครื่องลม เป็นบทประพันธ์เพลงที่จัดอยู่ในรูปแบบดนตรีพรรณนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทเพลงประเภทคอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงดุริยางค์เครื่องลม โดยใช้ทำนองหลักจากบทเพลงไทยแบบแผนมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ มีความยาวของบทเพลงประมาณ 30 นาที บทประพันธ์เพลงนี้แบ่งออกเป็นกระบวนต่าง ๆ 3 กระบวน ผู้ประพันธ์เพลงได้ใช้เทคนิคการคัดทำนอง โดยการนำแนวทำนอง 8 ห้องแรกจากบทเพลง นารายณ์แปลงรูปสองชั้น มาใช้เป็นวัตถุดิบการประพันธ์เพลงที่สำคัญ  ผู้ประพันธ์เพลงได้ใช้เทคนิคการแปลงชื่อบุคคลโดยนำพระนามแรก (Bhumibol) และพระนามหลัง (Adulyadej) ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ มาแปลงตัวโน้ตเป็น กลุ่มโน้ตพระนาม “ภูมิพล” และ กลุ่มโน้ตพระนาม "อดุลยเดช” จากนั้นได้สังเคราะห์และสร้าง “กลุ่มโน้ตพระบารมี” ขึ้นมาอีกหนึ่งกลุ่ม และนำไปใช้ในกระบวนต่าง ๆ ตลอดทั้งบทประพันธ์เพลง ในส่วนกระบวนที่ 3 มีการสร้างกลุ่มโน้ตเพิ่มอีกหนึ่งกลุ่ม คือ “กลุ่มโน้ตสวรรคต” เพื่อให้สอดคล้องความหมายกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น และใช้ทฤษฎีทางด้านดนตรีตะวันตกมาใช้สำหรับการประพันธ์ เช่น แนวคิดการใช้หน่วยทำนองเพลงไทย แนวคิดการคัดทำนองเพลงไทย เทคนิคไซคลิก การนำทำนองเพลงไทยมาเรียบเรียงเสียงประสานด้วยวิธีการของดนตรีตะวันตก-
dc.description.abstractalternative"Phra Paramita" Concerto for Piano and Wind Symphony is a creative work in the program music style organized in a descriptive music format. The main thematic material is derived from Thai Classical Music. It is the main inspiration for this composition. The duration of this piece is approximately 30 minutes. This composition is divided into three movements. The composer uses the material of the first eight measures from the Narai Plangeroop Songchan (The transformation of Narai) as a main material for this composition. The main pitch material devided to four groups. The first and second groups are called “Bhumibol” and “Adulyadej” which is His Majesty King Bhumibol the Great’s name. The third group is called the “Phra Paramita”. The fourth group is called “Ascended to Heaven” presented in the last movement to respond to the great mourning period when His Majesty the King Bhumibol the Great passed away. There are various theories and techniques in this composition, such as the influence of Thai melodic style, the influence of Thai song melodies, the cyclic techniques, and the combination of Thai melodies and Western harmony.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1339-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: “ด้วยพระบารมี” คอนแชร์โต สำหรับเปียโนและวงดุริยางค์เครื่องลม-
dc.title.alternativeDoctoral music composition: “Phra Paramita” concerto for piano and wind symphony-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorNarongrit.D@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1339-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786805135.pdf32.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.