Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69677
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์-
dc.contributor.authorวีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T11:53:37Z-
dc.date.available2020-11-11T11:53:37Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69677-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังสายการสืบทอดความรู้ วิธีการถ่ายทอดความรู้ และการสืบทอดความรู้ของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ผลการศึกษาพบว่า (1) ครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) และครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล มาบูรณาการเข้ากับความรู้ด้านขับร้องและบุคลิกเฉพาะตน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเน้นความเรียบง่ายและความพอดี (2) ขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้ประกอบด้วยการฝากตัว การถ่ายทอดความรู้ การวัดประเมินผล และการฝึกฝนเรียนรู้จากสถานการณ์จริง (3) การสืบทอดความรู้ประกอบด้วยการถ่ายทอดความรู้ 3 รูปแบบ ได้แก่ ถ่ายทอดโดยยึดหลักความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ถ่ายทอดโดยเลือกเฉพาะบางส่วนของวิชาความรู้ และถ่ายทอดโดยบูรณาการตามแนวทางของตนเอง ทั้งนี้ยังมีการสืบทอดความรู้โดยการเผยแพร่ผ่านการจัดการแสดง งานวิชาการ และสื่อรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการสืบทอดความรู้ซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน คงแพร่หลายอยู่ในกลุ่มศิษย์ที่ศึกษาซอสามสายกับครูเจริญใจ สุนทรวาทินโดยตรง-
dc.description.abstractalternativeThe study aims to examine and scrutinize about Saw Sam Sai by Kru Charernjai Sundaravadin, including its line of transmission, ways of transmission and its inheritance. After conducting the study, the result came out as follows: (1) Kru Charernjai Sundaravadin acquired Saw Sam Sai knowledge from Phraya Phumeesavin (Jit Jittasewi), Luang Phairohsiengsaw (Oon Durayacheewin) and Kru Devaprasit Pattayakosol and applied it to his own style, creating his distinctive body of knowledge, which is simple and sufficient. (2) Process of transmission, which is composed of becoming a disciple, knowledge transmission, evaluation and real situation practice. (3) Knowledge transmission, which is divided in three methods, namely, adhering to principles taught by Kru Charernjai Sundaravadin, selecting only certain parts of the knowledge, and transmitting by one’s individual style, while there are some other methods available such as conducting exhibitions, academic fairs and publishing through other media. In addition to what stated above, the transmission of Saw Sam Sai by Kru Charernjai Sundaravadin is still widespread amongst his students.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.799-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการสืบทอดความรู้ด้านซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน-
dc.title.alternativeTransmission of saw Sam Sai by Kru Charernjai Sundaravadin-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineดุริยางค์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPatarawdee.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.799-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986609735.pdf9.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.